ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอบ้านบึง จ.ชลบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 41 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (2) แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ (3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วิวัฒนาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) และการทดสอบค่าทีแบบ dependent sample และการทดสอบค่าทีแบบ one sample ผลการวิจัยพบว่า
- ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 (ร้อยละ 87.70) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทักษะที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ทักษะการสร้างแบบจำลอง
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 (ร้อยละ 86.10) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านความคิดสร้างสรรค์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัญจน์ญาณิศา นาคสวัสดิ์, ภัทรภร ชัยประเสริฐ และ เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์. (2557) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน - กันยายน 2557. หน้า 97-103
คงกระพัน อินทรแจ้ง. (2562). การเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมพื้นฐานและโครงสร้างพื้นฐานของโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง. บทความวิจัย. PTT Global Chemical Public Company Limited.
จันทร์จิรา อยู่ยา. (2561). การใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่ปะวิทยาคม จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปราณี กองจินดา. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และทักษะการคิดเลขในใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนตามรูปแบบซิปปาโดยใช้แบบฝึกหัดทีเน้นทักษะการคิดเลขในใจกับนักเรียนทีได้รับการสอนโดย ใช้คู่มือครู. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ปิณิดา สุวรรณพรม, เยาวเรศ ใจเย็น และ ปวริศา จรดล. (2563). การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานและแบบโครงงานเป็นฐานตามแนวทาง สะเต็มศึกษา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม 2563. หน้า 52-62
พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พุทธศักราช 2561. (2561, 10 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา.
พลศักดิ์ แสงพรมศรี. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และเจตคติต่อการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับแบบปกติ. วิทยานิพนธ์. คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รัตน์ดาวัล วรรณปะเถาว์. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา. วิทยานิพนธ์. คณะครุศาสตร์ มหาวิยาลัยราชภัฎสกลนคร.
รัฐพล ประดับเวทย์. (2560). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีตามแนวคิดอนุกรมวิธานของบลูม. วารสาร Veridian E-Journal. มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม); 1051-1065.
วรรณทิพา รอดแรงค้า และจิต นวนแก้ว. (2542). การพัฒนาการคิดของนักเรียนด้วยกิจกรรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ บริษัท เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์ จำกัด.
ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาและประโยชน์ของสะเต็มศึกษา. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.stemedthailand.org/wp-content/uploads/2015/03/newIntro-to-STEM.pdf.pdf. (สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม2563).
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). สรุปการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_2563.pdf (สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2567).
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). สรุปการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_2564.pdf (สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2567).
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). สรุปการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_2565.pdf (สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2567).
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2566). สรุปการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_2566.pdf (สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2567).
สิรินทร กิ่งชา. (2561). การจัดการเรียนรู้รูปแบบสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในชั้นเรียนฟิสิกส์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2551). การสอนวิทยาศาสตร์โดยเน้นทักษะกระบวนการ. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 8(2), 28-38.
Eastern Economic Corridor (EEC) Office. (2564). การพัฒนาทักษะบุคลากรตามแนวทาง EEC Model. [online]. Available: http://www.eeco.or.th/th/eec-model. 2024.
Lou, S., Tseng, K., Chang, C. and Chen, W. (2011). Attitudes toward Science, Technology, Engineering and Mathematics (STEM) in a Project-based Learning (PjBL) Environment. International Journal of Science and Mathematics Education, 23, 87–102.
National Research Council. (2012). A Framework for K-12 Science Education: Practices, Crosscutting Concept, and Core Ideas. Committee on New Science Education Standards, Board on Science Education, Division of Behavioral and Social Science and Education. Washington, DC: National Academy Press