ผลการฝึกพลัยโอเมตริกด้วยการกระโดดยางที่ส่งผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และสมรรถภาพทางกายของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในจังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของการฝึกพลัยโอเมตริกด้วยการกระโดดยางที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนล่าง (กล้ามเนื้อขา) และสมรรถภาพทางกายของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในจังหวัดจันทบุรี ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครนักเรียนเพศชายและเพศหญิงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 78 คน อายุระหว่าง 10-12 ปี ที่เข้าร่วมการฝึกพลัยโอเมตริกด้วยการกระโดดยางที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเวลา 4 สัปดาห์ เก็บข้อมูลก่อนการฝึก กับหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 1 หลังฝึกสัปดาห์ที่ 2 หลังฝึกสัปดาห์ที่ 3 และหลังฝึกสัปดาห์ที่ 4 ทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนล่าง (กล้ามเนื้อขา) ด้วยเครื่องมือวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา (Black and Leg Dynamometer) เปรียบเทียบความแตกต่าของค่าเฉลี่ยผลการทดสอบก่อนการฝึกกับหลังการฝึกตามช่วงเวลาจำแนกตามเพศ เปรียบเทียบ ความแตกต่างค่าเฉลี่ยผลการทดสอบก่อนหลังการฝึกตามช่วงเวลา ด้วยสถิติวัดความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (one-way repeated-measures ANOVA) จำแนกตามเพศ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนล่าง (กล้ามเนื้อขา) หลังการฝึกที่ส่งผลต่อรายการทดสอบสมรรถภาพทางกาย จำนวน 4 รายการ ได้แก่ รายการนั่งงอตัวไปข้างหน้า รายการดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที รายการทดสอบลุกนั่ง 60 วินาที และยืนยกเข้าขึ้นลง 3 นาที เทียบผล การทดสอบกับเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับประถมศึกษา (อายุ 7-12 ปี) ของสำนักงานวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2562 จำแนกตามอายุ
ผลการศึกษาพบว่า
- ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนล่าง (กล้ามเนื้อขา) ทั้งเพศชายและเพศหญิงสูงขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการฝึกเพศชายมีค่าเฉลี่ย 1.71 กิโลกรัม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64 หลังการฝึกสัปดาห์ 1, 2, 3 และ 4 มีค่าเฉลี่ย 1.89, 2.02, 2.06, 2.12 กิโลกรัม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.62, 0.63, 0.64, 0.64 ตามลำดับ เพศหญิงมีค่าเฉลี่ย 1.12 กิโลกรัม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.42 หลังการฝึกสัปดาห์ 1, 2, 3 และ 4 มีค่าเฉลี่ย 1.33, 1.47, 1.52, 1.45 กิโลกรัม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.41, 0.46, 0.47, 0.47 ตามลำดับ
- เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนล่าง (กล้ามเนื้อขา) ตามช่วงเวลาด้วยสถิติวัดความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ พบว่าเพศชายมีความแตกต่างของผลการฝึกตามช่วงเวลาระหว่างก่อนการฝึกกับหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 1, 2, 3 และ 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพศหญิงมีความแตกต่างของผลการฝึกตามช่วงเวลาระหว่างก่อนการฝึกกับหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 1, 2, 3 และ 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนล่าง (กล้ามเนื้อขา) กับผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายโดยรวม จำนวน 4 รายการ ทั้งเพศชายและเพศหญิงความแข็งแรงในระดับปานกลางและระดับต่ำ พบว่า ผลการทดสอบมีความสัมพันธ์กับการทดสอบลุกนั่ง 60 วินาที มากที่สุด (มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.30 Sig. ที่ระดับ .05 เป็นความสัมพันธ์ระดับปานกลาง) รองลงมา คือ การทดสอบยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที (มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.27 Sig. ที่ระดับ .05 เป็นความสัมพันธ์ในระดับต่ำ) (ทรงศักดิ์ ภูศรีอ่อน, 2556 : 130) การทดสอบดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที และการทดสอบนั่งงอตัวไปข้างหน้าไม่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนล่าง (กล้ามเนื้อขา)
- ผลการทดสอบสมรรถภาพทาง จำนวน 4 รายการ หลังการฝึกเทียบเกณฑ์มาตรฐาน
เพศชาย อายุ 10 ปี ระดับดีมาก คือ รายการทดสอบลุกนั่ง 60 วินาที (ครั้ง) ( =38.64, S.D.= 9.48) ระดับดี คือ รายการทดสอบดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที (ครั้ง) ( = 24.54, S.D. = 4.63) รายการทดสอบยืนยกเข่า ขึ้นลง 3 นาที (ครั้ง) ( = 143.46, S.D. = 29.51) และระดับต่ำ คือ รายการนั่งงอตัวไปข้างหน้า (เซนติเมตร) ( = 6.99, S.D. = 5.60)
