ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและภาพลักษณ์ที่มีต่อ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

เมตตา ดีเจริญ
บุษบาบรรณ ไชยศิริ
จิณณพัต ตั้งดวงมานิตย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและภาพลักษณ์ที่มีต่อมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งตามการรับรู้ของประชาชนในจังหวัด นครราชสีมา 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และภาพลักษณ์ที่มีต่อมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา การศึกษาครั้งนี้ใช้ตารางการสุ่มกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ ได้ตัวอย่างทั้งหมด 400 คนโดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเลือก (Purposive Random Sampling) จากอำเภอที่มีความหนาแน่นมากที่สุดจำนวน 5 อำเภอโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window ใช้ตารางแจกแจงความถี่(Frequencies) คำนวณค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมาตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยพันธกิจด้าน การบริการวิชาการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การผลิตบัณฑิต  และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ตามลำดับ

  2. กลุ่มประชาชนมีความคิดเห็นต่อการเปิดรับข่าวสารมากที่สุด คือ การ ได้รับประโยชน์จากข่าวสารต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ความถี่ในการติดตามสื่อเป็นประจำมากที่สุด ได้แก่ สื่อโซเชียลมีเดีย (เพจเฟซบุ๊ก VU News)

  3. ประชาชนที่มีการเปิดรับข่าวสารมากขึ้นจะมีภาพลักษณ์ที่ดีมากขึ้นด้วยโดย มีความสัมพันธ์เชิงบวกแต่เป็นความสัมพันธ์ในระดับน้อย

  4. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการได้รับข่าวสารมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะการได้รับประโยชน์จากข่าวสารต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย จะยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยดีมากขึ้นโดยมีความสัมพันธ์เชิงบวก และมีความสัมพันธ์ระดับสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐวิโรจน์ มหายศ. (2563). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อใหม่กับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพาและความสนใจในการเลือกศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยบูรพาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

นพวรรณ โสภี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์กับการรับรู้ภาพลักษณ์ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. การค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปรมะ สตะเวทิน. (2555). หลักนิเทศศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

พิชญ์ เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา. (2558). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ การรับรู้ด้านภาพลักษณ์และการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และนักเรียนอาชีวศึกษาในพื้นที่จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ยุทธภูมิ สุวรรณเวช. (2551). ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครในทัศนะของสถาน

ประกอบการ. รายงานการวิจัยเสนอต่อ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

รุ่งนภา พิตรปรีชา. (2560). พลังแห่งการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

วศมล สบายวัน. (2553). การพัฒนาแบบวัดภาพลักษณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิมลพรรณ อาภาเวท และสาวิตรี ชีวะสาธน์. (2553). การศึกษาภาพลักษณ์ของคณะเทคโนโลยี สื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครในทัศนะของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

วีรพงษ์ พลนิกรกิจ และคณะ. (2557). ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัย: ประมวลองค์ความรู้. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). จำนวนประชากรในจังหวัดนครราชสีมา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/viewa/showProvinceData.php 2563.

สุกัญญา บูรณเดชาชัย. (2561). วารสารศาสตร์หลอมรวม: แนวคิด หลักการและกรณีศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

เสรี วงษ์มณฑา. (2541). ภาพพจน์นั้นสำคัญไฉน?. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

อธิพร จันทรประทิน. (2553). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้และทัศนคติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอน ปลายในกรุงเทพมหานครที่มีต่อระบบแอดมิชชั่นส์ปี 2553. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อริศรา บุญรัตน์. (2557). แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย.

วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Coombs, W.T. (2001). Interpersonal communication and public relations In Handbook of public relations. R.L. Health, ed. California: Sage. p.109.

Kotler, P. (2000). Marketing management. New Jersey: Prentice Hall