การออกกำลังกายด้วยกิจกรรมแอโรบิกเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ชาญชลักษณ์ เยี่ยมมิตร
ณัฐพงษ์ จรทะผา

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี และ (2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรีก่อนและหลังการออกกำลังกายด้วยกิจกรรมแอโรบิก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 50 คน ได้มากจากการเลือกแบบอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ  และโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยกิจกรรมแอโรบิก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t แบบไม่อิสระจากกัน


             ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุก่อนและหลังจากออกกำลังกายด้วยกิจกรรมแอโรบิก เพศชายและเพศหญิงมีสมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัวดีที่สุด โดยก่อนและหลังทดลองมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 4.87-5.00 อยู่ในระดับดีมาก รองลงมา คือ ด้านการทรงตัว ก่อนและหลังทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.13-4.77 อยู่ในระดับดีถึงระดับดีมาก แต่ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ และความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.00-2.34 ระดับต่ำมากไปถึงระดับต่ำ และ (2) สมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อขา และด้านความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือดหลังทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านความอ่อนตัวและด้านการทรงตัวก่อนและหลังทดลอง      ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้อายุ. สถิติผู้สูงอายุ. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275.

กรมพลศึกษา. (2555). แอโรบิกดานซ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมพลศึกษา. (2562). แบบการทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชน อายุ 60-69 ปี.

กรุงเทพมหานคร: สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Smart Ageing in Smart 4.0 Society สูงวัยสง่างามในสังคม 4.0.

[online]. เข้าถึงได้จาก : https://ns.mahidol.ac.th/smartageing/download.html. 2561.

นิพพาภัทร์ สินทรัพย์ จิณวัตร จันครา และบุปผา ใจมั่น. (2562). กิจกรรมทางกาย สำหรับผู้สูงอายุเพื่อการมีอายุ

ที่ยืนยาว. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 25(2): 229-246.

ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2552). ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน.กรุงเทพมหานคร: ยูเนี่ยน ครีเอชั่น.

ปรีดา อารยาวิชานนท์. (2542). การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ. ศรีนครินทร์เวชสาร. 14(3): 198-201.

ปัทมา เซ้งอาศัย. (2561). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบแอโรบิคต่อสมรรถภาพทางกายผู้สูงอายุ.

รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. (2547). ผลการสำรวจภาวะสุขภาพและการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุกัญญา พาณิชเจริญนาม. (2546). แอโรบิกดานซ์สำหรับครูฝึก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. กิจกรรมทางกายของประชากร พ.ศ. 2558. [online]. เข้าถึงได้จาก :

http://www.nso.go.th/. 2562.

อมรรัตน์ เนียมสวรรค์ นงนุช โอบะ และสมบูรณ์ ตันสุภสวัสดิกุล. (2555). ผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิค

โดยใช้ดนตรีโปงลางต่อสมรรถภาพทางกายและระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุความดันโลหิตสูง. วารสาร

การพยาบาลและสุขภาพ. 6(2): 62-75.

อังคะนา ศรีตะลา. (2547). การเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ (Aerobic Dance for Health). วารสาร มฉก.วิชาการ.

(14): 88-101.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ:

Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Nair, K. S. (2004). Aging muscle. American Society for Clinical Nutrition. 81: 953-963.