การจำลองเสียงเครื่องดนตรีไทยเพื่อการประพันธ์เพลงร่วมสมัย : กรณีศึกษาบทเพลง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

Main Article Content

พิสุทธิ์ การบุญ
นวรัตน์ นักเสียง
กฤติเดช อารมย์อุ่น
ศุภศิระ ทวิชัย
รัชชานนท์ ยิ้มระยับ
วารินทร์ สุภาภรณ์

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเสียงจำลองเครื่องดนตรีไทยภาคกลางด้วยการใช้เทคโนโลยีทางดนตรีในปัจจุบัน มาสร้างเสียงเครื่องดนตรีไทยด้วยกระบวนการจำลองเสียง โดยใช้ความรู้ความเข้าใจ ความสามารถ ประสบการณ์ทางดนตรีและทักษะทางเทคโนโลยีของคณะผู้วิจัย โดยการนำเสียงเครื่องดนตรีไทยจำลองมาใช้ในกระบวนเรียบเรียงเสียงประสานและสร้างสรรค์บทเพลงขึ้นมาใหม่ในรูปแบบเพลงไทยร่วมสมัย โดยเลือกใช้บทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 3 บทเพลง คือ 1.เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่งสามชั้น 2.เพลงเขมรลออองค์เถา และ 3.เพลงราตรีประดับดาว เถา


               ผลการศึกษาพบว่าเสียงจำลองเครื่องดนตรีไทยที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถทดแทนเครื่องดนตรีจริงได้ ประหยัดต้นทุนในการผลิตผลงานที่ต้องใช้เครื่องดนตรีจริง และสะดวกในการบรรเลงและเรียบเรียงดนตรีด้วยเทคโนโลยีทางดนตรี ในการประดิษฐ์สร้างสรรค์บทเพลงไทยร่วมสมัยด้วยคลังเสียงเครื่องดนตรีไทยจำลองในครั้งนี้ จึงเป็นแนวทางใหม่ ที่   นักประพันธ์หรือผู้ที่สนใจจะนำวิธีและกระบวนการไปผลิตงานสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดผลงานที่จะกระตุ้นหรือผลักดันงานดนตรีในรูปแบบใหม่ๆ ที่น่าสนใจในปัจจุบันมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรัฐ มัธยมนันทน์. (2557). การใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในการผลิตบทเพลงไทยสมัยนิยมของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมและการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณภัค ภัทรจินดา และอานันท์ นาคคง (นักดนตรีนอกสังกัด). (2540). สัพเพเหระเรื่อง “ดนตรีไทยร่วมสมัย”. ในดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 28. นครราชสีมา : สมบูรณ์การพิมพ์.

ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. (2552). การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณวรา พิไชยแพทย์. (2553). การปรับกระบวนทัศน์ของอุตสาหกรรมเพลงในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารงานนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มารุต นพรัตน์. (2561). เสียงจำลองของดนตรีไทย : กรณีศึกษาดนตรีไทยสี่ภาค. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุพัตรา สุภาพ. (2522). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ศุภฤกษ์ พุฒสโร. (2563). การศึกษาการเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีร่วมสมัย กรณีศึกษาชุดในดวงใจนิรันดร์ (บรรเลงเพลงฟ้า) โดย ณภัค ภัทรจินดา. ปริญญานิพนธ์ ศิลปศาสตร-มหาบัณฑิต สาขาวิชา มนุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.