การศึกษาสภาวะความต้องการการจัดการเรียนการสอนแบบเปิด (MOOCs) สำหรับ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

Main Article Content

ดำรัส อ่อนเฉวียง
ดวงพร ธรรมะ
ศรินนา ศิริมาตย์

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการ ผู้ผลิตรายวิชา และ กำลังคนที่มีต่อการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิด และ 2) ศึกษาความต้องการการจัดการเรียนการสอนแบบเปิด (MOOCs) สำหรับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก


            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้  ได้แก่ 1) ผู้ประกอบการ 33 ท่าน ได้มาโดยความสมัครใจของผู้ให้ข้อมูล 2) กำลังคนในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก  ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน จำนวน 468 คน 3) ผู้ผลิตรายวิชา MOOC จำนวน 38 ท่าน ได้มาโดยความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามสำหรับผู้ประกอบการ   2) แบบสอบถามสำหรับผู้ผลิตรายวิชา MOOC  และ3) แบบสอบถามสำหรับกำลังคน


            ผลการวิจัย พบว่า


  1. ความคิดเห็นของผู้ประกอบการ กำลังคน และผู้ผลิตรายวิชา ที่มีต่อการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิด พบว่าสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนอยู่ระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.46 คิดเป็นร้อยละ 69.13 และรูปแบบการเรียนรู้ของกำลังคนในปัจจุบันอยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.54 คิดเป็นร้อยละ 70.89

  2. ความต้องการการจัดการเรียนการสอนแบบเปิด (MOOCs) สำหรับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก พบว่าความต้องการในการจัดการเรียนการสอนแบบเปิดอยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.17 คิดเป็นร้อยละ83.30 และวิธีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิด(MOOCs) อยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.11 คิดเป็นร้อยละ 82.24 การจัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิด(MOOCs) ประกอบด้วย  5  องค์ประกอบหลัก 18 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1)องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า(Input) ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนรู้กำลังคน,  เทคโนโลยีการสื่อสารและการเรียนการสอน, ความต้องการศักยภาพในการทำงาน, การจัดการเรียนการสอนในระบบ MOOCs, ผู้ผลิตรายวิชา MOOCs และผู้ประกอบการ  2) องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการ(Process) ดำเนินการโดยหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนแบบเปิด (MOOCs) สำหรับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกประกอบด้วย ความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการ, การผลิตรายวิชา MOOCs, การจัดการรายวิชา MOOCs, การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ และการออกแบบรายวิชาMOOCsและการประเมินรายวิชา MOOCs 3) องค์ประกอบที่ 3 ผลลัพธ์ (Output) ประกอบด้วย  กำลังคนที่มีศักยภาพ ประกอบด้วย ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเจตคติ และกำลังคนที่มีศักยภาพตามเกณฑ์การประเมิน ได้รับประกาศนียบัตร (Certificate) 4) องค์ประกอบที่ 4 ผลประโยชน์ที่ได้ (Outcome) ประกอบด้วย การปฏิบัติงานของกำลังคน และ องค์ประกอบที่ 5 ผลป้อนกลับ (Feedback) ประกอบด้วย การประเมินปัจจัยนำเข้า, การประเมินกระบวนการและการประเมินผลลัพธ์เทียบกับวัตถุประสงค์ และแนวทางการปรับปรุง

 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. (2561). แนวทางการพัฒนาอาจารย์เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอนออนไลน์แบบเปิดสำหรับมวลชน. โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. ความเป็นมา Thai MOOC. [online] เข้าถึงได้จาก : https://thaicyberu.go.th/?page_id=5922. 2562

โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. ความเป็นมา Thai MOOC. [online] เข้าถึงได้จาก : https://thaicyberu.go.th/?page_id=5922. 2562

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2556). MOOCs PEDAGOGY : จาก OCW, OER สู่ MOOC เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนยุคดิจิทัล. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิงประจำปี 2556.276-285.

ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ e-Learning: from theory to practice.

โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

ณฐภัทร ติณเวส. (2559). การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOC ของอุดมศึกษาไทย. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9( 3), 1463-1479.

น้ำทิพย์ วิภาวิน และรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกลุ. (2557). Massive open online course (MOOC) กับความท้าทายของห้องสมุดมหาวิทยาลัย. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 7(1), 78-79.

มหาวิทยาลัยบูรพา. (2554) แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ

ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๔ – ๒๕๖๓. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา

สุริยา เผือกพันธ์. คอร์สเซอรา: หลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อปวงชน (Coursera: Massive

Open Online Courses). [online] เข้าถึงได้จาก : http://pracob.blogspot.com/2013/03/coursera-massive-open-online-courses.html. 2556

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. แผนปฏิบัติการการพัฒนา

บุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยีรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก.

[online] เข้าถึงได้จาก : https://www.eeco.or.th/web-upload/filecenter/untitled%20folder/

EEC013.pdf. 2561

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้(องค์การมหาชน). รูปแบบการเรียนรู้สำหรับคนรุ่นใหม่. [online] available : http://www.okmd.or.th/okmd-opportunity/FutureLearningPlatform/899/Digilearn

_infographic. 2560

Gašević, D., Kovanović, V., Joksimović, S. & Siemens, G. (2014). Where is Research on Massive Open Online Courses Headed? A Data Analysis of theMOOC Research Initiative. International Review of Research in Open and Distributed Learning, 15 (5), 134–176.

Kaplan Andreas M., Haenlein Michael. Higher education and the digital revolution: About MOOCs, SPOCs, social media, and the Cookie Monster, Business Horizons, Volume 59. [online] เข้าถึงได้จาก : http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S000768131630009X. 2016

Kolowich, S.The Professors who make the MOOCs. Chronicle of Higher Education, 59(28), A20-A23. [online] Available : http://chronicle.com/article/The-Professors-Behind-the-MOOC/137905/. 2013

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Parson, R. An Investigation into Instruction Available on the World Wide Web. [online] Available : http://www.osie.on.ca/~rparson/outId.html [December 15]. 1997.