การศึกษาสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้โดยการใช้ปัญหาเป็นฐานของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

Main Article Content

อิสรา พลนงค์
ประดับศรี พินธุโท

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนและ 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้และแบบวัดสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้หลังเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

นิ่มนวล แก้วพิลา.(2561). การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี. วารสารการวัดผลการศึกษา, 24(1), น. 167-178.

พรรณอร อุชุภาพ. (2561). การศึกษาและวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พาสนา จุลรัตน์. (2561). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุค Thailand 4.0. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), น. 2367-2368.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). ความเป็นครูและการพัฒนาครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เลิศนภา พงษ์ดำ. (2560). การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนการสอนของข้าราชการครู: กรณีศึกษาโรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2565, จาก http://www3.ru.ac.th/

mpaabstract/files/2560_1561117799_6014830002.pdf

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา: กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

วุฒิชัย วรครบุรี, พระครูสุธีจริยวัฒน์ และไพศาล สุวรรณน้อย. (2561). โปรแกรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ยึดปัญหาเป็นฐานสำหรับห้องเรียนศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), น. 258-269.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2564, จาก http://www.tmk.ac.th/teacher/capasity.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2563).การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1801-file.pdf

Campos, D. M. (2017). Problem-Based Learning: An Experiential Strategy for English Language Teacher Education in Chile. Issues in Teachers’ Professional Development, 19(1), pp. 29-40.

Gardner, J. W. (2002). Cooperative learning series: Problem-based learning. Retrieved January 19, 2022, from http://www.studygs.net/pbl.htm

Merritt, J., Lee, M., Rillero, P. & Kinach, B. M. (2017). Problem-Based Learning in K-18 Mathematics and Science Education: A Literature Review. Interdisciplinary Journal of Problem-Based Learning, 11(2), pp. 1-11.

Patilima, S., Rahmat, A., Zubaidi, M. & Husain, R. (2020). Teacher Professional Competence in Applying the Problem Model Based Learning Class IV Integrated Thematic Learning SDN 2 TOMBULANG.International Journal of Innovations in Engineering Research and Technology, 7(12), pp. 133-140.

Sikhakhane, M., Govender, S. & Maphalala, M. C. (2020). Investigating Pedagogical Paradigm Shift in the 21st Century Teaching and Learning in South African Secondary Schools. International Journal of Education and Practice, 8(4), p.707.

Sistermans, I. J.(2020). Integrating Competency-Based Education with a Case-Based or Problem-Based Learning Approach in Online Health Science. Asia Pacific Education Review, 21(4), pp. 683-696.

Ulger, K. (2018). The Effect of Problem-Based Learning on the Creative Thinking and Critical Thinking Disposition of Students in Visual Arts Education.Interdisciplinary Journal of Problem-Based Learning, 12(1), pp. 1-19.

Yew, E. H. J. & Goh, K. (2016). Problem-Based Learning: An Overview of its Process and Impact on Learning. ScienceDirect, 2(2), pp. 1-5.