การออกแบบประติมากรรมเพื่อส่งเสริมภูมิทัศน์และพัฒนาให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว กรณีศึกษา : สวนสาธารณะบึงหน้าเทศบาลเมืองท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบประติมากรรมที่แสดงถึงอัตลักษณ์เทศบาลเมืองท่าช้าง 2) เพื่อเสนอแนวทางการใช้ประติมากรรมสร้างสรรค์พัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน โดยมีวิธีดำเนินงานวิจัยเริ่มจาก การสำรวจพื้นที่บึงหน้าเทศบาลเมืองท่าช้าง ศึกษาหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการสร้างผลงานและหาตำแหน่งที่เป็นปัญหาลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลของชุมชน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วัฒนธรรม วิถีชีวิต ศึกษาข้อมูลแนวทางการสร้างสรรค์ประติมากรรมที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว การใช้ประติมากรรมในการปรับปรุงส่งเสริมภูมิทัศน์ วิเคราะห์ข้อมูล กำหนดกรอบแนวคิดในการออกแบบประติมากรรม เริ่มการสร้างแบบร่าง 2 มิติ นำต้นแบบ 2 มิติ นำเสนอผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยแนะนำเพื่อเป็นแนวทางในปรับปรุงแก้ไขผล และสร้างต้นแบบ 3 มิติ นำเสนอผลสรุปโครงการวิจัยต่อชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผลจากการวิจัยได้แนวความคิดประติมากรรมที่จะสื่อถึงอัตลักษณ์เทศบาลเมืองท่าช้าง คือ การใช้รูปทรงของช้างและรูปทรงของรูปทรงลูกทุเรียนที่เป็นผลไม้ท้องถิ่น ผลงานมีจำนวน 3 ชุด เป็นลักษณะประติมากรรมกลุ่มมีบางชิ้นงาน ชุดที่ 1 เป็นประติมากรรมกลุ่มรูปทรงช้างมีจำนวน 3 ชิ้น ลักษณะผลงานเป็นรูปแบบการลดทอนรูปทรงลดรายละเอียดบางส่วนเพื่อให้เห็นถึงความงามในแบบกึ่งนามธรรม ชุดที่ 2 เป็นประติมากรรมกลุ่มรูปทรงทุเรียนมีจำนวน 3 ชิ้น ลักษณะผลงานเป็นรูปแบบการลดทอนรูปทรงลดรายละเอียดบางส่วนเพื่อให้เห็นถึงความงามในแบบกึ่งนามธรรม (เป็นที่นั่งได้) ชุดที่ 3 เป็นประติมากรรมรูปทรงดอกทุเรียนมีจำนวน 1 ชิ้นงาน ลักษณะผลงานเป็นรูปแบบการลดทอนรูปทรงลดรายละเอียดบางส่วนเพื่อให้เห็นถึงความงามในแบบกึ่งนามธรรม (เป็นที่นั่งได้) ผลงานที่ความพึงพอใจมากที่สุด คือ 1. เป็นประติมากรรมรูปทรง ดอกทุเรียนมีจำนวน 1 ชิ้นงาน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.33) 2.เป็นประติมากรรมกลุ่มรูปทรงทุเรียน มีจำนวน 3 ชิ้น มีค่าเฉลี่ย (
= 4.30) 3. ประติมากรรมกลุ่ม รูปทรงช้าง มีจำนวน 3 ชิ้น มีค่าเฉลี่ย (
= 4.19)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จักรพันธ์ วิลาสินีกุล, พิเชฐ เขียวประเสริฐ. (2560). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการ “การออกแบบประติมากรรมบนที่สาธารณะกับการมีส่วนร่วมของชุมชน”. เสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ. (2550). พจนานุกรมศัพท์การวิจัย และสถิติ. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุธาการพิมพ์. 109-110.
สรไกร เรืองรุ่ง, สุชาติ เถาทอง. (2560). วิจัยแบบสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม “รื่นรมย์สำราญ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
The Gen C Blog – Urban Living Solution. มารู้จักกับ อุทยานเบญจสิริ สวนกลางกรุงที่ทำให้ชีวิตไม่ขาดจากธรรมชาติ. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.ananda.co.th/blog/thegenc/bencha-siri-park/. 2561.