ข้อมูลสำหรับบรรณารักษ์

จุดมุ่งหมาย:

     วารสาร “รัฐศาสตร์นิเทศ” เป็นวารสารวิชาการ (Academic journal) ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีจุดประสงค์ส่งเสริมการผลิตและการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการด้านสังคมศาสตร์และด้านสหวิทยาการที่มุ่งเชื่อมโยงมิติทางทฤษฎีกับมิติทางปฏิบัติเข้าด้วยกัน ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ขอบเขตสาขาวิชาของผลงานที่ตีพิมพ์:

- การเมืองการปกครอง
- การระหว่างประเทศ
- การบริหารรัฐกิจ
- นิติศาสตร์
- เศรษฐศาสตร์
- นโยบายสาธารณะ
- สังคมวิทยา
- การศึกษาและการพัฒนา

กำหนดการตีพิมพ์:

วารสาร “รัฐศาสตร์นิเทศ”มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ดังนี้
- ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เดือนมิถุนายน
- ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - เดือนธันวาคม

ประเภทผลงานที่ตีพิมพ์:

- บทความวิจัย(Research article)
- บทความวิชาการ (Academic article)
- บทความปริทัศน์หนังสือ (Book review)

กระบวนการพิจารณาบทความ:

     ผลงานทุกชิ้นที่ได้รับตีพิมพ์ในวารสาร “รัฐศาสตร์นิเทศ” จะต้องผ่านการประเมินคุณภาพทางวิชาการโดยกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒินิรนามที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจำนวนอย่างน้อย 2-3 ท่าน (Double-blind peer review) โดยกระบวนการทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน

จรรยาบรรณและความรับผิดชอบของผู้เขียน:

     ผลงานที่เสนอต่อวารสาร “รัฐศาสตร์นิเทศ” จะต้องเป็นผลงานที่ไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารวิชาการอื่น นอกจากนี้ ผู้เขียนต้องไม่ละเมิด หรือคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) ซึ่งถือเป็นการละเมิดจรรยาบรรณทางวิชาการอย่

ระบบอ้างอิงสำหรับ “รัฐศาสตร์นิเทศ”

 

ผู้เขียนต้องศึกษาและใช้ระบบอ้างอิงตามที่ระบุในเอกสารนี้อย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นอาจส่งผลต่อการตีพิมพ์

 

(1) วางไว้เชิงอรรถส่วนท้ายของแต่ละหน้ากระดาษ ใช้ตัวเลขอารบิกแบบนับต่อเนื่องไปตลอดทั้งบทความไม่มีการทำบรรณานุกรมไว้ท้ายบทความ การอ้างอิงใช้แต่เชิงอรรถเท่านั้น

(2) การอ้างอิงแหล่งข้อมูลเดียวกันกับเชิงอรรถก่อนหน้าให้ใช้

  • เพิ่งอ้าง (ไม่เอียง) สำหรับภาษาไทย และ (ไม่เอียง) สำหรับภาษาอังกฤษ เช่น เพิ่งอ้าง, 5. หรือ เพิ่งอ้าง, 18-21. หรือ Ibid., 107-108. เป็นต้น

(3) การอ้างอิงแหล่งข้อมูลซึ่งได้ปรากฏในเชิงอรรถที่ผ่านมาแล้ว (แต่ไม่ใช่ก่อนหน้า) ให้ย่อข้อมูลบรรณานุกรม

เหลือเพียง

  • ชื่อผู้เขียน กับ ชื่องาน ตามด้วย อ้างแล้ว (ไม่เอียง) สำหรับภาษาไทย และ Cited (ไม่เอียง) สำหรับภาษาอังกฤษ แล้วค่อยระบุเลขหน้าหรือบท (ถ้ามี) เช่น
    • เนตร เขมะโยธิน, งานใต้ดินของพันเอกโยธี, อ้างแล้ว, 87-89.
    • Yves Bonnefoy, New and Selected Poem, Cited, 51-54.

