อิทธิพลของเฟซบุ๊ค (Facebook) ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ.2564
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยอิทธิพลของเฟซบุ๊ค (Facebook) ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ.2564 มีวัตถุประสงค์1.เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การรับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านช่องทางต่าง ๆ ของเฟซบุ๊ค (Facebook) 2.เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านเฟซบุ๊ค(Facebook) ของนักศึกษา 3.เพื่อศึกษาปัญหาข้อเสนอแนะอิทธิพลของเฟซบุ๊ค (Facebook) ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น(Stratified Radom sampling) นักศึกษาภาคปกติ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จาก 3 สาขาวิชาคือ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ จำนวน 300 คน เครื่องมือใช้เก็บรวมรวบข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คืออัตราร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 62.7 อยู่ในช่วงอายุ 18 ปี คิดเป็นร้อยละ 38.0 และนักศึกษาส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ระดับชั้นปีที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 54.5
การใช้เฟซบุ๊ค (Facebook)ในการรับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองของนักศึกษา พบว่านักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ส่วนใหญ่ใช้บัญชีของตนเองในการใช้งานเฟซบุ๊ค (Facebook) และมีวัตถุประสงค์เปิดใช้งานเฟซบุ๊ค (Facebook) เพื่อตนเอง โดยมีความถี่การใช้งานเฟซบุ๊ค (Facebook) เป็นประจำทุกวัน ส่วนใหญ่มีการติดตามข่าวสารทางการเมืองผ่านเฟซบุ๊ค(Facebook) เป็นประจำทุกวัน การมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านเฟซบุ๊ค (Facebook)ทุกครั้งที่มีการใช้งานและส่วนใหญ่ใช้เฟซบุ๊ค(Facebook) เพื่อประโยชน์ด้านนำเสนอข้อมูลส่วนตัว
การมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านเฟซบุ๊ค (Facebook) พบว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ3.27 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.76 ซึ่งเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่นักศึกษา สามารถกระทำได้ 5 ขั้นได้แก่1.ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง 2.ด้านชักชวนให้ผู้อื่นสนทนาเรื่องการเมือง 3.ด้านใช้สิทธิออกเสียงในการเลือกตั้ง 4.ด้านเชิญชวนให้ผู้อื่นไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง 5.ด้านใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆเพื่อแสดงการสนับสนุนพรรคหรือผู้สมัคร
ปัญหาและอุปสรรคอิทธิพลของเฟซบุ๊ค (Facebook) ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง พบว่า มีความยุ่งยากในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลถูกจำกัดในการใช้งานโดยระเบียบและกฎหมาย เป็นเครื่องมือในการโจมตีทางการเมือง ข้อมูลถูกบิดเบือนขาดความน่าเชื่อถือ ทำให้เกิดความแตกแยกในสังคมและใช้งานยาก ไม่สะดวก
ข้อเสนอแนะของการศึกษาคือ ควรส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงออกทางการเมืองบนสื่อออนไลน์ด้วยข้อมูลที่เป็นจริงมีความน่าเชื่อถือ และเป็นไปประโยชน์สำหรับผู้นำไปใช้ในการอ้างอิง การจัดอบรมให้ความรู้แก่นักศึกษาในการใช้งานสื่อออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊ค (Facebook) เพื่อเป็นช่องทางการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น สร้างทัศนคติทางการเมืองเชิงสร้างสรรค์ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกวรรณ ดุษฎีพาณิชย์. (2556). การนำเสนอเนื้อหาทางเฟซบุ๊กแฟนเพจในประเทศไทย. วิทยานิพนธปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการกีฬาและการบันเทิง มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2554). นวัตกรรมและเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
จิรภัทร เริ่มศร. (2558). พฤติกรรมการใช้เฟซบ๊คที่มีผลกระทบต่อนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. งานวิจัยสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ทิพาพร พิมพิสุทธิ์. (2542). พัฒนาการเมือง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พิชิต วิจิตรบุญรักษ์.(2553). สื่อสังคมออนไลน์:สื่อแห่งอนาคต. วารสารการบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ภณธกร กุลสันต์. (2550). อิทธิพลของสื่ออินเตอร์เน็ต ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการ : กรณีศึกษา ศาลากลางจังหวัดพะเยา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: เชียงใหม่.
วิมลพรรณ อาภาเวท, สาวิตรี ชีวะสาธน์ และชาญ เดชอัศวนง. (2554). พฤติกรรมการสื่อสารในเฟซบ๊ค
(Facebook) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. งานวิจัยคณะเทคโนโลยี สื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
สัมพันธ์ ภุ่มมาลา. (2549). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของสตรีในอำเภอไชยปราการจังหวัดเชียงใหม่ สารนิพนธ์ ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
อัจฉรา โอฬารจัทโรทัย. (2553). อิทธิพลของสื่ออินเตอร์เน็ตต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
ในเขตเทศบาลนครลำปาง. การค้นคว้าแบบอิสระ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล. (2555). การเมืองบนเฟซบุ๊ก:วัฒนธรรม-การเมืองบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ไทยพ.ศ.2553-2555. วิทยานิพนธ์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Smith, Kristian Nicole.(2011)."Social Media and Political Campaigns". Chancellor’s Honors Program Projects.