นิยามใหม่ของพื้นที่ภูเก็ตศึกษา: ความเป็นพลเมืองหลากหลายวัฒนธรรมในเกาะภูเก็ต

Main Article Content

วัลลภา อินทรงค์

บทคัดย่อ

           บทความนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ 1) เพื่อศึกษาบริบทเชิงพื้นที่ที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์อัตลักษณ์และความหลากหลายใหม่ในวัฒนธรรมภูเก็ต และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมความเป็นพลเมืองหลากหลายวัฒนธรรมในเกาะภูเก็ต โดยการศึกษาจากแหล่งข้อมูลที่เป็นหนังสือ บทความวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์การพัฒนา และนโยบายทางวัฒธรรมของจังหวัดภูเก็ต จำนวน 2 คน 2) กลุ่มนักวิชาการด้านความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก การส่งเสริมและพัฒนาพลเมืองในมิติต่าง ๆ จำนวน 2 คน และ3) กลุ่มนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจำนวน 2 คน ในประเด็นความเป็นพลเมืองหลากหลายวัฒนธรรม เพื่อการนิยามความหมายใหม่ของพลเมืองให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพทางภูมิศาสตร์และภูมิสังคมบนพื้นที่เกาะภูเก็ต ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะความเป็นพลเมืองหลากหลายวัฒนธรรมในเกาะภูเก็ต ควรประกอบด้วย 1) ความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย 2) ความเป็นพลเมืองสิ่งแวดล้อม 3) ความเป็นพลเมือง “ตงห่อ” 4) ความเป็นพลเมืองสากล และ 5) ความเป็นพลเมืองดิจิทัล คุณลักษณะดังกล่าวสามารถนำไปสู่แนวทางการส่งเสริมความเป็นพลเมืองหลากหลายวัฒนธรรมในเกาะภูเก็ต ผ่านการขับเคลื่อนด้วยระบบการศึกษา โดยใช้หลักสูตรการศึกษาของชาติเป็นเครื่องมือหลัก ประกอบกับหลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาภูเก็ตศึกษาที่มีสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะความเป็นพลเมืองหลากหลายวัฒนธรรมในเกาะภูเก็ตทั้ง 5 ด้าน โดยมีแนวทางในการส่งเสริมด้วยการจัดการเรียนการสอน ปรับกิจกรรมการเรียนการสอน จัดกิจกรรมเสริม หรือบูรณาการในรายวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของความเป็นพลเมืองหลากหลายวัฒนธรรม และสามารถปรับตัวในการอยู่ร่วมกันบนพื้นที่เกาะอย่างมีคุณภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร.

จารุณี คงกุล. (2561). วัฒนธรรมข้ามชาติในจังหวัดภูเก็ต. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 21(39), 110-121.

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2550). “แนวคิดในการศึกษาอัตลักษณ์ความเป็นไท” ใน สรัสวดี อ๋องสกุลและโยชิยูกิ มาซูฮารา.(บรรณาธิการ). การศึกษาประวัติศาสตร์และวรรณกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท.กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2547). ความเป็นมาและสาระสำคัญของแนวคิดวัฒนธรรม ชุมชน. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2561). องค์ความรู้หลักสูตรและการสอนสังคมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

ชรินทร์ มั่งคั่ง, นิติกร แก้วปัญญา. (2564). การบ่มเพาะมารยาทดิจิทัล: วิธีสอนออนไลน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง สู่ความเป็นพลเมืองก้าวหน้าในห้องเรียนสังคมศึกษาเสมือนจริง. วารสารนวัตกรรมการศึกษา และการวิจัย, 6(1), 204-214.

ฤดี ภูมิภูถาวร. (2550). ภูเก็ต. ภูเก็ตบูลเลทินจำกัด. ภูเก็ต.

ธราธร รัตนนฤมิตศร. (Online) เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/travel/1085960

นุพงษ์ กงพิมพ์. (2563). ศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชนบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เพื่อจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปาลิดา พุทธประเสริฐ. (2558). การศึกษาสร้างชาติสิงคโปร์ ประวัติศาสตร์จุดเริ่มความเข้าใจ “เศรษฐกิจ-การเมือง” นำอาเซียน. (Online) เข้าถึงได้จาก: https://www.tcijthai.com/news/2015/3/scoop/2275

พราวพรรณ พลบุญ, นิศากร ทองนอก. (2563). โครงการ“การสร้างพลเมืองคุณภาพ Smart citizens สู่สังคมญี่ปุ่น 5.0 : กรณีศึกษาการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

เลิศพร อุดมพงษ์. (2560). การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (Civic/Citizenship Education) ในการส่งเสริมบทบาทของ ภาคพลเมืองในการเมืองระบบตัวแทนแนวทางที่ยั่งยืนผ่านประสบการณ์จากต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

สภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต. (2557). คุณสมบัติการเป็นตงห่อ : สภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต

สุทธิรักษ์ โรจนหัสดิน, เรชา ชูสุวรรณ และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2560). หลักคิดสำคัญของการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง.วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28 (1), 207-217

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต. รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดภูเก็ตประจำปี 2565. (Online) เข้าถึงได้จาก: https://phuket.m-society.go.th

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์ Identity การทบทวนทฤษฏีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพมหานคร: คณกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ.

อานันท์ กาญจนพันธ์. (2564). ก้าวข้ามวาทกรรมสู่พื้นที่ความรู้: จุดตัดของข้อถกเถียงทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์.

องค์การบริหารสวนจังหวัดภูเก็ต. (Online). เข้าถึงได้จาก: https://phuketpao.go.th/frontpage.

Alviar-Martin, T., & Ho, L. C. (2011). “So, where do they fit in?” Teachers’ perspectives of multi-cultural education and diversity in Singapore. Teaching and Teacher Education, 27(1), 127-135.

Fine Arts Department. (1999). Thalang, Phuket, and Andaman West Coast: Archeology, History, Ethnic and

Economy. Bangkok: Amarin Printing Group.

Fine Arts Department. (2001). Phuket Culture, Historical Development, Identity and Wisdom. Committee

on Documentation and Archives: Board of Directors in An Arrangement of 74th Anniversary Celebrations of His Majesty King Bhumibol Adulyadejon December 5, 1999. Bangkok.

Ho, L. C. (2009). Radiatively inefficient accretion in nearby galaxies. The Astrophysical Journal, 699(1), 626.

Hoskins, B. (2007). Measuring Active Citizenship: A comparison of current developments in international surveys. Social Indicators Research, 90(3), 459-488.

Law, W. W. (2004). Globalization and citizenship education in Hong Kong and Taiwan. Comparative Education Review, 48(3), 253-273.

Moon, S. (2010). Multicultural and global citizenship in a transnational age: the case of South Korea. International Journal of Multicultural Education, 12(1). 1-15.

Otsu, K. (2013). Recent developments in civic education: The case of Japan. Civic education in the Asia-Pacific region, 70-92.

Shiu-Hing, L. (2001). Citizenship and participation in Hong Kong. Citizenship Studies, 5(2), 127-142.

Uclés, M. L. (2019). Redefining democracy in El Salvador: new spaces and new practices for the 1990s. In Latin America Faces the Twenty-First Century (pp. 142-157). Routledge.

Wood, G. K., & Lemley, C. K. (2015). Mapping cultural boundaries in schools and communities: Redefining spaces through organizing. Democracy and Education, 23(1), 3.