ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อจุดคุ้มทุนและส่วนเกินที่ปลอดภัยจากการปลูกมันสำปะหลังใน จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อจุดคุ้มทุนและส่วนเกินที่ปลอดภัยจากการปลูกมันสำปะหลัง กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในเขตตำบลลำเพียก โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม หลังจากนั้นจึงใช้วิธีสุ่มแบบง่าย เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 288 ราย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า 1) ต้นทุนผันแปรผันแปรเฉลี่ยต่อไร่และต้นทุนคงที่เฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 3,188.20 บาทต่อไร่ และ 1,038.22 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 3,680.73 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาขายเฉลี่ย 2.10 บาทต่อกิโลกรัม ปริมาณผลผลิตที่จุดคุ้มทุนและส่วนเกินที่ปลอดภัยเท่ากับ 872.45 กิโลกรัมต่อไร่ 2,617.13 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ 2) ประเด็นด้านความสัมพันธ์ของต้นทุน ปริมาณผลผลิต และราคาขายที่มีต่อจุดคุ้มทุน พบว่า ต้นทุนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับจุดคุ้มทุน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนราคาขายมีความสัมพันธ์เชิงลบกับจุดคุ้มทุน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ประเด็นด้านความสัมพันธ์ของต้นทุน ปริมาณผลผลิต และราคาขายที่มีต่อส่วนเกินที่ปลอดภัย พบว่า ต้นทุนมีความสัมพันธ์เชิงลบกับส่วนเกินที่ปลอดภัย มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปริมาณผลผลิตและราคาขายมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับส่วนเกินที่ปลอดภัย มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลลักษณ์ ชัยดี, ภัทราพร สมเสมอ, รัตติยากร ถิ่นแสง, วราภรณ์ เมืองหล้า และ ศุภฤกษ์ วงค์เทพ. (2560). ระบบการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนและผลตอบแทนการลงทุนเลี้ยงปลา กรณีศึกษาการเลี้ยงปลาหมอมานพฟาร์ม อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. วารสารราชมงคลล้านนา. 5 (กรกฎาคม - ธันวาคม):77-91.
กมลลักษณ์ ถิระพงษ์. (2561). นโยบายเกษตรแปลงใหญ่กับบริบทของภาคการเกษตรไทยในปัจจุบัน. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2560. ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก.กรุงเทพมหานคร : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หน้า 49–64.
กัลญา ลุนะหา, อานนท์ ผกากรอง และวรินทร์ธร โตพันธ์. (2563). การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนจากการปลูกแก้วมังกรของเกษตรกรบ้านร่องจิก ตำบลร่องจิก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ใน เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏเลยวิชาการ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2563. วิจัยและพัฒนาท้องถิ่นภายใต้ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง. เลย: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. หน้า 1635–1641.
กาญจนา ปล้องอ่อน. (2561). การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนการปลูกข้าวเล็บนกปัตตานีของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 14 (กรกฎาคม - ธันวาคม):325-348.
ดวงมณี โกมารทัต. (2543). การบัญชีต้นทุน 2. กรุงเทพมหานคร: แมคกรอฮิล อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นเตอร์ไพร์สอิงค์.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นงนุช ศรีสุข และเบญญาดา กระจ่างแจ้ง. (2565). การศึกษาการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนต้นแบบบ้านคลองราง จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 16 (มกราคม - เมษายน):97-105.
เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ, ณิชฎา กีรติอุไร และลินนภัสสร์ วุฒิกนกกัญจน์. (2564). การศึกษาจุดคุ้มทุนการปลูกมันสำปะหลังเพื่อประเมินส่วนเกินที่ปลอดภัยของเกษตรกรตำบลศรีละกอ อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา ใน เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏเลยวิชาการ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2564. ความท้าทายทางการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคมท้องถิ่นวิถีใหม่. เลย: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. หน้า 1729–1736.
ละเอียด พลล้ำ. (2560). ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกมันสำปะหลังในเขตพื้นที่ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
วรรณี เตโชโยธิน, สมชาย สุภัทรกุล และมนวิภา ผดุงสิทธิ์. (2558). การบริหารต้นทุน. กรุงเทพมหานคร : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร. ฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ปี 2562. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.aiu. doae.go.th. 2563.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2564. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www.oae.go.th. 2565.
อรทัย วานิชดี, ธณกร เทียมอุดมฤกษ์, จงจิตต์ แซ่ลี้ และแววระวี ชนะนนท์. (2563). การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนและการใช้เทคนิคพยากรณ์เพื่อการวางแผนกำไร กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ เดอะ ทรีทเม้นท์ เซรั่ม ของวิสาหกิจชุมชนวาเบลล์ล่าซ์ จังหวัดพิจิตร. เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์. 16 (มกราคม - มิถุนายน):103-123.