การสร้างความยั่งยืนทางอาหารท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารท้องถิ่น และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความยั่งยืนของอาหารท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่อาศัยแนวสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และแนวสัมภาษณ์กลุ่มย่อยเป็นเครื่องมือ ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารท้องถิ่นของครัวเรือนในจังหวัดจันทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับนานๆครั้ง คิดเป็นค่าเฉลี่ย ( = 2.54) และเมื่อจำแนกผลการวิจัยออกเป็นระดับต่าง ๆ พบว่าพฤติกรรมการบริโภคระดับบ่อย ๆ ครั้ง มี 1 รายการ ระดับปานกลาง มี 10 รายการ ระดับนาน ๆ ครั้ง มี 11 รายการ และระดับไม่เคยบริโภค มี 3 รายการ ส่วนผลการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความยั่งยืนของอาหารท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี พบว่ามีปัจจัยที่สำคัญรวม 6 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงรสนิยม ปัจจัยด้านแหล่งผลิต ปัจจัยด้านการอนุรักษ์ ปัจจัยด้านรสชาติ ปัจจัยด้านภาพพจน์ และปัจจัยด้านคติความเชื่อ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลวรรณ วังมณี. (2551). อาหารท้องถิ่นไทยในมิติวัฒนธรรม กรณีศึกษา ข้าวปุก ชาวอาข่า และลาหู่ ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. กรณีศึกษาอิสระ บธ.ม.(การจัดการทั่วไป). เชียงราย : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
จักษุมาลย์ วงษ์ท้าว. (2554). อาหารท้องถิ่นในสังคมปัจจุบัน ศึกษาเฉพาะกรณีขุมชนบ้านหนองรังกา ต.โคกกรวด อ. เมือง จ.นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(มานุษยวิทยา). นครราชสีมา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จุฑามาศ มะขาม.(2564). การอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารละว้า ของชุมชนบ้านละอูบ ตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน : 2 - 3
ฉวีวรรณ สุวรรณาภา และคณะ. (2560).อาหารพื้นบ้านกระบวนการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและจริยธรรม ทางสังคมในชุมชนภาคเหนือ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ วิทยาเขตแพร่.
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2559). ตำรา วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคม. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
ชำนาญ จันทร์เรือง.(2564). ซอฟต์พาวเวอร์ คืออะไร. [online]. เข้าถึงได้จากhttps://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/968174. (31 พฤษภาคม 2565).
ธานินทร์ ศิลป์จารุ, (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11.กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธนันชัย มุ่งจิต, บำเพ็ญ เขียวหวาน และเบญจมาศ อยู่ประเสริฐ. (2555). แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพด้านความมั่นคงทางอาหารบ้านแม่สุริน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่อ่องสอน. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2. ระหว่างวันที่ 4 - 5 กันยายน 2555.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร. สุวีริยาสาสน์ : 100
พจนีย์ บุญนาและคณะ.(2559). ศักยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารพื้นเมืองเพื่อเพิ่มมูลค่าพืชท้องถิ่นของชุมชนแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. สนับสนุนจางบประมาณ รายจ่ายประจำปี 2559. คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์ (2565). "ใบชะมวง" มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง. ฉ https://www.thaihealth.or.th/Content/3189. (31 พฤษภาคม 2565)
รัตนะ บัวพันธ์. (2559). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ระเบียงผลไม้ภาคตะวันออกดันไทยเป็น “มหานครผลไม้โลก”.
วิฆเนศวร ทะกอง.(4 สิงหาคม 2565) สัมภาษณ์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2549). การวิจัยตลาด. ฉบับปรับปรุงใหม่ กรุงเทพมหานคร. บริษัทธรรมสารจำกัด : 129
ศรุตา นิติวรการ (2557).อาหารไทย : มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ.ฉบับที่ 5 (1) พฤษศจิกายน – เมษายน 2557 : 171 - 179
สุนีย์ ศักดาเดช. (2549). อาหารท้องถิ่น. จันทบุรี: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สุนีย์ ศักดาเดช. (2549) อาหารท้องถิ่น. จันทบุรี: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.: 28 – 29
สุพรรณี ไชยอำพร. (2560). ความมั่นคงทางอาหาร: สิ่งบ่งชี้ต่างวัฒนธรรมในสังคมไทย. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์,
(1/2560) : 200 - 223
อนุกูล เมฆสุทัศน์. (2557). การบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ต. (ออนไลน์). [online]. เข้าถึงได้จาก: https://ay-sci.go.th/aynew/article/620930-1/ (วันที่ 19 กันยายน 2564)