การพัฒนาคู่มือการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 2) สร้างและพัฒนาคู่มือการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 และ 3) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของคู่มือการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ การวิจัยมี 3 ขั้นตอนประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของคู่มือการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาคู่มือการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบ EDFR กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน และขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของคู่มือการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและหัวหน้างานวิชาการ โรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 จำนวน 56 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย เบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า 1) คู่มือการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหาจากแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลักดังนี้ (1) ภาวะผู้นำทางวิชาการ (2) ภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการในโรงเรียน (3) กระบวนการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ และ (4) การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ 2) ผลการพัฒนาคู่มือการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 พบว่า องค์ประกอบทุกองค์ประกอบ มีความเหมาะสมทุกตัวบ่งชี้ องค์ประกอบของคู่มือการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 มี 4 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย 23 องค์ประกอบย่อย 121 ตัวบ่งชี้ ผู้บริหารและหัวหน้างานวิชาการ มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและระดับมากที่สุด 3) ผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้างานวิชาการ พบว่า คู่มือการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 2 มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ระดับมากที่สุดทุกข้อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามลำดับพบว่า วัตถุประสงค์ชัดเจน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือการใช้ภาษาเหมาะสม และคู่มือการดำเนินการตามคู่มือการบริหารวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กมีประโยชน์ ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560).
กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). หลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. นครปฐม: สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.
คัมภีร์ สุดแท้. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม. 4 (พฤษภาคม-สิงหาคม): 127-136.
จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พอยท์.
ช่อรัตร์ดา เกสทอง. (2551). การนำเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กสำนักงานพื้นที่การศึกษา
อุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์. (2556). สภาพการบริหารจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ของสถานศึกษาขนาดเล็ก
สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัย
ราชภัฏภาคเหนือ. 5 (ฉบับพิเศษ): 19-36.
ทรงพล เจริญคำ. (2552). รูปแบบความเป็นเลิศโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2552). การวิจัยปฏิบัติการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี : ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.
ปรียาพร วงค์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พร้อมพิไล บัวสุวรรณ. (2554). อิทธิพลของภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและตัวแปรส่งผ่านที่มีผลต่อคุณภาพการเรียนรู้
ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระวิเชียร ศรีหาบุตร. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในสังคม
อนาคต. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รักสุชญา วราหะ. (2552). การนำเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อรับรองการประเมินคุณภาพภายนอกของ
สถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
รุ่งรัชดาพร เวหะชาติ. (2559). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: ภาควิชาการบริหารศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ลดาวัลย์ ค้าภา. (2559). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี Sustainable Development Goals และ แผนฯ 12 ของประเทศ.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.trf.or.th/component/attachments/download/3894.
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2557). การวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี.พรินท์ (1991) จำกัด.
ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2554). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม): 18-30.
สมกิต บุญยะโพธิ์. (2555). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สู่ความเป็นเลิศ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2549). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. (2563). แผนปฏิบัติราชการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาชุมพร เขต 2. ชุมพร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อ
ก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อมลรดา พุทธินันท์. (2561). รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
Hallinger, J.S. and Murphy, S.L. (1987). Work Stress and Social Support Reading. Massachusetts:
Addison-Wesley.
Hoy, Wayne K. and Cecil G, Miskel. (2001). Educational Administration : Theory Research and Practice.
(6th ed.). Boston: Mc Graw – Hill.