อายุ 11 ปี ระดับดี คือ รายการทดสอบยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที (ครั้ง) ( = 153.75, S.D.= 26.45) ระดับปานกลาง คือ รายการทดสอบดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที (ครั้ง) ( = 21.92, S.D.= 4.40) รายการทดสอบ ลุกนั่ง 60 วินาที (ครั้ง) ( = 29.08, S.D.= 4.88) ระดับต่ำ คือ รายการทดสอบนั่งงอตัวไปข้างหน้า (เซนติเมตร) ( = 7.46, S.D. = 5.22)
อายุ 12 ปี ระดับดี คือ รายการทดสอบยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที (ครั้ง) ( = 161.00, S.D. = 54.55) ระดับปานกลาง คือ รายการทดสอบดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที (ครั้ง) ( = 22.90, S.D. = 6.54) รายการทดสอบลุกนั่ง 60 วินาที (ครั้ง) ( = 30.36, S.D. = 6.68) และระดับต่ำ คือ รายการทดสอบนั่งงอตัวไปข้างหน้า (เซนติเมตร) ( = 6.53, S.D. = 4.73)
เพศหญิง อายุ 10 ปี ระดับดี คือ รายการทดสอบยืนยกเข่าขึ้นลง (ครั้ง) ( = 141.53, S.D. = 39.03) ระดับปานกลาง คือ รายการดันพื้นประยุกต์30 วินาที (ครั้ง) ( = 16.40, S.D. = 4.64) รายการทดสอบลุกนั่ง 60 วินาที (ครั้ง) ( = 24.40, S.D. = 3.62) และระดับต่ำ คือ รายการทดสอบนั่งงอตัวไปข้างหน้า (เซนติเมตร) ( = 5.74, S.D. = 8.21)
อายุ 11 ปี ระดับปานกลาง คือ รายการทดสอบลุกนั่ง 60 วินาที (ครั้ง) ( = 24.73, S.D. = 4.94) รายการทดสอบยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที (ครั้ง) ( = 134.47, S.D. = 31.74) ระดับต่ำ คือ รายการทดสอบดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที (ครั้ง) ( = 15.13, S.D. = 3.44) และรายการทดสอบนั่งงอตัวไปข้างหน้า ( = 5.82, S.D. = 4.94)
อายุ 12 ปี ระดับดี คือ รายการทดสอบลุกนั่ง 60 วินาที (ครั้ง) ( = 23.50, S.D. = 3.26) รายการทดสอบยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที (ครั้ง) ( = 141.17, S.D. =19.81) ระดับปานกลาง คือ รายการทดสอบดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที (ครั้ง) ( = 17.50, S.D. = 3.58) และระดับต่ำ คือ รายการทดสอบนั่งงอตัวไปข้างหน้า (เซนติเมตร) ( = 8.49, S.D. = 5.51)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2555). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2555-2559). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การค้าของ สกสค.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2555). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (2560-2564). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การค้าของ สกสค.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2555). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย สำหรับเด็กไทย อายุ 7-12 ปี. กรุงเทพมหานคร : กรมพลศึกษา สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย สำหรับเด็กไทย อายุ 7-12 ปี. กรุงเทพมหานคร : กรมพลศึกษา สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2552). การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ. กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวทิยาลัยเกษตรศาสตร์.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสินธนาก๊อปปี้.
จักรี อย่าเสียสัตย์. (2565). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกด้วยน้ำหนักที่มีผลต่อพลังของกล้ามเนื้อขาของนักกีฬาฟุตบอล. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. ปีที่ 28 หน้า 118.
ติยาพร ธรรมสนิท และคณะ. (2560). งานวิจัยเรื่องการศึกษาระดับสมรรถภาพทางกายของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในเขตจังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ทรงศักดิ์ ภูศรีอ่อน. (2556). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม. ตักสิลาการพิมพ์.
สนธยา สีละมาด. (2555). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมฤทัย พุ่มสลด และ ศศิมา พกุลลานนท์. (2558). ผลการของการฝึกแบบพลัยโอเมตริกระยะเวลา 4 สัปดาห์ที่ส่งผลต่อความเร็ว ความคล่องแคล่ว และพลังกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาบาสเกตบอลของมหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารเกษตรศาสตร์(สังคม). ปีที่ 36 หน้า 599-606.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2564-2565. กรุงเทพมหานคร:สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2575. กรุงเทพมหานคร :พริกหวานกราฟฟิค.
Taro Yamane. (1970). Statistic: an Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper & Row.