การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ตามหลักโยนิโสมนสิการ เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันดิจิทัลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

พระสุเมธ เอี่ยมบวร

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ตามหลักโยนิโสมนสิการเพื่อเสริมสร้าง
การรู้เท่าทันดิจิทัลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ตามหลักโยนิโสมนสิการเพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันดิจิทัลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 ได้แก่ ครูหรือบุคลากร จำนวน 296 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 356 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 356 คน ซึ่งใช้เทคนิคการสุ่มแบบชั้นภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 2 ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดจันทบุรี ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงจากโรงเรียนที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการ จำนวน 3 ฉบับ สำหรับครูหรือบุคลาการ ผู้ปกครองของนักเรียน และนักเรียน 2) หลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ 3) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจด้านการรู้เท่าทันดิจิทัล และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


            ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ตามหลักโยนิโสมนสิการเพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันดิจิทัลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ 5 หน่วยฝึกอบรม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีค่า IOC ระหว่าง 0.80 – 1.00 และ 2) การทดลองใช้หลักสูตรและประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ตามหลักโยนิโสมนสิการเพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันดิจิทัลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนที่เข้าอบรมมีคะแนนแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจด้านการรู้เท่าทันดิจิทัลหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมคิดเป็นร้อยละ 100 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรโดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤชณัท แสนทวี. (2553). พฤติกรรมการเปิดรับและระดับความรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครโครงการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: วีพรินท์.

เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี. (2563). รูปแบบการประเมินหลักสูตร. ใน เอกสารคำสอนรายวิชา 5002504 การพัฒนาหลักสูตร. บทที่ 7. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.:137.

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระทับทอง ทีปธมฺโม. (2563). พุทธวิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนโรงเรียนจตุรพักตรพิมานรัชดาภิเษก. สันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8(2): 645–655.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). โยนิโสมนสิการ วิธีคิดตามหลักพุทธธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาประดิษฐาน.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2559). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งทิวา จันทน์วัฒนวงษ์. (2557). ความรู้พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร. ใน เอกสารประกอบการสอน รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร. บทที่ 1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. : 23 – 24.

วิไลวรรณ สิทธิ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สมคิด บางโม. (2556). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม (Techniques in Training and Conference). พิมพ์ครั้งที่ 4 ปรับปรุงใหม่. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์.

สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.).

ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://sto.go.th/sites/default/files/2019-12/NS_PlanOct2018.pdf/. 2564.

สำนักงานพระสอนศีลธรรม. (2558). รายงานการประเมินเรื่องการติดตามประเมินผลพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2558. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566 – 2570. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2562). หลากหลายวิธีสอน…เพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชนไทย. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

อุษณี กังวารจิตต์. (2563). การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเด็กและเยาวชน Children and The Youth’s Social Media Literacy. รัฎฐาภิรักษ์. 58(3): 79–92.

Brady, N.C. (1990). The nature and properties of soils. 10 th ed. New York: Macmillan.

Cho, C. H., and Cheon H. J. (2005). Cross-Cultural Comparisons of Interactivity on Corporate WebSites: The United States, the United Kingdom, Japan, and South Korea. Journal of Advertising. 34(2): 99–116.

Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley & Sons.

Tyler, R.W. (1971). Basic principles of curriculum and instruction. 31 st ed. Chicago: The University of Chicago Press.

Yamane, Taro. (1970). Statistics: And introductory analysis. 2 nd ed. New York: Harper & Row.