การเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TAI กับการสอนแบบปกติ

Main Article Content

อัจจิมา บรรพต
กฤษณะ โสขุมา
เดช บุญประจักษ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TAI ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TAI กับการสอนแบบปกติ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ที่มีต่อการเรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TAI ประชากรเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองหลังสวน จังหวัดชุมพร จำนวน 4 ห้องเรียน จำนวน 110 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นห้องเรียนที่มีความรู้พื้นฐานเท่าเทียมกัน 2 ห้องเรียน ๆ ละ 24 คน จับฉลากให้ห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง จัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TAI อีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม จัดการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TAI และจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ลำดับและอนุกรม และ 3) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TAI สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบทีแบบอิสระและแบบไม่อิสระ


           ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TAI  สูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับพอใจมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ณัฐพร โพธิ์เอี่ยม. (2550) การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่องโจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้แบบกลุ่มช่วยเหลือเป็นรายบุคคล [TAI] ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2551). 14 วิธีสอนสําหรับครูมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กกรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธงชัย พรมกมล. (2549). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องการทำน้ำปลาจากปลาร้าหมัก กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธนพร สำลี. (2549). การพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาอัตราส่วนและร้อยละชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาลัยมหาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

ธรรมภรณ์ ปักกาเร. (2553). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่องลำดับและอนุกรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสตกับการจัดกิจกรรมการเรียนรูแบบ TAI. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธะวัตร์ ทัดเนียม. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือกับการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาลัยมหาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

ปาริชาติ ทิพม่อน. (2550). ผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง วงรี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบการร่วมมือกันเรียนรู้ เป็นกลุ่ม (TAI). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โรงเรียนเมืองหลังสวน. (2560). รายงานผลการประชุมผู้ปกครอง โรงเรียนเมืองหลังสวน (กลุ่มงานการบริหารวิชาการ) จังหวัดชุมพร ประจำปี 2559-2560. ชุมพร : โรงเรียนเมืองหลังสวน.

ศิริพร คล่องจิตต์. (2548). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบ TAI. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET). [online]. เข้าถึงได้จาก: https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3121. 2563.

สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง. พ.ศ. 2560 – 2564. [online]. เข้าถึงได้จาก: nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422. 2560.

สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท พัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.) จำกัด.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

Slavin, R, Madden, N. A, & Leavey, M. (1984). Effects of Team Assisted Individualization on the Mathematics Achievement of Academically Handicapped and Nonhandicapped Students. Journal of Educational Psychology. 76(5): 813-819.