คุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มฐานรากจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง “คุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มฐานรากจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดจันทบุรีระยอง และตราด และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีอายุ 20 - 60 ปี เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 400 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด โดยใช้แบบชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย พบว่า ด้านสุขภาพร่างกาย มีระดับคุณภาพชีวิตในระดับดี ด้านจิตใจ มีระดับคุณภาพชีวิตในระดับดี ด้านสัมพันธภาพทางสังคม มีระดับคุณภาพชีวิตในระดับดี ด้านสิ่งแวดล้อม มีระดับคุณภาพชีวิตในระดับดีและ คุณภาพชีวิตโดยรวม มีระดับคุณภาพชีวิตในระดับดี ผลการทดสอบความแตกต่างรายคู่คุณภาพชีวิตโดยรวมจำแนกตามรายจังหวัด จังหวัดระยองมีคุณภาพชีวิตสูงกว่าจังหวัดตราด และ จังหวัดจันทบุรีมีคุณภาพชีวิตสูงกว่าจังหวัดตราด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. (ออนไลน์).แหล่งที่มา :.
https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8309&filename=index. 2562
คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. สถิติความยากจนและการกระจายรายได้. (ออนไลน์).แหล่งที่มา :.
ชุมพร ฉ่ำแสงและคนอื่น ๆ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรฝ่ายการพยาบาล ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จังหวัดนครนายก. กรุงเทพมหานคร : คณะแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พัฒนาชุมชน. (2559). คู่มือการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก. (ออนไลน์).แหล่งที่มา : https://www.codi.or.th/attachments/article/15058/Guide_economic_280959.pdf. 2562
ปรางทิพย์ ภักดีคีรีไพรวัลย์. (2559). การศึกษาคุณภพาชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ หมู่ 11 ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทิพย์วัลย์ เรืองขจร. (2554). วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต. สงขลา : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2559). การจัดทำดัชนีคุณภาพชีวิตของประชาชนฐานรากปี 2559. เอกสารวิจัย เสนอต่อธนาคารออมสิน
สถิติแห่งชาติ, สำนักงาน. สถิติรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน. (ออนไลน์).แหล่งที่มา :http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx. 2562
Taro Yamane. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row Publications.