(4) ไม่มีการใช้ หน้า, น., นน., p. หรือ pp. ก่อนเลขหน้า

(5) กรณีเอกสารที่ผู้เขียนมากกว่า 1 คน ให้ใช้ and วางหน้าชื่อผู้เขียนคนสุดท้าย ไม่ใช้เครื่องหมาย &

(6) หน้าเครื่องหมาย : (Colon) ไม่มีเว้นวรรค เช่น ขบวนการเสรีไทย: ตำนานวีรกรรมเพื่อชาติ หรือ Ordering

Power: Contentious Politics and Authoritarian Leviathans in Southeast Asia เป็นต้น

(7) เชิงอรรถที่อ้างอิงแหล่งข้อมูลมากกว่า 1 แหล่งขึ้นไป ให้ใช้

  • เครื่องหมาย ; (Semicolon) คั่นระหว่างแหล่ง เช่น เนตร เขมะโยธิน, ชีวิตนายพล, (พระนคร: ผดุงศึกษา, 2499), 35; ศรีพนม สิงห์ทอง, 6 จอมพลไทย, (กรุงเทพฯ: มติชน, 2539). หรือ Rick Yancey, The 5th Wave, (New York: Speak, 2013), 87-88; Daniel L. Jensen, Advanced Accounting, (New York: McGraw-Hill, 1994), Chapter 4. เป็นต้น

 

หากมีข้อสงสัยใด กรุณาติดต่อ คุณชัยธวัช สีผ่องใส โทร. 02-613-2301

 

  1. หนังสือและบทในหนังสือ

วิธีการเขียน

  • ชื่อผู้แต่ง, ชื่อหนังสือ (ตัวเอียง), พิมพ์ครั้งที่ (ถ้ามี), (เมืองที่พิมพ์: ผู้จัดพิมพ์, ปีที่พิมพ์), หน้า (ไม่ต้องใส่ น. pp.).
  • ชื่อผู้แต่ง, “ชื่อบทในหนังสือ,” ใน ชื่อ บก. (บก.), ชื่อหนังสือ (ตัวเอียง), (เมืองที่พิมพ์: ผู้จัดพิมพ์, ปีที่พิมพ์), หน้า (ไม่ต้องใส่ น. pp.).

ตัวอย่าง

  • เนตร เขมะโยธิน, งานใต้ดินของพันเอกโยธี, (พระนคร: บริษัทธนะการพิมพ์, 2500), 12.
  • กระมล ทองธรรมชาติ, “หลักประชาธิปไตย,” ใน ประณต นันทิยะกุล (บก.), รัฐศาสตร์50 ปี, (กรุงเทพฯ: บริษัท สุรพิมพ์จ ากัด, 2541), 51-71.
  • ทศ พันธุมเสน และ จินตนา ยศสุนทร, จากมหาสงครามสู่สันติภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ:อักษรสาส์น, 2542), 104-106.
  • วุฒิชัย มูลศิลป์, ศิริพร ดาบเพชร, และ อนงคณา มานิตพิสิฐกุล, พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์, (กรุงเทพฯ: บริษัทเกรท เอ็ดดูเคชั่น จ ากัด, 2546), 10-18.
  • Bruce Reynolds, Thailand’s Secret War: The Free Thai, OSS, and SOE during
  • World War II, (Cambridge: Cambridge University Press, 2005), Chapter 2.
  • John Fernie and Alan S. Pitkethly, Resources: Environment & Policy, (London: Harper & Row, 1985), 52-58.
  • Peter John, “Citizen Governance: Where It Came From, Where It’s Going,” in Catherine Durose, Stephen Greasley, and Liz Richardson (ed.), Changing Local Governance, Changing Citizens, (Bristol: Policy Press, 2009), 15-16.
  • Yves Bonnefoy, New and Selected Poem, (Chicago: Yorkshire Press, 1995), 35.
  1. บทความ

วิธีการเขียน

  • ชื่อผู้แต่ง, “ชื่อบทความ,” ชื่อวารสาร (ตัวเอียง), ปีที่ ..., ฉบับที่ ... (ปีที่พิมพ์ของวารสาร), หน้า (ไม่ต้องใส่ น. pp.).
  • ชื่อผู้แต่ง, “ชื่อบทความ,” ชื่อเว็บไซต์ (เว็บไซต์), https: ....... (สืบค้นเมื่อวันที่ ...).

