ความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างไทยและสิงคโปร์: กรณีศึกษา การฝึกซ้อมรบร่วมระดับทวิภาคีระหว่างไทยและสิงคโปร์

Main Article Content

ภัทรกร จันทร์หอม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยชิ้นนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาเกี่ยวกับความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างไทยและสิงคโปร์โดยใช้การฝึกซ้อมรบร่วมระดับทวิภาคีเป็นกรณีศึกษาและใช้กรอบความคิดเสรีนิยมกับการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในการศึกษาภายใต้สมมติฐานที่ว่าทั้งสองประเทศได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจากการฝึกซ้อมรบร่วม คำถามของการวิจัยคือ 1) การซ้อมรบร่วมระดับทวิภาคีระหว่างไทยและสิงคโปร์มีพัฒนาการมาอย่างไร 2) การซ้อมรบร่วมระดับทวิภาคีสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ของไทยและสิงคโปร์อย่างไร


งานวิจัยได้ค้นพบว่าการฝึกซ้อมรบร่วมระดับทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศนั้นเป็นผลมาจากความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างสองประเทศ ซึ่งความร่วมมือด้านความมั่นคงนี้เป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศที่เป็นไปด้วยดี พัฒนาการด้านการทหารของทั้งสองประเทศ นโยบายการทูตทางการทหารของสิงคโปร์ ความเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์โลกช่วงหลังสงครามเย็น ความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสองกับสหรัฐอเมริกาที่เป็นไปด้วยดี และความสัมพันธ์และความร่วมมือของประเทศทั้งสองกับมาเลเซีย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ทั้งสองประเทศมีความร่วมมือด้านความมั่นคงนั้นเป็นไปตามกรอบความคิดเสรีนิยมและการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันที่ได้วางไว้ นอกจากนี้ งานวิจัยยังได้ค้นพบว่ากรอบความคิดสัจนิยมนั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษานี้ได้เช่นกัน จากการที่ทั้งสองประเทศประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ใกล้เคียงกัน ส่งผลให้ทั้งสองประเทศได้เริ่มมีความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.เทาชมพู [นามแฝง]. นักเรียนนอกยุคแรก.อ้างถึงใน เศรษฐพล รัตนกิจสุนทร“ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสิงคโปร์ในสมัยรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร: การวิเคราะห์ผลกระทบของการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน).”วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554.
2.สิทธิพล เครือรัตติกาล และวรศักดิ์ มหัทธโนบล. “ความสัมพันธ์พิเศษระหว่างสิงคโปร์กับไต้หวันภายใต้หลักการจีนเดียว” ใน ความร่วมมือนานาชาติกับความมั่นคงของมนุษย์, ม.ป.พ.
3.โคริน เฟื่องเกษม. “นโยบายต่างประเทศของสิงคโปร์” ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเมืองการปกครองหลังสิ้นสุดสงครามเย็น, บรรณาธิการโดย สีดา สอนศรี. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546.
4.สุรชาติ บำรุงสุข. นวัตกรรมทหาร กองทัพในศตวรรษที่ 21. ม.ป.พ., 2546.
5.วีรพล วรานนท์. ยุทธศาสตร์และการกำหนดกำลังรบ. กรุงเทพฯ, 2547.
6.ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. ทบทวนยุทธศาสตร์ประเทศไทย ปี พ.ศ.2557 – 2558: การสำรวจสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป. ม.ป.พ., 2557.
7.วิทิต ทวีสุข. พัฒนาการทางทหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Military Modernization in Southeast Asia), 2557.
8.F.J. George. Success Singapore. Singapore: SS Mubarak & Brother PTE Ltd, 1992.
9.Ralf Emmers.The Role of Five Power Arrangement in the SEA Security Architecture. Singapore: Rajaratnam School of International Studies, N.d.
10.Ho Shu Huang and Samuel Chan. Singapore Chronicles: Defence. Singapore: Strait Time Press and Institute of Policy Study, 2015.
11.Michael Leifer. Singapore's Foreign Policy: Coping with Vulnerability. New York: Routledge, 2000.
12.Evelyn Goh and Daniel Chua. Singapore Chronicles: Diplomacy. Singapore: Strait Time Press and Institute of Policy Study, 2015.
