การศึกษารูปแบบของผู้นำองค์กรที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาธุรกิจโรงแรม

Main Article Content

เขมิกา สงวนพวก

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของรูปแบบของผู้นำองค์กรกับผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพมหานคร และศึกษารูปแบบของผู้นำองค์กรที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานระดับหัวหน้างานหรือผู้บริหารของธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ


         ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบผู้นำของธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้นำแบบประชาธิปไตย ผู้นำแบบบารมี และผู้นำแบบแลกเปลี่ยน โดยมีคะแนนความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวม และประเด็นย่อยด้านการเงินและการตลาด และการปฏิบัติการ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรูปแบบของผู้นำองค์กรกับผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้นำแบบบารมี ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน ผู้นำแบบประชาธิปไตย และผู้นำแบบเสรีนิยม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการดำเนินงานในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์รูปแบบของผู้นำองค์กรที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้นำแบบบารมี ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน ผู้นำแบบประชาธิปไตย และผู้นำแบบเสรีนิยม ส่งผลเชิงบวกต่อผลการดำเนินงาน โดยร่วมกันพยากรณ์ผลการดำเนินงานได้ร้อยละ 53.2

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2565). สถานการณ์เศรษฐกิจการท่องเที่ยว ปี 2565. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://healthserv.net/222196.

กรุงเทพมหานคร. (2565). แผนการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2556-2560). [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://thaipublica.org/wp-content/uploads/2016/07/plan-กรุงเทพมหานคร-2556-2560.pdf.

กัลยา วินิชย์บัญชา. (2560). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 30). กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

ธัญชนก เลิศวิทยาทาน. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพนักงานโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานครที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. นนทบุรี: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

ปิยฉัตร ป้อมสุข. (2565). การสร้างความผูกพันของพนักงานในธุรกิจโรงแรมจากภาวะผู้นำองค์กร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วศิน เพชรพงศ์พันธ์. (2562). โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 11(1): 29-39.

วุฒิชัย วรสิงห์ และคณะ. (2564). ความสำเร็จของธุรกิจการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวชาวสแกนดิเนเวียนในพัทยา. Journal of MCU Peace Studies. 9(5): 2026-2037.

โศภิษฐา เต็มรัตน์. (2561). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำในโรงแรมระดับ 5 ดาวในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก 2 มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุชาติ อุทัยวัฒน์ และคณะ. (2564). การบริหารจัดการภาวะวิกฤติธุรกิจโรงแรมไทย. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 8(2): 162-178.

สุดาวดี เตบุญมี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลในการบริหารองค์กร. Humanities and Social Science Research Promotion Network Journal. 6(2): 98-113.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). บทวิเคราะห์ธุรกิจ SMEs (Quick Study) สาขาธุรกิจที่พักแรม (Accomodation). [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20210909160242.pdf.

อิชยาพร ช่วยชู และรพีพร ตันจ้อย. (2565). บทบาทของรูปแบบภาวะผู้นำที่มีต่อการจัดการภาวะวิกฤตในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด-19: กรณีศึกษาธุรกิจสายการบินในประเทศไทย. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 19(1): 159-170.

Abdelwahed, N. A., and et al. (2023). Predicting employee performance through transactional leadership and entrepreneur’s passion among the employees of Pakistan. Asia Pacific Management Review. 28: 60-68.

Akparep, Y. J., and et al. (2019). The Influence of Leadership Style on Organizational Performance at TumaKavi Development Association, Tamale, Northern Region of Ghana. Journal of Leadership. 8(1): 1-22.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Improving organizational effectiveness through transformational leadership. London: Sage.

Harris, A., and et al. (2007). Distributed leadership and organizational change: Reviewing the evidence. Journal of Educational Change. 8(4): 337-347.

Hilton, S. K., Arkorful, H. & Martins, A. (2020). Democratic leadership and organizational performance: the moderating effect of contingent reward. Management Research Review. 44(7): 1042-1058.

House, R. J. (1977). A 1976 theory of charismatic leadership. In J. G. Hunt & L. L. Larson (Eds.). Leadership: The Cutting Edge. 189–207.

HR Insider. (2023). Ideal Ratio of Managers to Staff. [online]. Available : https://hrinsider.ca/ideal-ratio-of-managers-to-staff/

Gavrea, C., Ilies, L. & Stegerean, R. (2011). Determinants of Organizational Performance: The Case of Romania. Management & Marketing Challenges for the Knowledge Society. 6: 285-300.

Iqbal, Z. A., and et al. (2021). Impact of Authoritative and Laissez-Faire Leadership on Thriving at Work: The Moderating Role of Conscientiousness. European journal of investigation in health, psychology and education. 11: 667-685.

Kalsoom, Z., and et al. (2018). Impact of Transactional Leadership and Transformational Leadership on Employee Performance: A Case of FMCG Industry of Pakistan. Industrial Engineering Letters. 8(3): 23-30.

Lewin, K., and et al. (1939). Patterns of Aggressive Behavior in Experimentally Created Social Climates. Journal of Social Psychology. 10(3): 239-245.

Rassa, H. A., & Emeagwali, L. (2020). Laissez fair leadership role in organizational innovation: The mediating effect of organization structure. Management Science Letters. 10: 1457-1462.

Tufan, C. (2022). The relationship between charismatic leadership and affective organizational commitment: the mediating role of work engagement. Journal of management and economics research. 20(4): 225-250.

Wan, Z. (2023). The impact of charismatic leadership on organizational strategic goals. International Seminar on Education, Management and Social Sciences. 102-111.

Yildiz, S., & Karaka, A. (2012). Defining Methods and Criteria for Measuring Business Performance: a Comparative Research Between the Literature in Turkey and Foreign. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 58: 1091-1102.

Xu, G. Y., & Wang, Z. S. (2008). The impact of transformational leadership style on organizational performance: The intermediary effects of leader-member exchange. Long Beach, CA, USA, IEEE Xplore. 1090-1097.