รูปแบบการพัฒนาอาชีพเกษตรผสมผสานวิถีชีวิตของเกษตรกรรุ่นใหม่ต้นแบบใน จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

เสาวณีย์ เล็กบางพง
ธีรพงศ์ มนต์แก้ว
นลินทิพย์ พูลนวล
เสาวลักษณ์ ศรีปลอด

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาอาชีพเกษตรผสมผสานวิถีชีวิตของเกษตรกรรุ่นใหม่ต้นแบบในจังหวัดนครศรีธรรมราช การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก คือ เกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบผสมผสานได้รับการคัดเลือกให้เป็น Young Smart Farmer ต้นแบบของจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 5 ราย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการทำเกษตรแบบผสมผสานมีหลักการสอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสอดคล้องกับระบบเกษตรกรรมยั่งยืน 2) หลักคิดและแนวทางในการดำเนินชีวิตของเกษตรกรแบบผสมผสานสอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง คือ มีความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวเอง ปฏิบัติตนสอดคล้องกับเงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม 3) การพัฒนาอาชีพมีการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นการทำเกษตรผสมผสาน โดยการนำความรู้ ประสบการณ์ เทคโนโลยีมาปรับใช้และพัฒนาต่อยอดเพิ่มมากขึ้น 4) อุปสรรคและความสำเร็จ พบว่า เกษตรกรประสบปัญหาเรื่องแรงงาน เงินทุน และราคาผลผลิต และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ คือ ความมุ่งมั่นอดทน ความเพียรและการเรียนรู้การทำเกษตรกรรมด้วยรูปแบบของตนเอง 5) แนวทางการแนะแนวอาชีพแก่บุตรหลาน พบว่า มีแนวคิดในการส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ โดยการเปิดสวนเกษตรของตนเป็นศูนย์การเรียนรู้การทำเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อให้ผู้ที่สนใจอยากศึกษาเข้ามา
ศึกษาเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิติศักดิ์ ทองมีทิพย์. (2564). การพัฒนาการเกษตรกรรมของประเทศไทย: ในมิติด้านการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. วารสารพัฒนาศาสตร์. 4(1): 132-162.

ง่ายงาม ประจวบวัน. (2558). การพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ชุมชนบ้านหลักเมตร ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 7(4): 92-123.

จุฑาภรณ์ อยู่ทิม, จันทร์ชลี มาพุทธ และพักตร์วิภา โพธิ์ศรี. (2564). การสืบทอดวิถีชีวิตของชาวสวนผลไม้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมเมือง. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 15(1): 119-121.

นิรันดร์ ยิ่งยวด, ประสงค์ ตันพิชัย, สันติ ศรีสวนแตง และวีรฉัตร์ สุปัญโญ. (2559). กระบวนการปรับใช้ความรู้การทำเกษตร ผสมผสานของชุมชนและเกษตรกร: กรณีศึกษา บ้านหนองกระโดนมน อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. 8(1): 172-198.

พิทักษ์ กาวีวน, อาชัญญา รัตนอุบล และยิ่ง กีนติบูรณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อ เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับชุมชนเกษตรกรรมในเขตพื้นที่สูง. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 10(2): 240-252.

สมพร เทพสิทธา. (2549). การเดินตามรอยพระยุคลบาท เศรษฐกิจพอเพียง ช่วยแก้ปัญหาความยากจนและทุจริต. กรุงเทพมหานคร: สภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติในพระบรมราชูปถัมภ์.

สายสกุล ฟองมูล. (2563). การพัฒนาสมรรถนะเกษตรกรสู่การเป็นผู้นำเกษตรกรรุ่นใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการ การเกษตร. 38(1): 126-134.

สุริยะ หาญพิชัย และพีรพล ไทยทอง. (2561). การพัฒนาชาวนาไทยรุ่นใหม่เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 5(2): 1-16.