รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนแบบบูรณาการของจังหวัดลพบุรี

Main Article Content

กาสัก เต๊ะขันหมาก

บทคัดย่อ

            วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือเพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนแบบบูรณาการของจังหวัดลพบุรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรีที่อยู่ในเขตเมือง กึ่งเมือง และชนบท ที่สามารถเป็นแบบอย่างการเรียนรู้ได้ จำนวน 7 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสนทนากลุ่มจากตัวแทนของผู้มีส่วนสำคัญในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนรวมทั้งสิ้น 53 คน และใช้การศึกษาบริบทของชุมชน การสำรวจชุมชน การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และศึกษาเอกสารประกอบด้วย ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านข้อมูลและด้านวิธีการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาโดยการจำแนกชนิดข้อมูลแบบไม่ใช้ทฤษฎี ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนแบบบูรณาการของจังหวัดลพบุรี เป็นดังนี้ 1) ยึดมั่น “3 หลักการ” (ได้แก่ ความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วม และความโปร่งใส ตรวจสอบได้) 2) สาน “3 พลัง” ซึ่งเป็นการบูรณาการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (“บวร” บ: บ้าน-ทุกครัวเรือนในตำบล ว: วัด- วัดทุกวัดในเขตตำบล         ร: ราชการ-หน่วยราชการทุกหน่วยงานในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) และ 3) จริงจัง “3 ช.” (เน้นการลดปริมาณขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางโดยใช้หลัก ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่) รวมทั้งผู้บริหาร คณะกรรมการและประชาชนตื่นตัวพร้อมร่วมมือกันปรับพฤติกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมาจากปัจจัยที่สำคัญ  4 ประการ คือ คนพร้อม-ใจพร้อม กลยุทธ์การหาแนวร่วม สร้างเครือข่ายมาช่วยงาน และประชาชนตื่นตัวพร้อมปรับพฤติกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอย (พ.ศ. 2559–2564). กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟพริ้นท์.

กรมควบคุมมลพิษ. (2560). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2561). แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ตามแนวทางประชารัฐ ประจำปี พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: สํานักจัดการกากของเสียและสารอันตราย.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและกรมควบคุมมลพิษ. (2559) แผนปฏิบัติการ “ประเทศไทยไรขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559– 2560) ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559-2564. กรุงเทพมหานคร: สํานักจัดการกากของเสียและสารอันตราย.

กระทรวงมหาดไทย. (2562). แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี 2562.

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2556). ระเบียบวิธีวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จังหวัดลพบุรี. (2563). เปลี่ยน “ขยะ” เป็น “พลัง” ก้าวย่างและทางเดินจังหวัดลพบุรีสู่รางวัลชนะเลิศจังหวัดสะอาดกลุ่มจังหวัดขนาดใหญ่ในระดับประเทศ ปี 2561. กรุงเทพมหานคร: พี.เอ.ลิฟวิ่ง.

ทวีศักดิ์ นพเกษร. (2549). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เล่ม 2: คู่มือปฏิบัติการวิจัยประยุกต์เพื่อพัฒนาคน องค์กร ชุมชน สังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครราชสีมา: โชคเจริญมาร์เกตติ้ง.

นภา จันทร์ตรี, ทิพวรรณ พละสุขสมบัติ, ราตรี พิงกุศล, เรืองอุไร วรรณโก, เบญจพร ประจง, ธนวัฒน์ กันภัย. (2563).แนวทางการจัดการขยะอย่างยั่งยืนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลปากน้ำแหลมสิงห์จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 14(3): 25-31

รัตนะ บัวสนธ์. (2558). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ้งกานต์ พลายแก้ว1ประภัสสร อักษรพันธ์. (2562). ผลของการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 5(2): 232-247.

วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2558). มาตรการทางกฎหมายในการ จัดการขยะมูลฝอยของประเทศไทย. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. 11(2): 77-89.

วิทูร เอียการนา และดิฐา แสงวัฒนะ (2563). การศึกษาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยภายในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์.วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 15(2): 87-99.

วีรสิทธิ์ สิทธิไตรย์และโยธิน แสวงดี. (2536)). การสนทนากลุ่ม: เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สมาคมวิจัยเชิงคุณภาพแห่งประเทศไทย:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สันชัย พรมสิทธิ์. (2562). การจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 9(1): 67-81.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนันต์ โพธิกุล (2561). การบริหารจัดการขยะชุมชน ของเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 4(1):107-121.

Creswell, J. W. (2012). Qualitative Inquiry and Research Design: Choosing Among Five Approaches:Sage. Publications, Inc.

Ritchie, J., Lewis, J., Nicholls, C. M. and Ormston, R. (2013). Qualitative Research Practice: A Guidefor Social Science Students and Researchers. London: Sage Publications, Inc.