การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ เพื่อส่งเสริมการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง สระเสียงสั้นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ เพื่อส่งเสริมการอ่าน ออกเสียงภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง สระเสียงสั้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ และ 4) เพื่อวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนวัดบ่อไร่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือ ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ จำนวน 7 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 เรื่อง Short vowels ชุดที่ 2 เรื่อง Short a ชุดที่ 3 เรื่อง Short e ชุดที่ 4 เรื่อง Short i ชุดที่ 5 เรื่อง Short o ชุดที่ 6 เรื่อง Short u และ ชุดที่ 7 เรื่อง Phonics fun 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดผลการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ เพื่อส่งเสริมการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ หน่วย การเรียนรู้ เรื่อง สระเสียงสั้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 86.40/87.50 2) นักเรียนที่เรียนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์มีผลการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ มีเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่าการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ สามารถพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษให้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้นักเรียนมีความมั่นใจในการอ่านออกเสียงเพิ่มขึ้นจากเดิม และเห็นความสำคัญต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงฯ.
ก็ก่อ พิสุทธิ์. (2561). การพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยใช้ชุดฝึกทักษะโฟนิกส์ออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
จารุวรรณ ไม้เลี้ยง. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีโฟนิกส์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงและจำความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ณเอก อึ้งเสือ. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่อง งานประดิษฐ์ใบตอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.
ตวงแสง ณ นคร. (2549). การใช้สื่อการสอน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นุสรีย์ กันยา. (2559). การพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษด้วยวิธีโฟนิกส์ร่วมกับเทคนิคพหุสัมผัสของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
บำรุง โตรัตน์. (2544). วิธีสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (2544). การพูดภาษาอังกฤษตามหลักภาษาสัทศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิสันธนีย์ ศรีดุรงฤทธิ์. (2558). รูปแบบการเรียนรู้ เจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษและประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง : กรณีศึกษานักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
รุ้งนภา ศิริสวัสดิ์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
โรงเรียนชุมชนวัดบ่อไร่. (2562). รายงานการประเมินตนเองของโรงเรียนชุมชนวัดบ่อไร่. ตราด: โรงเรียนชุมชนวัดบ่อไร่.
ลัดดา ศุขปรีดี. (2543). เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-net). [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx. 2563.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สาวิตรี อานมณี. (2562). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำโดยใช้เสียงโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Eldrege, J.L. (2005). Teach decoding : Why and how. 2nd ed. New Jersey: Pearson Merrill Prentice Hall.
Harvard University. (2014). Enhancing and Practicing Executive Function Skills with
Children from Infancy to Adolescence. Cambridge: Center on the Developing Child
of Harvard University.
Jannuzi, C. Key concepts in literacy : Phonic vs. whole laguages. Literacy across cultures. [Online]. Available :
http://www.2.aasa.ac.jp/dcdzcusLAC97-Phonics.html. 2020.
Spafford, C.A. and Grosser, G.S. (2005). Dyslexie and reading difficulties : Research and resource guide for working with all struggling readers. 2nd ed. Boston: Pearson Education.