การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดลและการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคของ สสวท.

Main Article Content

สุวิมล หรรษาพันธุ์
เยาวเรศ ใจเย็น
นาคนิมิตร อรรคศรีวร
อนันตชัย แปดเจริญ

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา  การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดล 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและ การลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคของสสวท. และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวก และการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดลและกลุ่มการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคของ สสวท. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลบ้านหนองคล้า (จงจินต์ รุจิรวงศ์ อุปถัมภ์ 2) จังหวัดจันทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องละ 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงแล้วจับฉลากเพื่อเลือกห้องเรียนเข้ากลุ่มทดลอง 1 และกลุ่มทดลอง 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดล โดยผลการประเมินมีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.68 และมีความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคของ สสวท. โดยผลการประเมินมีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.68 และมีความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด และ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.71 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  1) ค่าเฉลี่ย 2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 3) การทดสอบทีผลการวิจัยพบว่า


  1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดลมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคของ สสวท. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดลและการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคของ สสวท. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). คู่มือครูคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กันตภณ สอนซิว. (2563). การพัฒนาความสามารถการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์โดยวิถีธรรมชาติแห่งการคิด เชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

กุลนันท์ กลิ่นสุวรรณ. (2560). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้และการฝึกวิเคราะห์โจทย์อย่างสม่ำเสมอด้วยบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (คณิตศาสตร์ศึกษา). กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

จรัสนันท์ ตรียัง. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนวัดนางคุ่ม จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดของโพลยาร่วมกับเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ณัฐพล เลิศนัน. (2562). การศึกษายุทธวิธีในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หนึ่งขั้นตอนที่เกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณและการหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, 5 และ 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (คณิตศาสตร์ศึกษา). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทิวาพร เตมีศักดิ์. (2558). การใช้การวาดแบบจำลองเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (คณิตศาสตร์ศึกษา). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิภาพร หยั่งถึง. (2558). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิคการวาดภาพ. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (หลักสูตรการสอน และเทคโนโลยีการเรียนรู้ (ประถมศึกษา)). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พีรันธร ยาคำ. (2557). การสร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ด้วยยุทธวิธีที่หลากหลาย เรื่อง โจทย์ปัญหาการคูณและการหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (คณิตศาสตร์ศึกษา). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โรงเรียนบ้านแก้ว. (2562). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนบ้านแก้ว ปีการศึกษา 2561. จันทบุรี : โรงเรียนฯ.

โรงเรียนบ้านแก้ว. (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนบ้านแก้ว ปีการศึกษา 2562. จันทบุรี : โรงเรียนฯ.

โรงเรียนบ้านเนินจำปา. (2562). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเนินจำปา ปีการศึกษา 2561. จันทบุรี : โรงเรียนฯ.

โรงเรียนบ้านเนินจำปา. (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเนินจำปา ปีการศึกษา 2562. จันทบุรี : โรงเรียนฯ.

โรงเรียนอนุบาลบ้านหนองคล้า (จงจินต์ รุจิรวงศ์ อุปถัมภ์ 2). (2562). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลบ้านหนองคล้า (จงจินต์ รุจิรวงศ์ อุปถัมภ์ 2) ปีการศึกษา 2561. จันทบุรี : โรงเรียนฯ.

โรงเรียนอนุบาลบ้านหนองคล้า (จงจินต์ รุจิรวงศ์ อุปถัมภ์ 2). (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลบ้านหนองคล้า (จงจินต์ รุจิรวงศ์ อุปถัมภ์ 2) ปีการศึกษา 2562. จันทบุรี : โรงเรียนฯ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) คณิตศาสตร์ประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานทดสอบทางการศึกษา. (2563). รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2557-2561. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://bet.obec.go.th/index/?p=2858&p=2858 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563.

สุรัชน์ อินทสังข์. (2558). “การสอนแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้บาร์โมเดล (Bar Model)” ใน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 43 (194) : 27 - 30.

Yeap Ban Har and et al. (2008). Using a Model Approach to Enhance Algebraic Thinking in the Elementary School Mathematics Classroom Algebra and Algebraic Thinking in School Mathematics. National Council of Teachers of Mathematics, Reston Virginia, USA.

Yeap, B.H. (2015). Bar modeling. Singapore : Marshall Cavendish Education.