กระบวนทัศน์การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในยุคพลิกผัน

Main Article Content

สายใหม ภารประดับ

บทคัดย่อ

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบกระบวนทัศน์การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในยุคพลิกผัน ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบสอบถาม โดยมีผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 ท่าน ใช้เทคนิคการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญโดยเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด


            ผลการวิจัย พบว่า กระบวนทัศน์การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในยุคพลิกผัน ประกอบด้วย 4  ด้าน ได้แก่ 1) ด้านนโยบายและการวางแผน ประกอบด้วย การกำหนดนโยบายและวางแผนสนับสนุนงบประมาณ การสร้างเป้าหมายร่วมกันและความเข้าใจการดำเนินงานทางวิชาการทั้งสถานการณ์ปกติและฉุกเฉิน สร้างศูนย์กลางประสานงานและเพิ่มช่องทางในการสื่อสารให้คำปรึกษาด้านการศึกษา พัฒนารูปแบบ ระบบงาน ฐานข้อมูล ระบบสารสนเทศ หรือนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย และเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการจากภายในสถานศึกษาสู่ชุมชน 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย การพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบและวิธีการการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะ พัฒนาพหุปัญญา สร้างประสบการณ์ การบ่มเพาะนิสัยและคุณธรรม ปรับเปลี่ยนบทบาทวิธีการจัดการเรียนรู้ การบริหารชั้นเรียนที่หลากหลายและสามารถจัดได้ตามสถานการณ์ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนและมีอิสระในการแสวงหาการเรียนรู้ใหม่ ๆ ด้วยตนเอง 3) ด้านการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร ประกอบด้วย การพัฒนาความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน การถ่ายทอดองค์ความรู้แบบใหม่ กระบวนการวิจัย การออกแบบสื่อหรือนวัตกรรม สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และเครือข่ายอาสาสมัครร่วมพัฒนาทักษะของผู้เรียน พัฒนาทักษะใหม่ที่แตกต่างจากเดิมเพื่อสร้างผลลัพธ์ในบริบทงานที่เปลี่ยนไป เป็นผู้รอบรู้ มองการณ์ไกล และขับเคลื่อนงานวิชาการแบบใหม่ต่อการจัดการศึกษาในยุคพลิกผัน 4) ด้านการกำกับ ติดตามและประเมินผล ประกอบด้วย สถานศึกษามีการวัดและการประเมินผลที่สะท้อนความสำเร็จของผู้เรียนทั้งทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ มีการออกแบบการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ได้มาตรฐาน หลากหลาย และยืดหยุ่นตามสถานการณ์ สถานศึกษามีการดำเนินงานเชิงรุก รวมถึงมีช่องทางรับฟังข้อเสนอแนะหรือผลสะท้อนกลับต่อการจัดการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นพดล เจนอักษร, มัทนา วังถนอมศักดิ์ และนุชนรา รัตนศิระประภา. (2564). กระบวนทัศน์การบริหารการศึกษาในยุคพลิกผัน. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์. 5 (กรกฎาคม- ธันวาคม): 51.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580). [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.krusmart.com/teaching-national- strategy/. 2563.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลล์ แล็บ. อนาคตของการใช้ชีวิต. [online]. เข้าถึง ได้จาก : http://online.anyflip.com/fuvvc/wnaq/mobile/index.html. 2564.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลล์ แล็บ. อนาคตของการเรียนรู้. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://online.anyflip.com/fuvvc/utuw/mobile/index.html. 2564.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. การปฏิวัติเทคโนโลยี: ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์สูงสุดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี, [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nstda.or.th/sci2pub/ai-ethics/. 2563.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการวิจัยการพัฒนากระบวนทัศน์ รูปแบบ และกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟิก.

อัมพร พินะสา. สพฐ.วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.obec.go.th/archives/320316. 2563.

Valliamah Shoma Vally G. and Khadijah Daudi. (2014). The Implementation of School Based Management Policy: An Exploration. Doctoral dissertation University of Technology Malaysia.

Thomas S. Kuhn. (1970). The Structure of Scientific Revolutions. 2nd ed. Chicago: University of Chicago Press.