ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการ โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ตามแนวคิดทักษะการคิดขั้นสูง

Main Article Content

อัชปาณี ชนะผล
สุกัญญา แช่มช้อย

บทคัดย่อ

                   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ตามแนวคิดทักษะการคิดขั้นสูง  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนของโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จำนวน 173 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นด้วยวิธี Modified Priority Needs Index


                   ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ตามแนวคิดทักษะการคิดขั้นสูงในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ตามแนวคิดทักษะการคิดขั้นสูงในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการสูงสุด คือ ด้านการประเมินผล รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาหลักสูตร ตามลำดับ ทั้งนี้ โรงเรียนสามารถนำผลการวิจัยมาใช้ในการวางแผนการบริหารวิชาการ เพื่อพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของผู้เรียนได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กัลย์วิสาข์ ธาราวร. (2559). การประเมินความต้องการจำเป็นของครูเพื่อพัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 11(3), 374-389

กัญญารัตน์ โคจร, กันยารัตน์ สอนสุภาพ, และสมทรง สิทธิ. (2563). การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาด้านการคิดขั้นสูงของนักเรียนโรงเรียนวัดแจ่มอารมณ์. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 26(1), 67-84

จตุพล อธิคม. (2543). การประเมินหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (พลศึกษา). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา: กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

จิรชพรรณ ชาญช่าง. (2561). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง: การเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง. Journal of Education Studies, 2563, 79

เจนเนตร ประเสริฐวิทย์. (2560). แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการตามแนวคิดการส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหาร การศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐกิตติ์ นาทา. (2558). กลยุทธ์การสอนภาษาไทยในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(1), 57-69

ทิศนา แขมมณื และคณะ. (2544). วิทยาด้านการคิด. เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริม กรุงเทพมหานคร.

ปองสิน วิเศษศิริ. (2555). เอกสารประกอบการสอนวิชา 2747732 การบริหารงานวิชาการกับ การประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (อัดสำเนา).

ปิยะพงค์ โชติพันธุ์. (2556) การสอนเพื่อพัฒนาการคิดขั้นสูง. จุลสารวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 6(1), 8-9

ประพรรธน์ พละชีวะ, อังคนา กรัณยาธิกุล, ดนุชา สลีวงศ์, และเลอลักษณ์ โอทกานนท์. (2560). วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(3), 246-258

พรประภา แสงสินเจริญชัย. (2542). การประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการเงิน (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช 2536 ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรต ประสานมิตร.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2550). การจัดและการบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

วัศพล โอมพรนุวัฒน์. (2562). แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ ตามแนวคิดความฉลาดรู้เรื่องดิจิทัลและอนุบาลตลอดชีวิต. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหาร การศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาน อัศวภูมิ. (2551). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่: แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซท.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พอยท์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุจิตรา ศิริการุณย์. (2557). การประเมินหลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี โดยใช้แนวคิด BALANCED SCORECARD (BSC). วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เข้าใจสมรรถนะอย่างง่ายๆฉบับประชาชน และเข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างง่ายๆ ฉบับครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

สุกัญญา แช่มช้อย. (2565) การบริหารวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคพลิกผัน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุพงษ์ คล้องการ. (2563). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียน. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา. 3(2), 42-60

อำนาจ โสภากุล (2564). การพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมการคิดสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Chanchang, J. (2020). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง: การเรียนรู้สู่การปฏิบัติ จริง. Journal of Education Studies, 48(3), 78-89.

Abdullah, A. H., Abidin, N. L. Z., & Ali, M. (2015). Analysis of students' errors in solving Higher Order Thinking Skills (HOTS) problems for the topic of fraction. Asian Social Science, 11(21), 133.

Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching and Assessing: A Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives: Complete Edition. New York: Longman.

De Bono, Edward. (1982). Lateral Thinking : A Text book of Creativity. Harondswort : Penquin Book.

Dewey, John.(1950). How we Think. Lexington D.C.: Heath and Company.

Ennis, R .H. (1985). A logical basis for measuring critical thinking skill. Educational Leadership, 43(2), 44-48.

Gagne Robert M. (1970). The Cognitive of learning. New York : Holt Rinehart and Winston.

Guilford and Hoepfner, R. (1971). The Analysis of Intelligence. New York : McGraw-Hill Book Company.

Harkins, A. M. (2008). Leapfrog principles and practices: Core components of education 3.0 and 4.0. Futures Research Quarterly, 24(1), 19-31.

Krulik, Stephen; Rudnick, Jesse A. (1989). Problem Solving: A Handbook for Senior High

SchoolTeacher, 24.

Lefrancois, G.R. (1988). Psychology for Teaching. California: Woods Worth Publishing Company.

Conklin, W. (2013). Higher-Order Thinking Skills. CA: Shell Educational Publishing, Inc.