ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี สำนักงานเขตบางแค สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กัลยา สอนทิม
พัชรา เดชโฮม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี สำนักงานเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ใน 7 ด้าน ดังนี้ ประกอบด้วย 1) ด้านการทำให้บุคลากรเป็นผู้นำตนเอง 2) ด้านการแสดงเป็นตัวอย่างให้บุคลากรเป็นผู้นำตนเอง 3) ด้านการกระตุ้นให้บุคลากรตั้งเป้าหมายด้วยตนเอง 4) ด้านการสร้างรูปแบบความคิดในทางบวก 5) ด้านการอำนวยความสะดวกให้เกิดภาวะผู้นำตนเองโดยให้รางวัล และตำหนิอย่างสร้างสรรค์ 6) ด้านการสนับสนุนให้เกิดภาวะผู้นำตนเองโดยการสร้างคณะทำงาน และ7) ด้านการอำนวยความสะดวกให้เกิดวัฒนธรรมของผู้นำตนเอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูโรงเรียนโรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี สำนักงานเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   


         ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน วัดพรหมสุวรรณสามัคคี สำนักงานเขตบางแค กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการกระตุ้นให้บุคลากรตั้งเป้าหมายด้วยตนเอง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการแสดงเป็นตัวอย่างของบุคลากรในการเป็นผู้นำตนเอง ส่วนด้านการสร้างรูปแบบความคิดทางบวก มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการแสดงเป็นตัวอย่างของบุคลากรในการเป็นผู้นำตนเอง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการกระตุ้นให้บุคลากรตั้งเป้าหมายด้วยตนเอง ส่วนด้านการให้บุคลากรเป็นผู้นำตนเอง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). คําชี้แจงประกอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรมศาสนา.

กิจจา กสิกรรม. (2561). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตจังหวัดชลบุรี สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2541). มองฝันวันข้างหน้า: วิสัยทัศน์ประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพมหานคร : ซัคเซสมีเดีย.

คุณวุฒิ คนฉลาด. (2540). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ชลบุรี: ภาควิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีแนวปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บุ๊ค พอยท์.

ชรินทร์ทิพย์ วงศ์ธรรม (2565). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณรงค์ศักดิ์ วะโร (2559). การศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17

จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

เทพรัตน์ ศรีคราม. (2562). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

นฤมล นามเอี่ยม. (2550). ภาวะผู้นําเหนือผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนโสตศึกษาสังกัด สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สํานักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

ปัญจศร ศรีใส. (2560). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

พีระ พนาสุภน. (2553). การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). วารสารวิชาการ, 5(3), 2-4.

มนัชยา ธรรมลิขิต. (2559). ภาวะผู้นําเหนือผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษา อําเภอเมือง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี. (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา SELF ASSESSMENT REPORT: SAR โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี ปีการศึกษา 2564. กรุงเทพมหานคร : โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี.

เศาวนิต เศวตณานนท์. (2548). ภาวะผู้นำแบบสุดยอด ใน ภาวะผู้นำ. สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.

สวิตตา ประเสริฐสาร. (2559). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สายใจ ชูฤทธิ์. (2561). การศึกษาภาวะผู้นําเหนือผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากระบี่. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สุกัญญา สุวรรณดี. (2559). ภาวะผู้นําเหนือผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

Gibson, J. L. (1997). Organization: Behavior, Structure, Process. (9th ed). New York: McGraw-Hill.

House, J. R. (1971). A Path-Goal Theory of Leader Effective. Administrative Science Quarterly.

Kouzes, J. M. and Posner, B. (1995). The Leadership Challenge. San Francisco : Jossey-Bass.

Kouzes, J. M. and Posner, B. (1997). Leadership pratices inventory workbook. San Francisco : Jossey-Bass.

Manz, C.C., & Sims, H.P. (1989). Superleadership: Leading Others to Lead Themselves. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

McEwan, E.K. (1998). Seven Step to Effect Instructional Leadership. California : Corwin Press.

Nahavandi, A. (2000). The Art and Science of Leadership. Upper Saddle. River, NJ : Prentice Hall.

Owens, R.G. and Valesky, T.C. (2007). Organization Behavior in Education: Adaptive Leadership and School Reform. Boston : Pearson Education.

Yukl. G. A. (2001). Leadership in Organization. Englewood Cliffs, NJ : Prentice-hall.