การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Main Article Content

เจนวิทย์ วารีบ่อ
ธีรพงษ์ จันเปรียง
อติราช เกิดทอง

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวในมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 221 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดการปรับตัวในมหาวิทยาลัย แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบวัดการรับรู้ความสามารถด้านวิชาการของตน แบบวัดความผูกพันที่มั่นคงกับครอบครัว แบบวัดเจตคติต่อการสอนและการเรียนรู้ และแบบวัดการแยกตัวเป็นอิสระ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง


              ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่นำมาศึกษากับการปรับตัวในมหาวิทยาลัย มีค่าอยู่ในช่วง 0.404-0.769 ซึ่งทุกค่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พบว่า ทุกปัจจัยส่งอิทธิพลโดยรวมต่อการปรับตัวในมหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งส่วนใหญ่มีอิทธิพลในทิศทางบวก ยกเว้นการแยกตัวเป็นอิสระที่มีอิทธิพลในทิศทางลบ โดยปัจจัยที่ส่งอิทธิพลมากที่สุด คือ เจตคติต่อการสอนและการเรียนรู้ รองลงมา คือ การเห็นคุณค่าในตนเอง ซึ่งมีขนาดอิทธิพล เท่ากับ 0.625 และ 0.413 ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 5 ปัจจัยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนการปรับตัวในมหาวิทยาลัย (CA) ได้ร้อยละ 71.30

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจนวิทย์ วารีบ่อ. (2562). ปรากฏการณ์การลาออกกลางคันและการคงอยู่ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย

บูรพา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิจัย วัดผล และสถิติการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

นุจิรา สารถ้อย. (2547). กิจกรรมกลุ่สัมพันธ์เพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของเยาวชนที่มาจากครอบครัว

เกษตรกรบ้านร่องเผียว จังหวัดเชียงราย. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รังสรรค์ โฉมยา. (2553). จิตวิทยา : พื้นฐานในการทำความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม:

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. แนะแนวการศึกษาและชีวิต (องค์ประกอบก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพ).

[online]. เข้าถึงได้จาก : http://guidance.obec.go.th/?p=1033. 2555.

Aspelmeier. J. E., Love, M. M., McGill, L. A., Elliott, A. N. & Pierce, T. W. (2012). Self-Esteem, Locus of

Control, College Adjustment, and GPA Among First and Continuing-Generation Students:

A Moderator Model of Generational Status. Res High Educ. 53: 755–781.

Bean, J. P., & Eaton, S. B. (2000). A psychological model of student retention. Nashville, TN:

Vanderbilt University Press.

Flanders, G. R. (2013). The effect of course completion within selected major on persistence for

freshman college student. Doctor dissertation, Business Administration, University of Phoenix.

Floyd, N. D. (2012). Validity evidence for the use of Holland vocational personality types in

college student populations. Doctoral dissertation, Educational Psychology/Research,

University of South Carolina.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis. Upper Saddle

River, NJ: Prentice Hall.

Holland, J. L. (1997). Making vocational choices: A theory of vocational personalities and work

environments (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Mashburn, A. J. (2000). A psychological process of student dropout. Journal of College Student

Retention. 2(3): 173-190.

Mattanah, J. F., Brand, B. L. & Hancock, G. R. (2004). Parental Attachment, Separation-Individuation,

and College Student Adjustment: A Structural Equation Analysis of Mediational Effects. Journal

of Counseling Psychology. 51(2): 213-225.

Radecke, W. B. (2021). Instagram self-experience: An examination of InstaGram, Self-esteem,

Social Comparison, and Self-Presentation. Doctor dissertation, Medaille College.

Roring, S. A. (2012). Attachment, Negative Self-Schemas, and Coping with Separation-Individuation

during the Transition to College. Doctor dissertation, College of the Oklahoma State

University.

Schermelleh-Engel, Moosbrugger, & Muller. (2003). Evaluating the fit of structural equation models:

Tests of significance and descriptive goodness-of-fit measures. Methods of Psychological

Research Online. 8(2): 23-74.

Voigt, L., & Hundrieser, J. Noel-Levitz retention codifications student success, retention,

and graduation: Definitions, theories, practices, patterns, and trends. [online]. Available:

http://www.stetson.edu/law. 2008.

Waller, T. O. (2009). A mixed method approach for assessing the adjustment of incoming first-

year engineering students in a summer bridge program. Doctor dissertation, Philosophy

Curriculum and Instruction, Virginia Polytechnic Institute and State University.