การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น “สมรรถนะดิจิทัล” สำหรับบุคลากรภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการเป็นเมืองอัจฉริยะของจังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ปรีดาพร อารักษ์สมบูรณ์
ณัฐพล บัวเปลี่ยนสี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับบุคลากรภาครัฐ เพื่อนำไปสู่การสร้างและประเมินผลหลักสูตรระยะสั้น “สมรรถนะดิจิทัล” เพื่อส่งเสริมการเป็นเมืองอัจฉริยะของจังหวัดฉะเชิงเทรา งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนาและวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้บริหารและบุคลากรระดับปฏิบัติการที่ปฏิบัติงานในองค์กรภาครัฐของจังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้นำชุมชน ผู้แทนชาวบ้าน นักวิชาการด้านสังคมวิทยา และอาจารย์ระดับอุดมศึกษา รวม 29 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงกับบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 90 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา


            ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารองค์กรภาครัฐมีความต้องการให้สถาบันการศึกษาหรือธุรกิจภาคเอกชนจัดบริการวิชาการในการจัดฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านสมรรถนะดิจิทัลให้กับองค์กรภาครัฐและแนะนำช่องทางการฝึกอบรมออนไลน์เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ โดยมีแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัล 5 ด้าน คือ 1) ทักษะการรู้เท่าทันและใช้เทคโนโลยีเป็น ควรส่งเสริมให้บุคลากรมีทักษะความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสามารถซ่อมบำรุงรักษาเบื้องต้นได้   2) ทักษะการเข้าใจนโยบายกฎหมายและมาตรฐาน ควรส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) 3) ทักษะการใช้ดิจิทัลเพื่อการประยุกต์และพัฒนา ควรส่งเสริมให้บุคลากรมีทักษะการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานทั้งภายในหน่วยงานและการให้บริการประชาชน 4) ทักษะการใช้ดิจิทัลเพื่อการวางแผนบริหารจัดการและนำองค์กร ควรส่งเสริมให้บุคลากรนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างสรรค์นวัตกรรมการทำงาน และ 5) ทักษะการใช้ดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์ ควรกำหนดเป้าหมายและแผนงานสู่องค์กรภาครัฐดิจิทัลให้ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ผลการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรระยะสั้นพบว่า ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในด้านหลักสูตรมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านวิทยากร และด้านความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการฝึกอบรม ตามลำดับ และนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น “หลักสูตรวิธีปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบุคลากรภาครัฐเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ” ที่นำไปประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญแล้วว่าสามารถนำไปพัฒนาใช้ได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์. (2563). ประสบการณ์ของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ : บทเรียนสำหรับประเทศไทย. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา. 2(2): 7-29.

จารุวรรณ ประวันเน. (2563). กระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ: กรณีศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น. Local Administration Journal. 13(3): 267-284.

เจนณรงค์ พันธุ์จันทึก. (2562). การพัฒนาเมืองขอนแก่นให้เป็นเมืองอัจฉริยะ: พัฒนาการและความก้าวหน้า. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านการบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล ครั้งที่ 5 วันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2562, วิทยาลัยการ ปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัยรัตน์ ชามพูนท. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคการเปลี่ยนแปลงฉับพลันทางดิจิทัล. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์. 8(1): 195-208.

ชัยรัตน์ ชามพูนท. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคการเปลี่ยนแปลงฉับพลันทางดิจิทัล. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์. 8(1): 195-208.

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2562). การศึกษาความต้องการฝึกอบรมระยะสั้น. รายงานการวิจัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ธีรภัทร์ พรายพร และคณะ. (2566). Smart City กับการพัฒนาท้องถิ่น. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 12(2): 81-94.

นาฏญา อู่แสงทอง. (2565). การจัดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงดิจิทัลขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 13(25): 103-118.

ประเวศ สิทธิ และภัทรธิรา ผลงาน. (2566). การออกแบบและพัฒนาเมืองอัจฉริยะบนฐานแนวคิดเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 10(10): 262-272.

พงษ์วัตร บุญสนองโชคยิ่ง. (2563). การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานเลขานุการ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภาฝัน จิตต์มิตรภาพ, ฤๅเดช เกิดวิชัย, พรกุล สุขสด, และดวงกมล จันทรรัตน์มณี. (2566). ปัจจัยขับเคลื่อนความสําเร็จในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จังหวัดภูเก็ต. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 14(1): 188-202.

ฤทัยชนก เมืองรัตน์. (2566). เมืองอัจฉริยะ : การพัฒนาเมืองยุค 4.0. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2561). โครงสร้างการบริหารงานของจังหวัด. [online]. เข้าถึงได้จาก :https://shorturl.asia/tFDEv. 2561.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. แผนแม่บทการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ.2561-2565. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://shorturl.asia/e6QyI. 2566.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13. 2564.

โสมวลี ชยามฤต. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัลขององค์การภาครัฐและเอกชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4(1): 38-50.

อัครวินท์ ศาสนพิทักษ์. (2564). การสังเคราะห์บทบาทเมืองอัจฉริยะที่มีผลต่อการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม: การสังเคราะห์ อภิมาน. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. 12(1), 7-28.

Aljowder, T., Ali, M., & Kurnia, S. (2023). Development of a Maturity Model for Assessing Smart Cities: A Focus Area Maturity Model. Smart Cities. 6(4): 2150-2175.

Bouaziz, F. (2020). Digital Government Competences for Digital Public Administration Transformation. Leadership, Management, and Adoption Techniques for Digital Service Innovation. DOI: 10.4018/978-1-7998-2799-3.ch013

EECO. ฉะเชิงเทรา เมืองใหม่สำหรับการอยู่อาศัยในพื้นที่ EEC. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.baania.com/th/article/. 2562.

Khamseh, A., & Ghasemi, S. (2023). A Model for the Success of Smart City Services with a Focus on Information and Communication Technology. International Journal of Supply and Operations Management. 10(1): 76-88.

Khamseh, A., & Ghasemi, S. (2023). A Model for the Success of Smart City Services with a Focus on Information and Communication Technology. International Journal of Supply and Operations Management. 10(1): 76-88.

Ruess, P., & Lindner, R. (2023). Knowledge Management for Smart Cities Standardization and Replication as Policy Instruments to Foster the Implementation of Smart City Solutions. Smart Cities 2023. 6(4): 2106-2124.

Schelings, C., & Defays, A., and Elsen, C. (2023). Profiling Citizens in the Smart City: A Quantitative Study in Wallonia. Smart Cities 2023. 6(4): 2125-2149.