การพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ เพื่อยกระดับการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้สอนในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ 2.เพื่อประเมินคุณภาพของ ดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใช้ของผู้สอนที่มีต่อดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์และ4)เพื่อศึกษาการหลุดออกนอกระบบการศึกษาของผู้เรียนภายหลังจากผู้สอนใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอนจากสถาบันการศึกษา จำนวน 600 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1)ดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ 2)แบบประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ 3)แบบประเมินความพึงพอใจของผู้สอนที่มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ และ4)แบบสำรวจจำนวนนักเรียนที่หลุดออกนอกระบบการศึกษาในชั้นเรียนภายหลังจากผู้สอนใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. ดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ ประกอบด้วย 7 ดิจิทัลแพลตฟอร์ม คือ 1)ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรการเรียนรู้อาณาจักรดิจิทัล(Learning Kingdom) 2)ระบบคลังแผนการสอนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก( Active Learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ให้กับผู้เรียน (Pedagogy Planet) 3)ระบบการวัดและประเมินความคิดสร้างสรรค์ในวิชาชีพครู (Creative Profiler Land) 4) ระบบการวัดและประเมินความคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ของผู้เรียน (Creative Challenge Saturn) 5) ระบบจัดเก็บเครื่องมือการประเมินและเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ (Creative Tool Moon) 6)ระบบแบบทดสอบออนไลน์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ความคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์(Assessment) และ7)ระบบแบบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทโค้ช(Coach)& แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจโค้ช(Coach) 2.ผลการประเมินคุณภาพของแพลตฟอร์มดิจิทัลจากผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน 3.ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้สอนที่มีต่อการนำดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ไปใช้กับการจัดการเรียนการสอน พบว่า ในภาพรวมผู้สอนมีความพึงพอใจในระดับมาก 4.ผลการสำรวจจำนวนนักเรียนที่หลุดออกนอกระบบการศึกษาในชั้นเรียนภายหลังจากผู้สอนใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ในชั้นเรียน พบว่า จำนวนนักเรียนในชั้นเรียนที่หลุดออกนอกระบบหรือลาออกกลางคันมีจำนวนลดลง ผลการวิจัยทำให้ได้ดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์เพื่อยกระดับการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ได้จริง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จุฬารัตน์ บุษบงก์. (2565). รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในช่วงโควิด-19. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. 17(มกราคม – มิถุนายน): 78-91.
ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2561). การออกแบบการเรียนแนวดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนินทร์ ตั้งพานทอง. (2560). ปัจจัยที่มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนการสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธันยวิช วิเชียรพันธ์. GALAXY of Creativityเพื่อเสริมสร้างและประเมินความคิดสร้างสรรค์. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.galaxyofcreativity.com/.2567
ธิติพล โทแก้ว. (2561). การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(5), 346-357.
นราศักดิ์ ภูนาพลอย. (2563). การพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยการคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อสร้างผลงานสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่/ โดย James Bellanca และ Ron Brandt. กรุงเทพมหานคร: openworlds.
สมพงษ์ จิตระดับ. กสศ.แนะรัฐต้องมีมาตรการเร่งด่วน หลังเด็กไม่พ้นวิกฤตหลุดนอกระบบการศึกษา. [online]. เข้าถึงได้จาก https://siamrath.co.th/n/455702. 2567.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ20 ปี(พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ. สถิติจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำปี 2564 – 2566. [online]. เข้าถึงได้จากhttp://www.bopp.go.th/?page_id=3860.2566.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). รายงานการวิจัยเรื่องแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย. บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุชิน เพ็ชรักษ์. (2544). รายงานการวิจัยเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาในประเทศไทย. องค์การค้าคุรุสภา.
Al-Fraihat, D., Joy, M., Masa’deh, R., & Sinclair, J. (2020). Evaluating E-learning systems success: An empirical study. Computers in Human Behavior. 102: 67-86.
Cidral, W., Aparicio, M., & Oliveira, T. (2020). Students’ long-term orientation role in e-learning success: A Brazilianstudy. Heliyon. 6: 1-12.
Duffy, T. M., & Cunningham, D. J. (1996). Constructivism: Implications for the Design and Delivery of Instruction. In D. H. Jonassen (Ed.), Handbook of Research for Educational Communications and Technology. New York: Macmillan Library Reference.
Fernando, E., Titan, Surjandy, Meliana. (2020). Factors influence the success of e-learning systems for distance learning at the university[Paper Presentation]. International Conference on Information Management and Technology (ICIMTech).
Kong, S. C., Chan, T-W., Huang, R., Cheah, H. M. (2014). A review of e-Learning policy in school education in Singapore, Hong Kong, Taiwan, and Beijing: implications to future policy planning. Journal of Computer in Education. 1(2-3): 187-212.
Piaget, Jean. (1960). The Moral Judgment of the Child. Illinois: The Free Press.
Vygotsky, L. S. (1980). Mind in Society: The Development of Higher Psychological Processes. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Yengin, I., Karahoca, A., & Karahoca, D. (2011). E-Learning success model for instructors’ satisfactions in perspective of interaction and usability outcomes. Procedia Computer Science. 3: 1396–1403.