บทวิพากษ์อุดมการณ์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

Main Article Content

มนัส พัฒนผล
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์
จำลอง แสนเสนาะ

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท อุดมการณ์ และวิพากษ์อุดมการณ์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีวิทยาการวิจัยเชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองแนวประวัติศาสตร์ และการวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ วิธีดำเนินการวิจัย ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก   ผลการศึกษาพบว่า บริบทการพัฒนาของประเทศไทยนับตั้งแต่เริ่มใช้แผนพัฒนาฯ จวบจนปัจจุบันยังคงตั้งอยู่บนแนวคิดของการพัฒนากระแสหลัก ภายใต้ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยใช้การพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นกลไกขับเคลื่อนหลัก การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกก็เช่นเดียวกัน เพียงแต่ปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและยกระดับการพัฒนาโดยการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ด้านอุดมการณ์การพัฒนาเป็นอุดมการณ์ทุนนิยมที่ตั้งอยู่บนแนวคิดของเสรีนิยมใหม่ (Neoliberalism) โดยใช้ยุทธศาสตร์การเติบโตอันเป็นยุทธศาสตร์ที่สนับสนุนกระบวนการสะสมทุน (Capital Accumulation) เพื่อให้ทุนนิยมดำรงอยู่และดำเนินต่อไป สำหรับกระบวนการพัฒนา รัฐไทยได้ผลิตซ้ำ (Reproduction) อุดมการณ์การพัฒนา พร้อมกับผลิต/สร้างวาทกรรม   การพัฒนา (Development Discourse) เพื่อสร้างความชอบธรรม (Legitimacy) ให้กับรัฐและการยอมรับจากสังคม (Legitimation) ตลอดจนการสร้างอำนาจครอบงำ (Hegemony) และจิตสำนึกจอมปลอม (False Consciousness) ผ่านกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรายุทธ์ สีม่วง. (2560). ข้อเสนอใหม่ของการพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ในมุมมองของรัฐ :

บทวิพากษ์โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ในเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 6 (มิถุนายน-ธันวาคม) : 224-243.

ชัยณรงค์ เครือนวน. (2550). เศรษฐศาสตร์การเมืองของการพัฒนาอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยณรงค์ เครือนวน. (2558). ปฏิบัติการและการต่อสู้ทางวาทกรรมในการพัฒนาอุตสาหกรรม : ศึกษากรณีการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้ตัวแบบมาบตาพุด. ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยณรงค์ เครือนวน. (2563). ยุทธศาสตร์การพัฒนา ความเปลี่ยนแปลงปฏิบัติการทางสังคม และข้อเสนอเชิงนโยบายภายใต้การพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา. 8 (มกราคม-มิถุนายน) : 25-47.

ชัยณรงค์ เครือนวน และพิมพ์ประไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. (2564). เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการพัฒนา : ศึกษา การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารพัฒนาสังคม. 23 (ตุลาคม) : 88-105.

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ และชัยณรงค์ เครือนวน. (2549). รายงานวิจัยการจัดทำผังพิสัยการวิจัยระบบสุขภาพกับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนุภาคตะวันออก. สนับสนุนการวิจัยโดยศูนย์จัดการวิจัยระบบสุขภาพภาคตะวันออก (ศวรส.อ) ม.บูรพา. ชลบุรี. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ และคณะ. (2550). รายงานสถานการณ์มลพิษในเขตมาบตาพุดและศักยภาพในการป้องกันและแก้ไขปัญหา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์, ชูวงศ์ อุบาลี และอัศวิน แก้วพิทักษ์. (2563). ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก : แนวทางใหม่ของการพัฒนาอุตสาหกรรมทุนนิยมในประเทศไทย. วารสารพัฒนาสังคม. 22 (ตุลาคม) : 23-38.

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์, ชัยณรงค์ เครือนวน และจิตรา สมบัติรัตนานันท์, (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่องการใช้อำนาจรัฐในการจัดระบบที่ดินของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2560). วาทกรรมการพัฒนา : อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : วิภาษา.

ไทยพับลิก้า-กล้าพูดความจริง. 30 ปี โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด : การพัฒนาที่่ยั่งยืน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :

https://thaipublica.org/2012/11/30-years-eastern-seaboard-development/. 2555.

ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561). ราชกิจจานุเบกษา. ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก. (13 ตุลาคม) : 1- 74.

ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (25 กุมภาพันธ์ 2565). อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. สัมภาษณ์.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร และเบเคอร์, คริส. (2546). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ. เชียงใหม่ : ซิลค์เวอร์ม.

ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม. (12 เมษายน 2565). ผู้แทนภาครัฐ. สัมภาษณ์.

พอพันธ์ อุยยานนท์. (2564). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจแห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2559). ความสมเหตุสมผลของความชอบธรรม (การครอบงำ). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สมมติ.

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร, (2563). การเดินทางของเสรีนิยมใหม่ใน 3 ทวีป. ใน ฟูโก้ต์กับเสรีนิยมใหม่. พิพัฒน์ พสุธารชาติ.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : อิลลูมิเนชันส์ เอดิชันส์. หน้า 115-145.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 20 (กรกฎาคม-สิงหาคม). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?%20nid=6294. 2526.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.. แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560-2564). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก

: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6381. 2559.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.). ความเป็นมาของ อีอีซี. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก : https://www.eeco.or.th/th/government-initiative. 2564.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.). . อุตสาหกรรมเป้าหมาย. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www.eeco.or.th/th/business-opportunities. 2564

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.). แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2560-2565). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www.eeco.or.th/th/filedownload/1478/cf4092afd2456bb1f03995574db27a75.pdf.2561.

อภิชัย พันธเสน และคณะ. (2560). โครงการ การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย และการสังเคราะห์ความรู้จากชุดโครงการพื้นที่โครงการระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก และระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ ในมิติการเมือง กฎหมาย สังคม เศรษฐกิจ ระยะที่ 2 : การเคลื่อนย้ายมนุษย์. เล่มที่ 1 การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย.

ฮาร์วี่, เดวิด. (2555). ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่. (แปลจาก A Brief History of Neoliberalism โดย เก่งกิจ กิติเรียงลาภ และคณะ). กรุงเทพมหานคร : สวนเงินมีนา.

C.P. Group. รฟท. จับมือ CP เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ เซ็นสัญญาเดินหน้ารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน.(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www.cpgroupglobal.com/th/News/nDetail/articleid/173. 2562.

iLaw. มาตรา 44 ครบ 200 ฉบับ ใช้ทุกประเด็นปัญหาแบบตามใจชอบ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :https://ilaw.or.th/node/5041#:~:text. 2561.