การบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

Main Article Content

เทวฤทธิ์ เลิศพนาศิลป์
ทินกร พูลพุฒ

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2, 2) ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการความเสี่ยงกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารจัดการความเสี่ยงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน 331 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่า IOC ระหว่าง
0.60 – 1.00 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน


ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารจัดการความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) การบริหารจัดการความเสี่ยงมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการเงินและงบประมาณ (X2), ด้านกลยุทธ์ (X1), ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (X3), ความเสี่ยงด้านการเรียนการสอน (X4), ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ (X5) ที่ร่วมกันทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อธิบายการผันแปรของระดับผลสัมฤทธิ์ได้ร้อยละ 83 เขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้


gif.latex?\hat{Y} = 2.05 + 0.33 (X2) + 0.07 (X1) + 0.06 (X3) + 0.05 (X4) + 0.02 (X5)


gif.latex?\hat{Z} = 0.57 Z2  + 0.18 Z1  + 0.13Z 3 + 0.13 Z 4 + 0.02 Z5

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ประกาศมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2553). คู่มือการบริหารความเสี่ยงการกีฬาแห่งประเทศไทย. วารสารการบริหารความเสี่ยง ฉบับปรับปรุง 2552. 1(2): 1-15.

จรัญ พะโยม. (2556). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ชนิดา ยอดสาลี. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ดวงใจ ช่วยตระกูล. (2551). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดวงใจ ช่วยตระกูล. (2552). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Veridian E – Journal, Silpakorn University. 2(1): 33-48.

ทศพร จันทนราช. (2554). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิรภัย จันทร์สวัสดิ์. (2551). การบริหารความเสี่ยง จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : สูตรไพศาล.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

ปราโมทย์ เอมมา. (2559). การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พุฒิสรรค์ ศรีรัตนประชากูล, พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร และพัชรกฤษฎิ์ พวงนิล. (2559). การพัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 10(ฉบับพิเศษ): 628-640.

มยุรี ถิ่นวัลย์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการบริหารงานวิชาการกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนในเครือมหาไถ่ศึกษาสังฆมณฑลอุดรธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

ส่วนตรวจราชการที่ 10. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

รวีวรรณ คีรีนิล. (2559). กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

วราภรณ์ ลวงสวาส. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัฒนา จันทนุปาน. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

วิไลวรรณ วรางคณากูล. (2556). ปัจจัยด้านการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสานักการศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สาวิตรี ง้วนหอม. (2559). ปัจจัยความเสี่ยงกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2. (2562). รายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. ตาก: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). การพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.opdc.go.th/Special.php. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2562.

สุขฤกษ์ ดีโนนโพธิ์. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สุรศักดิ์ ศิริอุดมโชค. (2557). ปัจจัยการบริหารวิชาการที่มีต่อผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรัญญา ไชยวงศ์. (2555). การบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลลำปาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.

Bloom, B. S. (1976). Human characteristics and school learning. New York: McGraw-Hill.

James Roth. (2007). Categorizing risk: Risk categories help users identify, understand and monitor their organizations’ potential risks-Risk Watch. [Online]. Available: http://findartictes.com/p/articles/mi_m4153/ is_2_59/ai_85014799. 29 December 2020.

Kim, Y. L., & Lee, S. M. (2015). Effect of satisfaction in major at university on academic achievement among physical therapy students. J Phys Ther Sci. 27(2), 405-9.

Klaumeir, H. J. (1971). Learning and human ability: Educational psychology (4th ed.). New York: Harper & Row.

Koutsoulis, M. K., & Campbell, J. R. (2001). Family process affects student, motivation, and science and math achievement in Cypriot High Schools. Structural Equation Modeling. 8(1), 108-172.

Rice, L., Barth, J. M, Guadagno, R. E., Smith, G. P., McCallum, D. M., & Asert. (2013). The role of social support in students' perceived abilities and attitudes toward math and science. J Youth Adolesc. 2013 Jul; 42(7): 1028-40.

Tapola, A, & Niemivirta, M. (2008). The role of achievement goal orientations in students' perceptions of and preferences for classroom environment. Br J Educ Psychol. 2008 Jun;78(Pt 2):291-312.