การบริหารจัดการแผนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ภาคกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแผนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน และ 2) เพื่อศึกษาแนวการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้วยกระบวนการวิจัยท้องถิ่น
ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการทำงานกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักวิจัยและผู้เข้าร่วมโครงการจาก 10 โครงการย่อย แบ่งเป็น 3 ช่วงหลัก ได้แก่ (ก) ช่วงต้นน้ำ คือ การพัฒนาโจทย์การวิจัยร่วมกับนักวิจัย (ข) ช่วงกลางน้ำ คือ ช่วงการสนับสนุนความรู้ การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การลงพื้นที่ การติดตามประเมินผล และการจัดเวทีนำเสนอรายงานความก้าวหน้า (ค) ช่วงปลายน้ำ คือ ช่วงพัฒนาการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานวิจัย การจัดเวทีพิจารณารายงานฉบับสมบูรณ์
ผลการวิจัย พบว่า
(ก) แนวทางการบริหารจัดการแผนงานวิจัยให้เป็นไปตามเป้าหมายต้องดำเนินการทั้ง 4 ด้าน คือ การบริหารโครงการ การบริหารจัดการความรู้ การบริหารพัฒนาบุคลากร และการบริหารเครือข่าย
(ข) แนวทางการสนับสนุนนักวิจัยชุมชนและภาคีในการใช้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในการก้ปัญหาและเสริมพลังชุมชน โดยการเสริมพลังด้านการทำงานวิจัยท้องถิ่น และ การสนับสนุนการทำงานในลักษณะกลุ่มหรือเครือข่าย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2553). คุณลักษณะ & วิธีวิทยางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
กาญจนา แก้วเทพ. (2563). บททดลองเสนอเรื่องการวิจัยท้องถิ่นกับความเหลื่อมล้ำในสังคม. กรุงเทพมหานคร:
โครงการการบริหารงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น สถาบันคลังสมองของชาติ.
กาญจนา แก้วเทพ. (2565). การเสริมพลังกับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: โครงการการบริหารงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสถาบันคลังสมองของชาติ.
คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจฐานราก. (2559). คู่มือการส่งเสริมการพัฒนา “ระบบเศรษฐกิจฐานราก”.
กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
เดชรัต สุขกำเนิด. (2564). ตัวชี้วัดการลดความเหลื่อมล้ำสำหรับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. เอกสารนำเสนอต่อสถาบัน
คลังสมองของชาติ, กรุงเทพมหานคร: สถาบันคลังสมองของชาติ
สุขวิทย์ โสภาพล. (2557). การเขียนการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยในงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Research Utilization
Writing in Research for Local Area). [online]. เข้าถึงได้จาก: http://km.bus.ubu.ac.th/?p=2035
เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566.
สุริชัย หวันแก้วและคณะ. (2561). โครงการเชิงสังเคราะห์การวิจัยเพื่อท้องถิ่นจากมิติยุทธศาสตร์ เรื่อง ความเป็นธรรมและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สุวรรณา บัวพันธ์. (2554). โครงการการพัฒนากระบวนการสนับสนุนโครงการวิจัย ที่มีคุณภาพ สำหรับพี่เลี้ยงงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคอีสาน. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.7 (1), 153 -171.
สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (2564). เอกสารการประชุมแนวทางการดำเนินงานกรอบการให้ทุนส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากประจำปีงบประมาณ 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานประจำ ปี 2561 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
อรทัย เลียงจินดาถาวรและคณะ. (2559). รูปแบบการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อการหนุนเสริมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 8(4), 15–34. [online]. เข้าถึงได้จาก
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/95494.
อาทิตยา ไสยพร. (2564). คุณครูกับการเป็น Facilitator. [online]. เข้าถึงได้จาก
https://www.educathai.com/knowledge/articles/522 เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566.
Gibson, C.H. (1991). A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced Nursing. 16(3), 354-361.