ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในหมู่บ้านจัดสรร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและจัดลำดับความสำคัญด้านคุณลักษณะของบ้าน ด้านทำเลที่ตั้ง ด้านสภาพแวดล้อม และด้านการบริการ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนในหมู่บ้านจัดสรร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจัดสรรจำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยใช้ข้อคำถามแบบปลายปิด (Closed-ended Form) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเชิงพรรณนา ศึกษาลักษณะการกระจายของข้อมูล ในรูปแบบของตารางแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เพื่ออธิบายลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่าง และการวิเคราะห์เชิงอนุมาน (Inferential Statistics) โดยการวิจัยครั้งนี้ทำการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) เพื่อจัดกลุ่มปัจจัยที่สัมพันธ์กันให้เป็นกลุ่มเดียวกัน โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการบริการ (́́́ = 3.59, S.D. = 1.093) ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในหมู่บ้านจัดสรรมากที่สุด รองลงมา คือ ปัจจัยด้านคุณลักษณะของบ้าน ( = 3.92, S.D. = 0.877) ซึ่งมีค่า Adjusted R Square เท่ากับ 0.398 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัมพล เครือวัฒนเวช. (2556). การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานบุคคล ของโครงการหมู่บ้านจัดสรรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ฉัตรชัย นาถ้ำพลอย. (2561). การบริหารจัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชูชาติ เตชะโพธิวรคุณ. (2561). การกระจายเชิงพื้นที่ของหมู่บ้านจัดสรรภายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา เขตหนองจอก. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, ปีที่ 17(2), 117-135.
ณัฐวดี อุณยะวงศ์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559) ความสัมพันธ์ของลักษณะประชากรศาสตร์ และส่วนประสมทางการตลาดบริการต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภค อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. Veridian E –Journal, ปีที่ 9(3), 1221-1241.
นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร. (2564). ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยกทม.-ปริมณฑล.(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
http://www.housingbiz.org/news-detail-TH/newsclipping%2016%20july%202021(วันที่ค้นข้อมูล 28 กรกฎาคม 2564)
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร. (2564). สำรวจตลาดอสังหาฯ กลางมรสุมโควิด-19. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:
https://advicecenter.kkpfg.com/th/money-lifestyle/money/economic-trend/covid-19-impact-on-real-estate (วันที่ค้นข้อมูล 28 กรกฎาคม 2564)
ธวัช เขมธร. (2552). การบริการหลังการขายที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยบ้านจัดสรร กรณีศึกษา บริษัท ลลิลพร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
บุญชัย สกุลโชติกโร และ สุชนนี เมธิโยธิน. (2558). ปัจจยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภค ในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี: กรณีศึกษา บริษัทแกรนด์ เซ็นทรัลปาร์ค จำกัด. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
พัชรา กลิ่นชวนชื่น. (2564). ธุรกิจที่อยู่อาศัยต่างจังหวัด (6 จังหวัดหลัก). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Real-Estate/housing-in-upcountry/IO/io-Housing-in-Upcountry-21 (วันที่ค้นข้อมูล 28 กรกฎาคม 2564)
พัสตราภรณ์ ทิพยโสธร. (2551). การพัฒนาพื้นที่ส่วนกลางหมู่บ้านจัดสรรอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาเขตลาดกระบัง. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
วีณา ถิระโสภณ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านจัดสรร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2540). คุณภาพชีวิตอยู่ที่ใคร.(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
https://www.matichon.co.th/columnists/news_2530804
Bylund, E. (1960). Theoretical Consideration Regarding the Distribution of Settlements in Inner North Sweden. Geografica anoler, 42(4), 225-231.
Christaller, W. (1933). Central Place Theory by Walter Christaller. Available:
https://planningtank.com/settlement-geography/central-place-theory-walter-christaller. (Access
date July 3, 2021)