การประเมินมูลค่าสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นจากการแก้ปัญหาสุนัขจรจัด ในเขตเทศบาลเมืองท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาสุนัขจรจัดเป็นปัญหาหนึ่ง ที่พบเห็นได้ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนในสังคม ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สาธารณสุข เศรษฐกิจ และตัวสุนัขจรจัดเอง เทศบาลเมืองท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี ต้องพบกับปัญหาสุนัขจรจัดเช่นเดียวกัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการจัดการปัญหาสุนัขจรจัด 2) ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองท่าช้างที่มีต่อการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัด และ 3) ประเมินมูลค่าสวัสดิการที่เพิ่มขึ้น จากการแก้ปัญหาสุนัขจรจัด ในเขตเทศบาลเมืองท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์หน่วยงานในเทศบาลเมืองท่าช้าง และการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 420 ตัวอย่าง
ผลการศึกษาสามารถจำแนกรูปแบบการจัดการปัญหาสุนัขจรจัดได้ 3 ประเภท ได้แก่ รูปแบบการใช้มาตรการทางรายได้สาธารณะ รูปแบบสุนัขชุมชน และ รูปแบบสถานพักพิงสุนัขจรจัด จากการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า การที่เจ้าของสุนัขไม่มีความรับผิดชอบเป็นสาเหตุของการเกิดสุนัขจรจัด ผลกระทบจากสุนัขจรจัดเป็นผลกระทบทางด้านสาธารณสุขในระดับมาก มีความพึงพอใจในการจัดการปัญหาสุนัขจรจัดของเทศบาลเมืองท่าช้างในระดับปานกลาง มีความต้องการให้แก้ปัญหาโดยการทำหมันสุนัขจรจัด จัดสร้างสถานพักพิงสุนัขจรจัด และฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตามลำดับ และจากการประเมินมูลค่าสวัสดิการสังคมที่เพิ่มขึ้นจากการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัด โดยใช้เทคนิคการประเมินค่าโดยใช้ตลาดสมมติ พบว่า ค่าเฉลี่ยของค่าความเต็มใจที่จะจ่ายมีค่าเท่ากับ 133.620 บาท/ครั้ง/คน คิดเป็นมูลค่าสวัสดิการสังคมที่เพิ่มขึ้น จากการแก้ปัญหาสุนัขจรจัดในเขตเทศบาลเมืองท่าช้างเท่ากับ 1,761,111.60 บาท
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมปศุสัตว์. แผนที่แสดงจำนวนสุนัขและแมว (ปี 2562รอบที่ 1) สำรวจโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://164.115.40.46/PetRegister. 2563.
กรมปศุสัตว์. ข่าวชี้แจงประเด็นสำคัญ. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://dld.go.th/th/index.php/th/newsflash/341-news-hotissue/23503-hotissue-25640303-1. 2564.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2562). คู่มือแนวทางการบริหารจัดการสถานสงเคราะห์สัตว์. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
กิตติ์พงศ์ สัญชาตวิรุฬห์. สถานการณ์โรคที่สำคัญในเขตสุขภาพที่ 9. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://164.115.22.73/r9health/wp-content/uploads/2020/02/ 5.4.12สถานการณ์โรคที่สำคัญในเขตสุขภาพที่-9_20-ก.พ.-63.pdf. 2563.
คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. โครงการ (ห)มา ซีเอ็มยู. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://macmu.vet.cmu.ac.th/aboutus. 2564
จิรัฐิติกาล ขุนแขวง. (2557). การจัดการสุนัขจรจัดของกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
นันทรัตน์ ตั้งวิฑูรธรรม, วรรณสินท์ สัตนานุวัตร, พรรณิภา อนุรักษากรกุล, และสิทธิพัทธ์ เลิศศรีชัยนนท์. (2561). การประเมินมูลค่าสินค้าสาธารณะของศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติโดยวิธี CVM. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 26(กันยายน - ธันวาคม): 188 – 215.
เบญจมาศ สุนนทะนาม และหัชชากร วงศ์สายัณฑ์. (2561). นโยบายเรื่องสุนัขจรจัดของกรุงเทพมหานคร ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกรุงเทพมหานครกับเมืองชิคาโก. ใน การนำเสนอโครงการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1 วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. หน้า 539-553.
