ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าชายเลนในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองกำพวน จังหวัดระนอง

Main Article Content

สุรินทร์ภรณ์ ศรีอินทร์
นุชนารถ วงศ์จำปา

บทคัดย่อ

        ป่าชายเลนมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีพของมวลมนุษย์อย่างมากมาย ทำให้มีการถูกบุกรุกทำลายอย่างมากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งการจัดการทรัพยากรป่าชายเลนโดยชุมชนเป็นแนวทางที่จะทำให้ทรัพยากรป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น การวิจัยนี้จึงดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าชายเลน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรป่าชายเลน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าชายเลน และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าชายเลน งานวิจัยดำเนินการโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองกำพวน จังหวัดระนอง จำนวน 331 ราย โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ทรัพยากรป่าชายเลนเป็นแหล่งจับสัตว์น้ำ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรป่าชายเลนอยู่ในระดับมากที่สุด การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าชายเลนในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่ารูปแบบการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าชายเลนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าชายเลน ส่วนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรป่าชายเลนมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าชายเลน ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างการจัดการทรัพยากรป่าชายเลนโดยชุมชนมีส่วนร่วม คณะกรรมการป่าชายเลนชุมชนควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนอย่างจริงจัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้มงวดเรื่องการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนและให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ชุมชนเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรป่าชายเลนอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูลทรัพยากรป่าชายเลน โดยการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนด้วยภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง (ปีงบประมาณ 2563). กรุงเทพมหานคร.

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. การปรับตัวที่เห็นได้ชัดในสังคมพืชบริเวณป่าชายเลน. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://km.dmcr.go.th/th/c_11/d_3072. 2556.

จุฑามาศ อ่อนวงศ์. (2554). ความรู้ความตระหนักและการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ป่าชายเลน กรณีศึกษา: บ้านธารน้ำร้อน ตำบลเขาถ่าน อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐติกานต์ ชูสลับ. (2558). การใช้ประโยชน์และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลน กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านเกาะกลาง ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. เอกสารวิจัย เสนอต่อมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.

ธิดารัตน์ คำล้อม, นิติญา สังข์นันท์ และนงนภัส สกุลมา. (2561). การใช้ประโยชน์และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน กรณีศึกษา: บ้านกลาง ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา. ใน เอกสารการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 991–998.

นภา จันทร์ตรี และพงศธร จันทร์ตรี. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน เพื่อพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ กรณีศึกษา: ชุมชนบางชัน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 12 (กันยายน-ธันวาคม): 201-207.

นิเวศน์ อรุณเบิกฟ้า. (2553). การจัดการทรัพยากรป่าชายเลนชุมชนบ้านหนองสมาน หมู่ที่ 3 ตำบลหาดสำราญ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 6 (มกราคม-มิถุนายน): 23-50.

นิติญา สังข์นันท์, ธิดารัตน์ คำล้อม และกาญจนา วรรณจิตร์. (2561). การใช้ประโยชน์พันธุ์ไม้ป่าชายเลน หมู่บ้านป่ายาง ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา. ใน เอกสารการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หน้า 937–944.

เพ็ญศรี ม้าแก้ว. (2556). การจัดการป่าชุมชนบ้านดอนมูล ตำบลเมืองชุม อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 5 (กรกฎาคม-สิงหาคม): 38-53.

ประถม รัสมี, ดวงรัตน์ ปัทมเรขา, สุภาพร อภิรัตนานุสรณ์ และจิตเกษม หลําสะอาด. (2560). ป่าชายเลนและการใช้ประโยชน์ กรณีศึกษา: คุณภาพกุ้งรมควันด้วยควันจากไม้ป่าชายเลน อําเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 45 (พฤษภาคม-สิงหาคม): 315-327.

พระทองมี อํสุธโช (แอมไธสง). (2561). ความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าชายเลนแขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 6 (ฉบับพิเศษ เนื่องในงานพิธีประสาทปริญญา ประจำปี พ.ศ. 2562): 395-413.

วงศ์ปกรณ์ ธาราสุข, อภิญญา รัตนไชย, พรพิมล เชื้อดวงผุย และอาแว มะแส. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านทางสายในการจัดการป่าชายเลน ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง. เอกสารวิจัย เสนอต่อภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วัชระ ใบยูซบ, ธีระนันท์ วิชัยดิษฐ และสุภัทรา บุญปัญญโรจน์. (2563). การมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชายเลนของชุมชนบ้านสหกรณ์ 1 ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. ใน เอกสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี. :610–621.

สวรรยา ธรรมอภิพล และศศิใส แสงสัตตรัตน์. (2555). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าชายเลนของชุมชนบ้านสหกรณ์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. ใน เอกสารการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. : 331-336.

สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน. บทบาทและความสำคัญของป่าชายเลน. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://andaman.fish.ku.ac.th/?p=816. 2562.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

สุรินทร์ภรณ์ ศรีอินทร์ และอัจฉรา ศรีพันธ์. (2563). การจัดการความรู้ของชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรป่าชายเลน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22 (มกราคม-มีนาคม): 301-314.

สุรินทร์ภรณ์ ศรีอินทร์. (2563). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการทรัพยากรป่าชายเลน. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 33 (พฤษภาคม-สิงหาคม): 67-84.

สุวจี รักเจริญ, พสุธา สุนทรห้าว, วาทินี สวนผกา และวิจารณ์ มีผล. (2560). มูลค่าป่าชายเลนด้านการใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอนในเขตกันชนพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง. วารสารวนศาสตร์. ปีที่ 36 (มกราคม-มิถุนายน): 58-67.

เสาวลักษณ์ รุ่งตะวันเรืองศรี, เยาวนิจ กิตติธรกุล และณัฐติพงษ์ แก้วทอง. (2553). การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ด้านการใช้ประโยชน์ทางตรงของป่าชายเลนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนโคกพยอม ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล. เอกสารวิจัย เสนอต่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักบริหารการทะเบียนอำเภอสุขสำราญ. (2564). จำนวนประชากรในพื้นที่อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง. เอกสารอัดสำเนา.

อภิชาติ หนูน้อย, โสวัตรี ณ ถลาง และสุรินทร์ อ้นพรม. (2560). ทุนทางสังคมในการจัดการป่าชายเลนอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านน้ำราบ ตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 9 (กรกฎาคม-ธันวาคม):178-190.

เอกพล ทองแก้ว. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลา กรณีศึกษา: บ้านโคกเมือง ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

International Union for Conservation of Nature (IUCN). Restoration of mangrove forest: Trends by the community. [Online]. Available: http://cmsdata.iucn.org/downloads/magrove_rehabilitation_

by_community.pdf. 2007.

Sri–in, S. (2011). Community Mangrove Forest Management on The Andaman Coast, Thailand. Journal of Agroforestry and Environment Official of Agroforestry Society of Bangladesh. 5 (Special): 55-59.

United Nations Development Programme. (2019). Community Mangrove Forest Conservation of Baan Bang La, Thailand. Equator Initiative Case Study Series. New York, NY..

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introduction Analysis. 3rd ed. New York: Harper & Row Publisher.