มาตรการทางกฎหมายและสังคมในการจัดการปัญหาคนกับช้างป่า: กรณีศึกษาอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ทรัพยสิทธิ์ เกิดในมงคล
กุลปราณี กุลวิทิต
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์
พรทิวา อาชีวะ
จิตรา ประดิษฐศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้มาตรการทางกฎหมายและทางสังคมในการจัดการปัญหาคนกับช้างป่า และศึกษาข้อเสนอแนะที่เหมาะสมในการใช้มาตรการทางสังคมในการจัดการปัญหาคนกับช้างป่าของอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ในการศึกษาจะใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานแบบรับลูกต่อกันระหว่างการวิจัยเชิงสำรวจในแง่เชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงสำรวจจะใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 379 คน เป็นประชากรอำเภอแก่งหางแมว โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนวิเคราะห์ ซึ่งใช้สถิติพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ส่วนในการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพจะใช้ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้นำที่เป็นทางการและผู้นำตามธรรมชาติ จำนวน 10 คน คือ กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ช้างป่า อำเภอแก่งหางแมว และปลัดอำเภอแก่งหางแมว โดยการวิเคราะห์เชิงตีความทางสังคม  ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยสามารถนำเสนอในประเด็นดังต่อไปนี้


  1. การใช้มาตรการทั้งทางกฎหมายในการจัดการปัญหาคนกับช้างป่าของอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ได้ผลในระดับพอสมควร

  2. การใช้มาตรการทั้งทางสังคมในการจัดการปัญหาคนกับช้างป่าของอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ได้ผลในระดับพอสมควร

  3. โดยภาพรวมประชาชนค่อนข้างเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะมาตรการทั้งทางกฎหมายในการจัดการปัญหาคนกับช้างป่าในเขตอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี

  4. โดยภาพรวมประชาชนค่อนข้างเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะทางสังคมในการจัดการปัญหาคนกับช้างป่าในเขตอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

งามอาภา วัฒนอังกูร. (2560). การจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าในเขตตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์, (2559). วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประทีป ลิสกุลรักษ์. (2547). ความคิดเห็นของราษฎรต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาช้างป่ากุยบุรีของโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติกุยบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อําเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทรัพยากรป่าไม้), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ผู้จัดการออนไลน์. เหตุการณ์ช้างป่า. [online]. เข้าถึงได้จาก: https://www.manager.co.th. 2558.

ผู้จัดการออนไลน์. เหตุการณ์ช้างป่า. [online]. เข้าถึงได้จาก: https://www.manager.co.th. 2559.

ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนาและสันดุสิทธิ์ บริวงษ์ตระกูล. (2560). แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า : กรณีศึกษา ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี. รายงานวิจัย ได้รับทุนสนับสนุนจากงบกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

รองลาภ บุญมาสรวง. (2536). นิเวศวิทยาของช้างป่า(Elephas maximus Linnaeus, 1758) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทันธานีและตาก. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า ประเทศไทย. (2550). การศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างบริเวณอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน. เพชรบุรี : สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. โครงการแก้ไขปัญหาช้างป่าตามแนวพระราชดำริบ้านป่าเด็ง ตำบลป่าเด็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี.ออนไลน์. แหล่งที่มา : HTTP://WWW.RDPB.GO.TH/TH/PROJECTS. 2565.

สุพล จิตรวิจักษณ์ และคณะ. (2550). คนกับช้างป่าสถานการณ์ใหม่ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี บทเรียนจากการจัดการบนหลักคิดและฐานข้อมูลวิชาการด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม. ฝ่ายจัดการทรัพยากรป่าไม้ WWF ประเทศไทย. ปทุมธานี. พิมพ์ครั้งที่ 1 วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2550.

ไสว วังหงษา. (2547). ประชากรและโครงสร้างทางประชากรของช้างป่าในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไนจังหวัดฉะเชิงเทรา สระแก้ว จันทบุรี ระยอง และชลบุรี. ผลงานวิจัยและรายงานวิจัยประจำปี 2547 มูลนิธิสืบนาคะเสถียร.

pptv Thailand. การบุกรุกของช้างป่า. [online]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pptvhd36.com. 2559.

Sanookonline. ปัญหาช้างป่า. [online]. เข้าถึงได้จาก: https://www.news.sanook.com. 2559.