การสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษีของการพัฒนาอุตสาหกรรม: กรณีศึกษา ภาษีเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในการลงทุนของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความไม่เป็นธรรม และแนวทางการสร้างความเป็นธรรมของระบบภาษีเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในการลงทุนของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก วิธีการวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย ด้วยการ สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในปัจจุบัน ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ข้อค้นพบจากการวิจัยพบว่า สิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนของการพัฒนาอุตสาหกรรม ในโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ที่อยู่ในเขตโครงการที่ได้รับสิทธิประโยชน์มากกว่าผู้ที่อยู่นอกเขตโครงการ 2 ประเด็นใหญ่ ได้แก่ สิทธิประโยชน์ทางภาษี และสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี ส่วนแนวทางการสร้างความเป็นธรรมเกี่ยวกับภาษี[และสิทธิประโยชน์ในการลงทุนของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกพบว่า ควรมีการปฏิรูประบบภาษี ระบบการส่งเสริมการลงทุน การปรับปรุงกฎเกณฑ์ของการให้สิทธิประโยชน์ การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและตรวจสอบความเป็นไปทาง การเมือง การสร้างกลไกและระบบประเมินผลการให้สิทธิประโยชน์ การปรับปรุงตัวชี้วัดผลสำเร็จของการส่งเสริม การลงทุน การทบทวนรวมถึงการศึกษาเทียบเคียงนโยบายกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนควรมีการจัดตั้งหน่วยงานจัดเก็บภาษีกึ่งอิสระ เพื่อทำให้การบริหารการจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีอิสระ โปร่งใส เป็นกลางและ เป็นธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). การศึกษาความเหมาะสมโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ เขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด. ม.ป.ท.
กิตติพงษ์ โคตรจันทึก พระศิวกร ปัญญาวุฑโฒ และพระสมุห์บัว ทีปธัมโม. (2563). เศรษฐศาสตร์การเมืองอาเซียน: ความสัมพันธ์ระหว่างประชาคมอาเซียนแบบพึ่งพา. วารสาร มจร.สังคมศาสตร์ปริทรรศ์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (เดือนเมษายน – มิถุนายน) 2563: 288-303: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
จารุพัสตร์ พลทรัพย์.(2563). มาตรการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC). วารสารการเงิน การคลัง. [online]. เข้าถึงได้จาก http://www.fpojournal.com/eec-tax-incentive-summary/. 25 เมษยน 2563.
บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน). (2562). สิทธิประโยชน์โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC). [online]. เข้าถึงได้จาก https://www.tfd- factory.com/th/privilege/eastern- economic-corridor-eec. 30 พฤษภาคม 2564.
ปัณณ์ อนันอภิบุตร (2555). การปฏิรูประบบภาษีเพื่อสังคมไทยเสมอหน้า ; สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง :กระทรวงการคลัง.
ภาวิน ศิริประภานุกูล (2555). ระบบภาษีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ; ชุดหนังสือการสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูป ประเทศไทย; สำนักงานปฏิรูป (สปร.).
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2562). รายงานผลการพัฒนาประเทศในรอบ 5 ปี. [online].เข้าถึงได้จาก : https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=8639 &filename=index. 30 พฤษภาคม 2564.
V-Report (2555). V-Reformer เครือข่ายวิชาการเพื่อการปฏิรูป. รายงานสิทธิ BOI และการเอื้อประโยชน์กลุ่มทุนใหญ่. [online]. เข้าถึงได้จาก http://v-reform.org/v-report/boi_tax/. 6 พฤษภาคม 2563.