รูปแบบบูรณาการศาสตร์เพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ธวัช วิเชียรประภา
วรรณี เดียวอิศเรศ
ชัยยนต์ ประดิษฐ์ศิลป์

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทปัญหาโรคไตเรื้อรังในเขตจังหวัดจันทบุรีและเพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการศาสตร์เพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยไตเรื้อรังจังหวัดจันทบุรี โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยสหวิทยาการแบบข้ามพ้นสาขา กลุ่มตัวอย่างคือ เวชระเบียนผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจำนวน 6,664 เวชระเบียน ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจำนวน 10 คน ผู้เชี่ยวชาญโรคไตจำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญการแพทย์แผนไทยจำนวน 3 คนและผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการมีส่วนร่วมจำนวน 3 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง แบบสัมภาษณ์ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญการแพทย์แผนไทยและแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการมีส่วนร่วม ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรนาและการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในเขตจังหวัดจันทบุรีส่วนใหญ่อายุอยู่ในช่วง 70-79 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.93 โดยผู้ป่วยไตเรื้อรังมีอายุเฉลี่ย 71.58 ปี เมื่อจำแนกระยะการดำเนินไปของโรคพบว่า ผู้ป่วยไตเรื้อรังอยู่ในระยะที่ 3A ร้อยละ 36.74 อยู่ในระยะ 3B,4 และ 5 ร้อยละ 34.69, 23.54 และ 5.03 ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามสถานบริการพบว่าส่วนใหญ่รับบริการที่โรงพยาบาลพระปกเกล้าคิดเป็นร้อยละ 38.30 โดยผู้ป่วยสามารถชะลอไตเสื่อมได้ร้อยละ 55.29 สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ร้อยละ 54.95 ความเข้มข้นของเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติคิดเป็นร้อยละ 22.3 การดำเนินงานชะลอไตเสื่อมในจังหวัดจันทบุรีมีทั้งสิ้น 12 หน่วยบริการ รูปแบบบูรณาการศาสตร์เพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยไตเรื้อรังจังหวัดจันทบุรีที่เหมาะสมประกอบด้วย 1) การแพทย์แผนปัจจุบัน ประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพ คลินิกชะลอไตเสื่อมที่มีประสิทธิภาพและทีมรักษ์ไต 2) การแพทย์วิถีพุทธ ประกอบด้วย วิธีหลัก วิธีรองและวิธีเสริม 3) กระบวนการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมด้านการวางแผน การมีส่วนร่วมด้านการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมด้านการประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยารัตน์ รอดแก้ว. (2561). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองร่วมกับคู่หูดูแลกันต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน น้ำหนักและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีน้ำหนักเกิน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 11(2) 13-28.

ใจเพชร กล้าจน. (2553). ความเจ็บป่วยกับการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักแพทย์ทางเลือกวิถีพุทธ ของศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สวนป่านาบุญ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

อุบลราชธานี.

ประเสริฐ ธนกิจจารุ, สกานต์ บุนนาคและวรางคณา พิชัยวงศ์. (2554). โรคไตเรื้อรัง. การแพทย์ไทย 2554 – 2557. โรงพยาบาลราชวิถี

ประเสริฐ ธนกิจจารุ. (2558). สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. วารสารกรมการแพทย์. ฉบับประจำเดือนกันยายน – ตุลาคม 2558.

ปริตรา มั่นเหมาะและธนัญญา วสุศรี. (2562). การจำลองสถานการณ์เพื่อลดระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 15(2) 51-62

มณีรัตน์ จิรัปปภา. (2557). การชะลอไตเสื่อมจากวัยผู้ใหญ่ถึงวัยผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 20(2) 5 - 16

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2558). คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558.

สุวิมล มณีโชติ. (2559). การดูแลสุขภาพตนตามหลักการแพทย์วิถีธรรม: กรณีศึกษาผู้ใหญ่วัยกลางคน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 36(2) 202-214.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี. (2563). Health Data Center v.4.0. [online].เข้าถึงได้จาก : https://cti.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php 2563.

ศิริลักษณ์ ถุงทอง. (2560). การชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารพยาบาลทหารบก 18(พิเศษ) 17-24.

United States Renal Data System. 2020. Annual Data Report. Chronic Kidney Disease. CKD in the

Generation Population