การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกดินปั้นจากเปลือกหอยเชลล์ สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด

Main Article Content

ภัทรา ศรีสุโข
กิตติรัตน์ รุ่งรัตนาอุบล
นฤมล เลิศคำฟู
ภัทรบดี พิมพ์กิ
สุรพงษ์ ปัญญาทา
วรฉัตร อังคะหิรัญ

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลบริบทชุมชนและผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกดินปั้นจากเปลือกหอยเชลล์ร่วมกับชุมชน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุที่เหลือทิ้งในท้องถิ่น คือ เปลือกหอยเชลล์ผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นดินปั้นนำมาออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสะท้อนความเป็นท้องถิ่น วิธีการดำเนินงาน รวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ และลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อหาจุดเด่นของชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ตัวแทนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จำนวน 3 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อหาแนวทางในการออกแบบและร่วมออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวัดวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลวิเคราะห์เชิงพรรณนา กลุ่มที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 คน ใช้แบบสอบถามเพื่อคัดเลือกและปรับปรุงแบบร่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการวิจัยพบว่า 1)ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวเน้นจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่มีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม วิถีชุมชน และสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก ได้แก่ งอบใบจาก อาหารทะเลแปรรูป และผลิตจากเปลือกหอยเหลือทิ้ง 2) ชุมชนได้ผลิตภัณฑ์พวงกุญแจของที่ระลึกจากดินปั้นจากเปลือกหอยเชลล์ แรงบันดาลใจจากสะพานวัดใจ ผลงานชื่อ สะพานแห่งความศรัทธา มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.42 (SD=0.65)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ. การศึกษาดูงานด้านการพัฒนาชุมชนที่วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://tica-thaigov.mfa.go.th/th/content-category/5d7da8d015e39c 3fbc007415?p=65. 2565.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของประเทศไทย. ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thailand tourismdirectory.go.th/attraction/80249. 2567.

กิตติกรณ์ บำรุงบุญ และปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคามเพื่อยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 40(2): 8-24.

ชลิต เฉียบพิมาย เฉลิมเกียรติ เฟื่องแก้ว และสุเมษย์ หนกหลัง. (2563).กระบวนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 4(2): 151-165.

ฐปนัท แก้วปาน สราวุธ อิศรานุวัฒน์ และจริยา แผลงนอก. (2563). หลักและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 22(2): 161-182.

ประยงค์ อ่อนตา จุฬาลักษณ์ จารุจุฑารัตน์ และวชิรศักดิ์ เขียนวงศ์. (2566) การออกแบบอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในชุมชนแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 17(2): 123-144.

ภัทรา ศรีสุโข กิตติรัตน์ รุ่งรัตนาอุบล นฤมล เลิศคำฟู ภัทรบดี พิมพ์กิ และสุรพงษ์ ปัญญาทา. (2566). การพัฒนาดินปั้นงานเครื่องประดับจากเปลือกหอยแมลงภู่บดเหลือทิ้งสำหรับวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 8(2): 75-84.

เมธินี ทะนงกิจ ฐาศุกร์ จันประเสริฐ และศยามล เอกะกุลานันต์. (2561). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 14(1): 77–109.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว (กลุ่มกิจการเพื่อสังคม). [online]. เข้าถึงได้จาก : https://cbtthailand.dasta.or.th/webapp/ community/content/21/. 2566.

Luca, P.D. (2023). The Jewellery TrendBook 2024+. Italy : ITALIAN EXHIBITION GROUP S.p.A.