การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการจัดการข้อมูลสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

สุทัศน์ กำมณี
พจนีย์ สุขชาวนา
อิซตีฮาร เจะมะ

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการจัดการข้อมูลสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการจัดการข้อมูลสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) เพื่อหาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการจัดการข้อมูลสารสนเทศ  เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการจัดการข้อมูลสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนวัดปรังกาสี จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 20 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการหาค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่องการจัดการข้อมูลสารสนเทศ มีประสิทธิภาพ 79.17/82.5 สูงกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ 75/75 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ .05 และความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการจัดการข้อมูลสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก 4.57  จึงถือว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้และมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.moe.go.th/. 2560.

นิเกต อุ่นทะเล. (2560). ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ปวีณา โพธิ์จันทร์ และธงชัย เส็งศรี. (2563). ผลการใช้บทเรียนแบบปรับเหมาะเพื่อส่งเสริมการเรียนเรื่องวิทยาการคำนวณกับชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพรหมพิรามวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39. วารสารวิจัยและนวัตกรรม. 3 (มกราคม-มิถุนายน): 111-126.

ภิมลรัตน์ โกฏแก้ว. (2560). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องหินและการเปลี่ยนแปลง. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สมพร เชื้อพันธ์. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองกับการจัดการเรียนการสอนตามปกติ. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สุพรรษา วันสุข. (2559). ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องคอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อุทิศ บำรุงชีพ. (2557). HyperFlex Learning : การเรียนรู้ผสมผสานแบบยืดหยุ่นเทคโนโลยีการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 25 (มกราคม-เมษายน): 15-29.

Best, John W. (1986). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Nazimuddin, S. K. (2014). Computer assisted instruction (CAI): A new approach in the field of education. International Journal of Scientific Engineering and Research (IJSER). 3(July): 185–188.