การวิเคราะห์องค์ประกอบของพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา

บทคัดย่อ

             การวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์องค์ประกอบของพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร” เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ วัยรุ่นชายและหญิง ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือค่าเฉลี่ย ร้อยละ การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis)


              ผลการวิจัย  พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นอายุ 19-21 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท สินค้าแฟชั่นที่ซื้อบ่อยที่สุดคือเสื้อผ้า ซื้อสินค้าแฟชั่นนานๆ ครั้ง จำนวนเงินที่ซื้อในแต่ละครั้งไม่เกิน 1,000 บาท ตัวเองเป็นผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อสินค้า และ รับข้อมูลข่าวสารสินค้าแฟชั่นจากโฆษณาทางสื่ออินเทอร์เน็ต ปัจจัยที่มีผลต่อตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นของวัยรุ่นทุกปัจจัยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสำคัญภาพรวมระดับมาก การวิเคราะห์องค์ประกอบของพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่น สามารถแบ่งกลุ่มพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร ดังนี้ 1. กลุ่มซื้อสินค้าตามผู้อื่น  2. กลุ่มซื้อสินค้าที่เหมาะสมกับตัวเอง  3. กลุ่มซื้อสินค้าตามคุณภาพ  4. กลุ่มซื้อสินค้าโดยให้ความสำคัญกับสถานที่ซื้อ 5. กลุ่มคิดก่อนซื้อสินค้า ดูรูปแบบ สีสัน ราคา  6. กลุ่มซื่อสัตย์ต่อตราสินค้า 7. กลุ่มซื้อสินค้าในโอกาสพิเศษ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลทิวา โซ่เงิน และ จิราพร ชมสวน. (2561). พฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเซนต์จอห์น. 21 (มกราคม-มิถุนายน): 115-131.

จิรารัตน์ วรตระกูลชัย. (2560). พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า กลยุทธ์แฟชั่นรวดเร็ว (Fast Fashion) ผ่านช่องทางค้าปลีก ในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มหาวิทยาลัยมหิดล.

จุติพร ราษฎรดี. (2563). การวิเคราะห์ปัจจัยการรับรู้ในสินค้าแฟชั่นระดับหรูตราต่างประเทศ : กรณีศึกษา ตราสินค้าบาเลนเซียก้า ของผู้บริโภคกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฑัชวงษ์ จุลสวัสดิ์. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของผลิตภัณฑ์แฟชั่นของกลุ่ม Gen Y เพศชายและเกย์. ดุษฎีนิพนธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

นวพร เพชรแก้ว. (2560). พฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับเงินในประเทศไทย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภิมภ์วิมล ปรมัตถ์วรโชติ และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค เจเนอเรชั่นแซด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 16 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562): 322-330.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2551). วิเคราะห์ข้อมูลวิจัย Step by Step SPSS 4. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด

วรงรอง ศรีศิริรุ่ง และคณะ. (2561). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและการบริการของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารช่อพะยอม. 29 (มิถุนายน-ตุลาคม 2561): 397-405.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2541). คู่มือวิจัย : วิจัยเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับจำนวนประชากร. [online]. เข้าถึงได้จาก http://www.dopa.go.th. 2563.

Wachira Thongsuk. เข้าใจ Gen Z อย่างอินไซท์ กำลังซื้อกลุ่มใหม่ เขย่าโลกออนไลน์ด้วยปลายนิ้ว!. [online]. เข้าถึงได้จาก https://talkatalka.com/blog/insight-gen-z/ 2565.