แนวทางการพัฒนาสุขภาพจิตผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

อัฐฉญา แพทย์ศาสตร์
พัชรินทร์ รุจิรานุกูล

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสุขภาพจิตผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลวังใหม่ อำเภอ นายายอาม จังหวัดจันทบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์รายบุคคล จำนวน 10 คน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้แทนผู้สูงอายุ ผู้นำด้านจิตวิญญาณ พระ ครู/อาจารย์ ผู้แทนบุคลากรสาธารณสุข หรืออื่น ๆ ที่ได้รับการเสนอโดยกลุ่มเป้าหมาย  โดยมีการกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือก คือ เป็นผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการดำเนินงานด้านการพัฒนาผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ผลการวิจัยพบว่า


  1. การดูแลด้านร่างกายเพื่อพัฒนาสุขภาพจิต เน้นพัฒนาแบบองค์รวมทุกมิติ ทำตามความต้องการของผู้สูงอายุ กำหนดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุมีความสุข ร่างกายแข็งแรง เน้นการมีส่วนร่วม ตรวจสุขภาพและให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนเรื่องอาหาร และสอนท่าออกกำลังกาย

  2. การดูแลด้านจิตใจเพื่อพัฒนาสุขภาพจิต จัดให้ความรู้ด้านคุณธรรมการทำสมาธิ ทำกิจกรรมสุข 5 มิติ เน้น ความเป็นธรรมชาติ ให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด อารมณ์และจิตใจ เน้นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ สร้างรอยยิ้ม สดชื่นแจ่มใสและถ่ายทอดเป็น นอกจากนี้ควรมีการพัฒนาคนในครอบครัวให้เข้าใจผู้สูงอายุ

  3. การดูแลด้านสังคมเพื่อพัฒนาสุขภาพจิต ควรยอมรับและปรับตัวต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกล้าแสดงออก พาไปเยี่ยมผู้ป่วยที่ติดเตียง ศึกษาดูงาน ส่งเสริมอบรมด้านอาชีพตามความต้องการ มีการทำกิจกรรมนอกบ้าน เน้นสถาบันครอบครัวในการดูแลเพื่อลดช่องว่างกับคนในครอบครัว ชุมชนอย่างมีความสุข รวมถึงขยายผลกิจกรรมต่าง ๆ จากในโรงเรียนผู้สูงอายุลงสู่หมู่บ้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรีติญา ไทยอู่. (2558). ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้สูงอายุโรคจิตเวช. ใน เอกสารวิชาการ. นนทบุรี: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. หน้า 2-13.

กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ. (2559). คู่มือผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

เกสร มุ้ยจีน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23: 306-318.

จันทนา สารแสง. (2561). คุณภาพชีวิตและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลทุ่งข้าวพวงอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

จุฑาพร แหยมแก้ว. (2560). รูปแบบการจัดกิจกรรมผู้สูงอายุในโรงเรียนสร้างสุข ตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง

จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 (หน้า1401-1412). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

จุฑาลักษณ์ แสนโท, จารุกัญญา อุดานนท์, และกาญ ดำริสุ. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วารสารรัชต์ภาคย์. (ฉบับพิเศษครบรอบ 23 ปี): 333-347.

นริศ กิจอุดม. (2562). ปั้นโรงเรียนสูงวัยต้นแบบจังหวัดจันทบุรี. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :

https://tinyurl.com/yc47amd5. 2562.

ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ, สุรีย์ ธรรมิกบวร, สุรสม กฤษณะจูฑะ. (2560). โรงเรียนผู้สูงอายุกับการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในชุมชนท้องถิ่นอีสาน. วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร. 14 (ฉบับที่ 1 กรกฎาคม-ธันวาคม): 133-162.

ไพจิตร เกศางาม. (2551). ภาวะสุขภาพจิตผู้สูงอายุ กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองมาบตาพุด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภาวิน ทองไชย. (2556). สุขภาพจิตและการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เขตคลองสาน

กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมธี วงศ์วีระพันธุ์. (2559). การส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุของชุมชนต้นแบบในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารจิตวิทยาคลินิก, 47(1): 38-47.

ยุพิน ทรัพย์แก้ว. (2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 9 (เมษายน-มิถุนายน): 19-22.

สุชาดา ทวีสิทธิ์, มาลี สันภูวรรณ์ และศุทธิดา ชวนวัน. (2556). ประชากรและสังคม 2556: ประชากรและสังคมในอาเซียน ความท้าทายและโอกาส. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

สุภาวดี ไชยเดชาธร, ทัศนีย์ ทิพย์สูงเนิน และกชกร แก้วพรหม. (2558). สุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างแกนนำชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา. 21(1): 31-40.

เสาวลักษณ์ เรืองเกษมพงศ์. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Havighurst, Robert J. (1968). Personality and Patterns of Aging. Gerontologist. 8, 20-23.