การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ การใช้บทเรียนออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

สายสมร บุญยม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้บทเรียนออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา) 2) ทดสอบประสิทธิภาพของระบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้บทเรียนออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยระบบการจัดการเรียน การสอนแบบการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 หนึ่งห้องเรียน จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้  ที่สอดคล้องกับการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้บทเรียนออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้บทเรียนออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา) แบบวัดทักษะด้าน การเรียนรู้และนวัตกรรม (การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา) และแบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนแบบการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้บทเรียนออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบการจัด การเรียนการสอน แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้บทเรียนออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะ ด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม  (การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา) คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยระบบการจัดการเรียนการสอนแบบการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้บทเรียนออนไลน์ พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาน้อมศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมกิจการศึกษา.

กิดานันท์ท์ มลิทอง. (2539). เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: เอดิสันเพรสโพรดักส์.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2559). การออกแบบสื่อการศึกษาสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จินตนา ณ ระยอง. (2545). การทำงานเป็นทีม. กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์.

ฉันท์ทิพย์ สีลิตธรรม และพรเพ็ญ เอกเอี่ยมวัฒนกุล. (2559). การศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน โดยผ่านกูเกิลคลาสรูมของนักศึกษาวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 1(1): 20-25.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2562). การส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 12(1), 40-54.

ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2558). The 21st Century teacher (ครูอาชีวะแห่งศตวรรษที่ 21). กรุงเทพมหานคร:ฐานการพิมพ์.

โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา. (2562). สารสนเทศโรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา. ปีการศึกษา 2562.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้ เพื่อศิลป์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี สฤษด์ิวงศ์.

วิทยา ปิ่นกันทา, สมชาย มาต๊ะพาน และประพันธ์ กาวิชัย. (2559). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์วิชาอินเทอร์เน็ตด้วยแอปพลิเคชัน Google classroom สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2561). วิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร (พิมพ์ครั้งที่ 1).

ศศิธร บัวทอง. (2560). แนวคิดของการประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. [online]. เข้าถึงได้จาก :

http://www.stou.ac.th/Offices/ore/info/cae/viewkb.aspx?id=204. (สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2561)

สมพันธุ์ ชาญศิลป์. (2551). SUT Instant Server for Developer Plus Moodle. Seminar on Driving Open SourceUsing in Software Industry 2008.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าว สู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการ.

สุชิน เพ็ชรักษ์. (2548). รายงานการวิจัย เรื่อง การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุวรรณา ใจกล้า, จตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2561). การพัฒนาชุดเครื่องมือประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมตามแนวคิดการประเมินที่ใช้การปฏิบัติ เป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20. วันที่ 15 มีนาคม 2562. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อมรินทร์ อำพลพงษ์. (2559). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย :กรุงเทพมหานคร.

Allen, I. E. & Seaman, J. (2005). Growing by Degrees: Online education in the United States, 2005. The Sloan Consortium. URL. [online]. Available: http://sloanconsortium.org/publications/ sur-vey/growing_by_degrees_2005 (last checked 17 June 2014)

Carman, J.M. (2005). Blended Learning Design: Five Keys Ingredients. [online]. Available :http://www.agilantlearning.com/pdf/Blended%20L.pdf. (May 31, 2014).

Graham, C. R. (2012). Introduction to blended learning. [online]. Available : http://www.media.wiley.com/product_data/execpt/86/C.pdf.

Yang, C. C., Cheng, L. Y., & Yang, C. W. (2007). A study of implementing balanced scorecard (BSC) in non-profit organizations: A case study of private hospital. Human Systems Management, 24, 285-300