เพ็ญพร เจนการกิจ. (2542). คำบรรยายรายวิชาเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรการเกษตรขั้นสูง. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (อัดสำเนา)
มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์, ศราวุธ ทองเนื้อห้า, สินีนาท โชคดำเกิง, และสมศรี ผิวดี. (2562). ความเต็มใจจะจ่ายในการกำจัดขยะพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 11(กันยายน - ธันวาคม): 528 – 539.
ยศนันท์ ปรนาภรณ์ และวัชรชัย จิรจินดากุล. (2562). มาตรการทางกฎหมายในการจัดการปัญหาสุนัขจรจัดในประเทศไทย ศึกษากรณีบทบาทของผู้ประกอบกิจการเพื่อจำหน่ายสุนัข. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศรัณยู ภักดีวงษ์. (2560). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการแก้ปัญหาสุนัขจรจัด กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2543). “การศึกษาพัฒนาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม” เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
สมปอง เจริญสุข. (2556). มาตรการในการจัดการสุนัขจรจัดในเขตเทศบาลตำบลบางเสร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพาสุนัขบ้า. (2562, กรกฎาคม 3). แนวหน้า. [online]. .เข้าถึงได้จาก : https://www.naewna.com/channel/423868?fb_comment_id=2274535192664333_2287156474735538. 2563.
สุทธาวรรณ บุญวงศ์. (2561). มาตรการทางรายได้สาธารณะในการจัดการปัญหาสุนัขจรจัดในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุนิดา พิริยะภาดา และอุดมศักดิ์ ศีลประชาวงศ์. (2561). มูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายของนักท่องเที่ยวเพื่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ: กรณีศึกษาเกาะล้าน จังหวัดชลบุรี. พัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์. 12(กรกฎาคม): 80-102.
โสมสกาว เพชรานนท์. (2562). ความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายผู้สูงอายุเพื่อสนับสนุนโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 57. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หน้า 99-108.
เหมียวขี้ส่อง. “โครงการสุนัขชุมชน ตลาดแม่กลอง” จัดระเบียบสุนัขจรจัดโดยใส่ปลอกคอสีบอกนิสัย. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://animal.catdumb.com/dogmaeklong-777. 2564
อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และคณะ. (2543). คู่มือการศึกษาพัฒนาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร.
อภิโชค เลขะกุล. (2551). การศึกษามูลค่าทางกายภาพของสภาพแวดล้อมเมืองโดยใช้ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม ความชื่นชอบ และความเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพื่อกานรพัฒนาสภาพแวดล้อมเมืองเก่าเชียงใหม่. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อำนาจ เจริญศิลป์. (2543). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม =Management of natural resources and environment. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
อุษา เจริญผล. (2564, กันยายน 29). นักบริหารงานสาธารณสุข, เทศบาลเมืองท่าช้าง. สัมภาษณ์.
Kaosa-ard, M. et. al. (1995). Green Finance: A Case of Khao Yai. National Resources and Environment Program: The Thailand Development Research Institute. อ้างถึงใน อภิโชค เลขะกุล. (2551). การศึกษามูลค่าทางกายภาพของสภาพแวดล้อมเมืองโดยใช้ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม ความชื่นชอบ และความเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพื่อกานรพัฒนาสภาพแวดล้อมเมืองเก่าเชียงใหม่. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Pearce, D., D. Moran and E. Fripp. (1992). The Economic Value of Biological and Cultural Diversity. A Report to the World Conservation Union, Centre for Social and Economic Research on the Global Environment.
Sukharomana, R. (1998). Willingness to Pay for Water Quality Improvement: Differences Between Contingent Valuation and Averting Expenditure Method. Nebraska: Unpublished Ph.D. Dissertation, University of Nebraska. อ้างถึงใน สิทธินันท์ วิวัฒนาพรชัย. (2544). การประเมินมูลค่าจากการมิได้ใช้ของทรัพยากรสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธ์: กรณีศึกษา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.