มาตรการทางกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายตามความนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา : ศึกษาเฉพาะกรณีเด็กถูกกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์เป็นเหตุให้ฆ่าตัวตาย

Main Article Content

ชมชนก โพธิ์เงิน

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา กฎหมายไทย และกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ 2) เพื่อวิเคราะห์ร่างบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์ที่จะแทรกลงในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309/3 กรณีการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ และ      3) เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขข้อกฎหมายให้เกิดความเหมาะสมกับการคุ้มครองผู้เสียหายจากกรณีเด็กถูกการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์จนเป็นเหตุให้ฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์


              ผลการวิจัยพบว่า การกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์มีลักษณะเป็นการกระทำซ้ำ ๆ ส่งผลให้ผู้ถูกกระทำได้รับผลกระทบต่ออารมณ์ และจิตใจ จนอาจเป็นเหตุให้เด็กฆ่าตัวตาย สำหรับประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองในกรณีดังกล่าว ต้องใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งไม่ทันสมัย และไม่ครอบคลุมกรณีการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ ต่อมาได้มีการยกร่างบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์ที่จะแทรกลงในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309/3 กรณีการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์เป็นการเฉพาะ แนวทางที่จะคุ้มครองผู้เสียหายได้อย่างแท้จริง จะต้องแก้ไขบทนิยาม ความว่า “ผู้ใดกระทำด้วยประการใด...” เพื่อให้ร่างมีความสมบูรณ์ ในกรณีที่มีการกลั่นแกล้งเพียงครั้งเดียวเป็นเหตุให้เด็กถึงแก่ความตาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองกฎหมายต่างประเทศ. (2564). มาตรการในการต่อต้านและการคุ้มครองบุคคลจากการถูกกลั่นแกล้งในสังคม. รายงานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา. (2564).ข้อเสนอเชิงนโนบายเพื่อผลักดันกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์. รายงานการพิจารณาศึกษา. สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

คณาธิป ทองรวีวงศ์. (2558). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิบุคคลจากการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตาย : ศึกษากรณีกฎหมายความปลอดภัยไซเบอร์. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ (E-Proceedings). กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. หน้า 6-7.

ดวงเด่น นาคสีหราช. (2562). ทัศนคติและปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการกลั่นแกล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย: ศึกษากรณีนิสิตในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารนิติสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 12 (มกราคม-มิถุนายน 2562): 140-141.

มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย. (2563). แนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2563 ศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์. เอกสารประกอบการเสวนาประชาพิจารณ์

วชิระพันธ์ ทองสินธุ์ และคณะ. (2563). มาตรการป้องกันพฤติกรรมการรังแกในโรงรียนของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www2.huso.tsu.ac.th/NCOM/bill_202011385648.pdf 2565.

Crouch v. Snell. 2015 NSSC 340 (CanLII). [online]. Available : http://canlii.ca/t/gmhjl Accessed on 2020.

Keith D. Rose. (2020). Updated: Nova Scotia Passes New Cyber-bullying Legislation. [online]. Available : https://www.mccarthy.ca/en/insights/blogs/snipits/updated-nova-scotia-passes-new-cyber-bullying-legislation Accessed on 2020.

Kow Keng Siong. (2009). Sentencing Principles in Singapore. Singapore: Academy of Law.p. 272.

Michel Tutton. (2018). New cyberbullying law can force removal of intimate images online. [online]. Available : http://www.cbc.ca/news/canada/nova-scotia/nova-scotia-new-cyberbullying-law-investigators-1.4736021 Accessed on 2020

Paula Newton CNN. Canadian teen commits suicide after alleged rape, bullying). [online]. Available

: https://edition.cnn.com/2013/04/10/justice/canada-teen-suicide/index.html Accessed on 2020

See Jamshid Beheshti and Andrew Large. (2013). The information behavior of a new generation:

Children and teens in the 21st century. United Kingdom: Scarecrow Press,Inc. p.4.

Shaheen, Shariff and Dianne L. Hoff. (2015). Cyber Bullying, Legal Obligations and Educational Policy Vacuum. p.359-360.