การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าทางการเกษตร ศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาตามพระบรมราโชบายบางระจัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ 2) ศึกษาประสิทธิภาพ และ 3) ศึกษา ความพึงพอใจของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน บุคลากรศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาตามพระบรมราโชบายบางระจัน จำนวน 7 คน และผู้บริโภค จำนวน 50 คน ขั้นตอนการดำเนินงาน คือ 1) ศึกษาข้อมูลจากเอกสารตำราที่เกี่ยวข้อง 2) สอบถามและสัมภาษณ์บุคลากรถึงความต้องการรูปแบบของตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ 3) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษา 4) สร้างแนวคิดในการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ 5) ดำเนินการออกแบบ ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ 6) สร้างแบบประเมินประสิทธิภาพตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ 7) ประเมินประสิทธิภาพตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ 8) ปรับปรุงรูปแบบตามข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 9) จัดทำตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ และ 10) ประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบประเมินประสิทธิภาพ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ (1) ตราสินค้าผักไฮโดรโปรนิกส์และข้าวสาร มีการระบุชื่อผลิตภัณฑ์ โลโก้ และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ (2) บรรจุภัณฑ์ผักไฮโดรโปรนิกส์ และข้าวสาร สามารถป้องกันตัวสินค้า สวยงาม สื่อความหมาย และมีรายละเอียดของผลิตภัณฑ์บนบรรจุภัณฑ์
2) ประสิทธิภาพของตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ (1) ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ผักไฮโดรนิกส์ ชื่อ “ผักงอกงาม” บรรจุภัณฑ์ เป็นถุงซิบล็อกใส (2) ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ข้าวสาร ชื่อ “ข้าวงอกงาม” บรรจุภัณฑ์แพ็คสุญญากาศ สายรัดระบุตราสินค้าข้าวงอกงาม มีภาพที่บอกถึงตัวผลิตภัณฑ์ และระบุประมาณสุทธิ
3) ความพึงพอใจของผู้บริโภค (1) ต่อตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ผักไฮโดรโปรนิกส์ อยู่ในระดับมากที่สุด (2) ต่อตราสินค้าข้าวสารอยู่ในระดับมาก และบรรจุภัณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กลุ่มพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา. (2564). หลักสูตรการออกแบบ/พัฒนาบรรจุภัณฑ์อย่างง่าย. กรุงเทพมหานคร : สำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยฯ.
คณะกรรมการอํานวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์์แห่งชาติ. (2562). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. (ม.ป.ท.) : คณะกรรมการอํานวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์์แห่งชาติ.
คุณัญญา เบญจวรรณ ประภัสสร กลีบประทุม และอนันธิตรา ดอนบรรเทา. (2566). การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เห็ดนางฟ้าภูฐาน ตำบลปางมะค่า อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 9(3): 83-94.
จุฑามาศ เถียรเวช. (2565). การออกแบบตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ และส่งเสริมการตลาด กรณีศึกษาบ้านเบญจรงค์ จังหวัดปทุมธานี. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง. 4(3): 177-195.
นิรชา ศรีภิลา และกิตติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ชัย. (2564). การออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกฮายักษ์. วารสารศิลปกรรมและการออกแบบแห่งเอเชีย. 2(1): 56-75.
ปทุมวรรณ ทองตราชู และคณะ. (2565). การออกแบบตราสินค้า และป้ายฉลากผลิตภัณฑ์ข้าวสารของกลุ่มเกษตรกรข้าวสาร บ้านท่าแซ ตำบลคลองภู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. หน้า 3,246-3,261.
มนัสมนต์ กล่ำแดง และอภิรดา สุทธิสานนท์. (2562). ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อความภักดีของผู้บริโภคร้านอาหารชาบูบุฟเฟต์ในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา ร้านชาบูบุฟเฟต์ 2 ร้าน ที่ถือครองส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 9(2): 194-204.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพมหานคร: ราชกิจจานุเบกษา.
อุสุมา พันไพศาล และวารุณี จอมกิติชัย. (2564). การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อยกระดับผลสับปะรดห้วยมุ่นโดยใชขอมูลความสัมพันธ์ระหว่างสีเปลือกและรสชาติ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น). 16(2). 57-76.