13.Ming Hwa Ting. Singapore Foreign Policy: Beyond Realism. Centre for Asian Studies, the University of Adelaide, 2010.
14.Amitav Acharya. Singapore’s Foreign Policy: The Search for Regional Order. Singapore: World Scientific publishing, 2008.
15.Pongphisoot Busbarat. Thailand's Foreign Policy: The Struggle for Regional Leadership in Southeast Asia. Yusof Ishak Institute, 2015.
16.Katsamaporn Rakson, Thai Foreign policy adaptation in 2001-2006: Theory and practice. Australia: College of Arts, Victoria University, nd.
17.Bhubhindar Singh and See Seng Tan. From ‘Boots’ to ‘Brogues’The Rise of Defence Diplomacy in Southeast Asia. S. Rajaratnam School of International Studies, 2011.
18.Ngeow Chow Bing. Comprehensive Strategic Partners but Prosaic Military Ties: The Development of Malaysia–China Defence Relations 1991–2015. n.d.
19.Sarasin Viraphol. Direction of Thai Foreign Policy. Singapore: Institute of Southeast Asia Study, 1976.
20.เศรษฐพล รัตนกิจสุนทร. “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสิงคโปร์ในสมัยรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร: การวิเคราะห์ผลกระทบของการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน).” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาการระหว่างประเทศและการทูต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554.
21.กฤษณ์ เจนจิรวัฒนา.“อาเซียน+3 สู่ประชาคมเอเชียตะวันออก?.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาการระหว่างประเทศและการทูต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555.
22.Natasha Hamilton – Hart. “Indonesia and Singapore: Structure, Politics and Interests.” Contemporary Southeast Asia, Vol. 31, No. 2 (August 2009): 249 – 271.
23.“ความตกลงระหว่างไทยกับสิงคโปร์.” จับตาเอเชียตะวันออก. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2560, http://www.eastasiawatch.in.th/th/agreement/50/.
24.“ทบ.โชว์ธงร่วมฝึกผสม KochaSinga 2017 ที่สิงคโปร์.” เดลินิวส์ สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2560,https://www.dailynews.co.th/article/575214.
25.“Friendships Forged, Memories Made — Exercise KochaSinga2019.” Ministry of Defence, Singapore, Accessed June 1, 2019, https://www.mindef.gov.sg/web/portal/army/our-stories-and-publications/our-stories/story-detail/2019/may/exercise_kocha_singa.
26.“Conflict among ASEAN members over the South China Sea issue.” Institute of Developing Economies, Japan External Trade Organization. Accessed March 10, 2018, https://www.ide.go.jp/English/Research/Region/Asia/201209_suzuki.html.
27.“Chinese diplomat tells Singapore to stay out of South China Sea disputes.” South China Morning Post. Accessed March 10, 2019, https://www.scmp.com/news/china/diplomacy-defence/article/2004638/china-urges-singapore-not-interfere-south-china-sea.
28.“Why Singaporeans are anxious to know who will replace Prime Minister Lee Hsien Loong.” South China Morning Post. Accessed March 10, 2019, https://www.scmp.com/week-asia/politics/article/2118357/singapores-burning-question-who-will-succeed-lee-hsien-loong .
29.“The Empire Strikes Back: Post-Brexit Britain’s Return to East of Suez.” Journal of International Affairs. Accessed February 20, 2019, https://jia.sipa.columbia.edu/online-articles/empire-strikes-back-post-brexit-britains-return-east-suez.
30.“Brexiteers want Britain to ‘look east’. But their idea of Asia is a fantasy.” The Guardian. Accessed January 10, 2019, https://www.theguardian.com/commentisfree/2018/dec/31/brexiteers-britain-look-east-asia-singapore.
31.“Malaysia's Mahathir on trade wars and his promise to step down.” Al Jazeera. Accessed December 16, 2019, https://www.aljazeera.com/programmes/talktojazeera/2019/12/malaysia-mahathir-trade-wars-promise-step-191212004948271.html.