ความคิดเห็นของนิสิตพยาบาลศาสตร์ต่อการเรียนออนไลน์ในวิชา การพยาบาลมารดา-ทารก และการผดุงครรภ์ 1 และ 2 ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19

Main Article Content

จารีศรี กุลศิริปัญโญ
วรรณกร ศรีรอด
สุธัญทิพ จารุวัชรีวงค์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูล ด้านการจัดรูปแบบการเรียนการสอน  อุปกรณ์ที่ใช้เรียน  สัญญาณอินเทอร์เน็ต 2) เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดจากการเรียนออนไลน์ และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างการเรียนในชั้นเรียนกับออนไลน์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ที่ผ่านการเรียนในระบบออนไลน์ การพยาบาลมารดา-ทารก และการผดุงครรภ์ 1 และ 2 ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการคือแบบสอบถามรูปแบบแบบเลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหาความเห็นปลายเปิด ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนการสอนเรียนเป็นแบบออนไลน์ ร้อยละ 100    อุปกรณ์ที่ใช้เรียนพบว่าใช้ แท็บเล็ต หรือ ไอแพด มากที่สุด ร้อยละ 63.04 รองลงมาคือ โน้ตบุ๊คและ โทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 43.47 ส่วนการใช้แหล่งสัญญาณ อินเทอร์เน็ต  ในการเรียนออนไลน์ พบว่า  ใช้สัญญาณจากโทรศัพท์มือถือมากที่สุด ร้อยละ 97.82  รองลงมาคือ ใช้สัญญาณที่บ้าน ร้อยละ 21.73 และใช้จากสถานศึกษา ร้อยละ 6.52  2) ปัญหาภายในที่เกิดจากนิสิต เรียงลำดับจากมากไปน้อย  ได้แก่ ขาดสมาธิและความพร้อมในการเรียนของผู้เรียน  ร้อยละ 67.39 ขาดการทบทวนการเรียนรู้ด้วยตนเองหลังเรียน ร้อยละ 36.95  และไม่มีทักษะในการแสวงหาความรู้ค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง  ร้อยละ 26.08 ปัญหาจากผลของระบบเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารการใช้เรียนออนไลน์ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ สัญญาณการเชื่อมต่อช้า  ร้อยละ 39.47  คุณภาพเสียงการบรรยายติดขัด ร้อยละ 32.60 อุปกรณ์ไม่พร้อมสำหรับการเรียนออนไลน์  ร้อยละ 28.26 และคุณภาพการแสดงผลบนจอภาพไม่ดีพอ ร้อยละ 28.26 3) นิสิตมีความพึงพอใจในการเรียนในชั้นเรียนมากกว่าการเรียนแบบออนไลน์ คิดเป็น ร้อยละ  86.9

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เรื่องมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 27 มกราคม 64. [online]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mhesi.go.th/index.php/content_page/item/3033-2019-covid-19-1-6.html. 2564

เครือหยก แย้มศรี. ประสิทธิผลของการใช้แอปพลิเคชั่น Zoom cloud meeting ช่วยสอนในรายวิชาปฏิบัติการผดุงครรภ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16(2), 36-42. [online]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci- thaijo.org/index.php/MKHJ/article/download/219148/151738/705991. 2562.

ทินกร บัวชู, ณัทกวี ศิริรัตน์, นภัทร์ธมณฑ์ น้อยหมอกุลเดช,ประภาพร เมืองแก้ว. การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทางการศึกษาพยาบาล: จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) สู่การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ Disruptive Change in Nursing Education: From the Situation of the Spread of the Coronavirus Disease 2019 to Online Learning. [online]. วารสารพยาบาลทหารบก, 22(2), 1-9. เข้าถึงได้จาก: http://nurse.psru.ac.th/wp-content/uploads/2020. 2562.

นรินธน์ นนทมาลย์, นริศรา เสือคล้าย และคณะ. การสำรวจปัญหาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์.วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. 16(20). 61-73 [online]. เข้าถึงได้จาก: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ectstou/article/view/245679. 2564.

ประเสริฐ เกิดมงคล, พิเชษฐ อุดมสมัคร, และจันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ของนักเรียนระดับมัธยมในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 9 (1). 121-140. [online]. เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/Admin/Downloads/5.+Article+No.258339-Finish.pdf. 2565.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ, รัตนา พึ่งเสมา. พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาพยาบาลต่อการเรียนแบบออนไลน์ ช่วงสถานการณ์โควิด-19. [online]. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 14(1), 33-47. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci- thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/248495/168733. 2564.

วิทัศน์ ฝักเจริญผล, วันเฉลิม ปิ่นแก้ว และคณะ. ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้ สถานการณ์ระบาดไวรัส Covid-19. [online]. เข้าถึงได้จาก: http://sce.bru.ac.th/wp-content/uploads/2021/07/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2-1%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1.pdf. 2563.

ศากุล ช่างไม้, อัจฉรา ศรีสุภรกรกุล และรัตนา ช้อนทอง. การปรับตัวกับการเรียนรู้แบบออนไลน์ ในช่วงวิกฤติโควิด 19 ของนักศึกษาและอาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน. วารสารวารสารพยาบาล, 71(4), 29-38. [online]. เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/Admin/Downloads/29-38+%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5+Final+4.pdf. 2565

สุวัฒน์ บรรลือ. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. วารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด. Vol. 11 No 2Z2017) July-December. [online]. เข้าถึงได้จาก: https://rerujournal.reru.ac.th/wp-content/uploads/2018/03/OK-27. 2560

Mahyoob, M. Challenges of e-Learning during the COVID-19 Pandemic Experienced by EFL Learners. Arab World English Journal (AWEJ). 11(4). 351-362. [online]. Available: https://dx.doi.org/10.24093/awej/vol11no4.23. 2020.