รูปแบบแห่งการเป็นชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

Main Article Content

มัทนียา พงศ์สุวรรณ
กฤษณี สงสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องรูปแบบแห่งการเป็นชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบแห่งการเป็นชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพบริบทของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน มีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนารูปแบบแห่งการเป็นชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพและเอกสารประกอบรูปแบบ โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ร่วมกับการศึกษาสภาพปัจจุบันของชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 ครูใหญ่และครูผู้สอนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รวมจำนวน 34 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยการสังเคราะห์ร่างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพบริบทของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และตรวจสอบคุณภาพรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 3 การนำเสนอรูปแบบแห่งการเป็นชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพต่อผู้เกี่ยวข้อง


ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบแห่งการเป็นชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน มีสมาชิกของชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพประกอบด้วย 1) ระดับโรงเรียน ได้แก่ ครูใหญ่ ครูผู้สอน และบุคลากรอื่นในโรงเรียน 2) ระดับกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน (ระดับ กก.ตชด.) ได้แก่ ผบ.ร้อย ตชด.(ที่ทำหน้าที่กำกับติดตามการดำเนินงานของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน) และผู้ที่ได้รับมอบหมาย 3) หน่วยงานสนับสนุนในด้านการพัฒนาครูและการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน มีคณาจารย์คณะครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์ จากสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ และ 4) ชุมชน ได้แก่ กรรมการสถานศึกษา ผู้นำท้องถิ่น และตัวแทนผู้ปกครอง โดยมีองค์ประกอบของชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพบริบทของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ดังนี้ 1) การมีวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วม 2) ชุมชนกัลยาณมิตรตามวิถีของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 3) การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน 4) ภาวะผู้นำสร้างทีมรวมพลัง 5) โครงสร้างสนับสนุนชุมชนการเรียนรู้ และในการสร้างสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วม ระดับกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน และระดับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 2) การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน และสร้างกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 3) การลงมือปฏิบัติและเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และ 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทบทวนการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและแนวทางการนำมาใช้ในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 10 (มกราคม-มิถุนายน): 34-41.

เบลลันกา, เจมส์ และแบรนด์, รอน. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่:การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 [21st century skills : Rethinking how students learn] (วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิปจิตตฤกษ์, แปล). กรุงเทพมหานคร: โอเพ่นเวิลต์ส.

ปองทิพย์ เทพอารีย์ และมารุฒ พัฒนผล. (2557). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับครูประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม): 284-296.

พงษ์ศักดิ์ ศิริพงษ์. (2555). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพนักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2557). โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 25 (มกราคม-เมษายน): 93-102.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด เอกรินทร์ สังข์ทอง และชวลิต เกิดทรัพย์. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 12 (กรกฎาคม-ธันวาคม): 123-134.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สกล สุวรรณาพิสิทธิ์. ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คืออย่างไร. [Online]. เข้าถึงได้จากhttp://www.qlf.or.th/home/Contents/417. 2555.

สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (2560). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2559). คุณลักษณะของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในบริบทการศึกษาไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8 (มกราคม-เมษายน): 163-175.

Sergiovanni, T. (1994). Building community in schools. San Francisco, CA: Jossey Bass.