การใช้ข้อมูลบัญชีบริหาร และการจัดการความรู้ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เบญญาภา กันทะวงศ์วาร
ภาคภูมิ ภัควิภาส
แคทรียา พร้อมเพรียง

บทคัดย่อ

          วิจัยเรื่องการใช้ข้อมูลบัญชีบริหาร และการจัดการความรู้ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงแบบผสมผสาน(Mixed Methods Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ     1) ศึกษาอิทธิพลการใช้ข้อมูลบัญชีบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2) ศึกษาอิทธิพลการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  3) สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บัญชีบริหารและการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ เจ้าของกิจการ ผู้จัดการ หัวหน้างาน บุคลากรในองค์กร ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 9 คนและเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน โดยใช้เครื่องมือวิจัย คือ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) และเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล(Path analysis) โดยใช้โปรแกรม AMOS


          ผลวิจัยพบว่า ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่ 1 พบว่า การใช้บัญชีบริหารมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่ ร้อยละ 37 ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์งานวิจัยที่ 2  พบว่าการจัดการความรู้มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่  ร้อยละ 79  ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์งานวิจัยที่ 3 ผลการสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บัญชีบริหารและการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่ การใช้บัญชีบริหารและการจัดการความรู้มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่ง การใช้บัญชีบริหารและการจัดการความรู้เป็นสองวิธีที่มีประสิทธิภาพในการช่วยให้ SMEs พัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน บัญชีบริหารช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าใจสถานะทางการเงินและผลการดำเนินงานได้ดีขึ้น ในขณะที่การจัดการความรู้ช่วยให้ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเก็บรักษา แบ่งปัน และใช้ประโยชน์จากความรู้ภายในธุรกิจ             จากกรอบแนวความคิดงานวิจัย 1) กรอบแนวคิดรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยตัวแปรที่มีอิทธิพลเชิงบวกทางตรง 2 ตัวแปร คือ การใช้ข้อมูลบัญชีบริหาร และการจัดการความรู้  2) รูปแบบเชิง ผลการวิเคราะห์สมมติฐานพบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์ CMIN/df = 1.884 , RMSEA = 0.058, CFI = 0.946, NFI = 0.908, GFI = 0.860, AGFI = 0.849  อิทธิพลรวมของตัวแปรสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มากที่สุด คือ การจัดการความรู้ รองลงมาคือการใช้ข้อมูลบัญชีบริหาร ทำให้เกิดประโยชน์ในการใช้ข้อมูลบัญชีบริหาร และการจัดการความรู้ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งพบว่าธุรกิจที่มีพื้นฐาน ความรู้ความเข้าใจและการใช้ข้อมูลบัญชีบริหาร การจัดการความรู้ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานธุรกิจได้ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา สมประสงค์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 26(1), 101-112.

จุฑามน สิทธิผลวนิชกุล. (2553). การเปิดเผยปัจจัยความเสี่ยงในรายงานประจำปีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบัญชี, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐธิดา มูลทา, ปริยนุช ปัญญา, และจตุรภัทรวงศ์ สิริสถาพร. (2564). ผลกระทบของประสิทธิภาพการบัญชี บริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจเซรามิคในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(1), 39-50.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที พี เอ็น เพรส.

นิตยา โพธิ์ ศรีจันทร์, & ศิริ วรรณ เพชร ไพร. (2022). ผล กระทบ ของ การ ประยุกต์ ใช้ ข้อมูล การ บัญชี บริหาร เชิง รุก ที่ มี ต่อ ประสิทธิภาพ การ ดำเนิน งาน ของ ธุรกิจ ขนาด กลาง และ ขนาด ย่อม ใน จังหวัด นครพนม. วารสาร ศิลปศาสตร์และวิทยากาจัดการมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, 9(1), 19-30.

บุญดี บุญญากิจ, นงลักษณ์ ประสพสุขโชคชัย, ดิสพงศ์ พรชนกนาถ และปรียววรณ กรรมล้วน. (2548). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

ปิยรัตน์ โพธิ์นนท์. (2546). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 1(2), 1-12.

มนูญชัย ธีระอกนิษฐ์. (2552). ผลกระทบของประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบัญชี, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ลลิตา แว่นแก้ว, ญาณินท์ ตั้งภิญโญพุฒิคุณ และ ไตรรงค์ สวัสดิกุล. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติทางการบัญชีกับประสิทธิภาพการทำงานของผู้ทำบัญชีในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 25(1), 41-58.

สถาบันพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2562). รายงานสถานการณ์ SMEs ปี 2562. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.sme.go.th/th/cms.php?modulekey=118. 24 ตุลาคม 2564.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). รายงานสถานการณ์ SME ปี 2563. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.sme.go.th/th/cms.php?modulekey=118. 24 ตุลาคม 2564.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2564 / สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)(พิมพ์ครั้งที่ 1).

สำนักงานส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). [รายงานข้อมูล]. สืบค้นจาก https://app.powerbi.com

สุจิตรา บุญธรรม. (2559). ผลกระทบของการจัดการความรู้ที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 33(2), 113-128.

หยาดพิรุฬห์ สิงหาด และ ประเวศ เพ็ญวุฒิกุล. (2016). ความ สัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้ ข้อมูลการบัญชีบริหารกับ ความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจSMEsในเขตภาคใต้. Journal of Humanities and Social Sciences Valaya Alongkorn, 11(2), 373-383.

อนุรักษ์ ทองสุขโขวงศ์ และศิริลักษณ์ ศุทธชัย. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าต่อธุรกิจบริการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 34(1), 1-18.

อรปรียา รุ่งสง. (2561). ผลกระทบของการจัดการความรู้ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(2), 1-21.

Chuanpeng Yu., Zhang, Z., Lin, C., & Wu, Y. J. (2017, December). Knowledge creation process and sustainable competitive advantage: The role of technological innovation capabilities. Sustainability, 9(12), 2280.

Heisig, P. (2014). Future research in knowledge management: results from the global knowledge research network study. In Advances in knowledge management: celebrating twenty years of research and practice (pp. 151-182). Cham: Springer International Publishing.

Jennex Eugene , M. (2014). A proposed method for assessing knowledge loss risk with departing personnel. VINE: The journal of information and knowledge management systems, 44(2), 185-209.

Johnson, R.B. and Onwuegbuzie, A.J. (2004) Mixed Methods Research: A Research Paradigm Whose Time Has Come. Educational Researcher, 33, 14-26. http://dx.doi.org/10.3102/0013189X033007014

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). The balanced scorecard: translating strategy into action. Language, 11(322p), 23cm.

Kattareeya Prompreing & Clark Hu. (2021). The Role of Knowledge-Sharing Behaviour in the Relationship Between the Knowledge Creation Process and Employee Goal Orientation. International Journal of Business Science & Applied Management, 16(2), 46-63.

Schwartz, D. A. (2013). Knowledge management: A strategic approach. John Wiley & Sons.

Supawadee Sutthirak and Somnurk Leadkeaw. (2021). STRUCTURAL EQUATION MODEL OF FACTORS INFLUENCING PERFORMANCE OF COMMUNITY ENTERPRISES. Journal of Buddhist Anthropology, 6(8), 431–447. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/250880.