ตัวอย่าง

  • ประภัสสร์เทพชาตรี, “โลกในยุคหลังเหตุการณ์11 กันยาฯ และปัญหาการก่อการร้ายสากล,” รัฐศาสตร์สาร, ปีที่ 24, ฉบับที่ 1 (2549), 220-222.
  • ธงเทพ ปรีชากร, “สงครามการค้า: ปัญหาและผลพวง,” เนชั่นสุดสัปดาห์, 6 มกราคม 2541, 41-44.
  • ฉัตรพงศ์วัฒนจิรัฎฐ์, “นักวางแผนการเงิน: กุญแจสู่ความส าเร็จของนักวางแผนการเงินมืออาชีพ (ตอนที่ 2),” Money & Wealth, ปีที่ 5, ฉบับที่ 58 (กุมภาพันธ์2551), 50-51, http://203.131.15 /journal/13PAGE50_PAGE51.pdf (สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2553).
  • บูรณะ วิริยะกุล, “ที่มาของถ่านหิน,” กระทรวงพลังงาน (เว็บไซต์), http://www.eppo.go.th/coal/pt-KPC2544-01-115.html (สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2553).
  • อนุชิต ไกรวิจิตร, “แบนถุงพลาสติกแก้ปัญหาจริงไหม มองวิกฤตขยะล้นสู่กระแส ‘Say No Plastic’ รับปีใหม่ 2563,” The Standard (เว็บไซต์), https://thestandard.co/say-no-plastic-2020-plastic-bag-crisis/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563).
  • Jarl G. Kallberg, Crocker H. Liu, and Paolo Pasquariello, “An Examination of the Asian
  • Crisis: Regime Shifts in Currency and Equity Markets,” Journal of Business, Vol. 78, No. 1 (November 2005), 169-211.
  • Lucy S. Budd, “Selling the Early Air Age: Aviation Advertisements and the Promotion of Civil Flying in Britain, 1911-14,” Journal of Transport History, Vol. 32, No. 2 (December 2011), 125, http://web.ebscohost.com/ehost/detail?vid=3d#db=a9h&AN=71367578 (accessed 10 April 2012).
  • วนิดา เกตุประสาท, “ครูตชด. งานปิดทองหลังพระ,” มติชน, 26 กรกฎาคม 2550, 15.
  1. วิทยานิพนธ์

วิธีการเขียน

  • ชื่อผู้แต่ง, ชื่องาน (ตัวเอียง), ( ชิ้นของงาน (วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/อื่น ๆ), สาขา/ภาควิชา คณะ มหาวิทยาลัย, ปีที่เผยแพร่), หน้า (ไม่ต้องใส่ น. pp.).

ตัวอย่าง

  • วีณา มโนพิโมกษ์, ความขัดแย้งภายในคณะราษฎร, (วิทยานิพนธ์, แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520), บทที่
  • Ríán Tuathal Derrig, Educating American Modernists: The Origins of the New Haven School, (PhD Thesis, European University Institute, 2019), 21-30.
  1. เอกสารจดหมายเหตุ

วิธีการเขียน

  • หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เลขเอกสารจดหมายเหตุ, เรื่อง (วัน/เดือน/ปี ของเอกสารจัดหมายเหตุ).

ตัวอย่าง

  • หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, (2) สร. 3.4/1, เรื่องแก้แบบธนบัตร (2474-2481).
  • National Diet Library (Japan), CIS 02734, Notes of Conference: Film Production and Censorship (11-24 March 1946).
  1. สัมภาษณ์

วิธีการเขียน

  • ชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์หรือแทนด้วยรหัสข้อความ, สัมภาษณ์โดยผู้เขียน (หรือชื่อผู้สัมภาษณ์), วัน/เดือน/ปี ที่สัมภาษณ์.

ตัวอย่าง

  • ณัฐวุฒิวิบูลพัฒนะวงศ์, สัมภาษณ์โดย ยุพวดีรัตนากรณ์, 10 พฤศจิกายน 2553.
  • นาย ม.บ. (นามแฝง), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, 20 มกราคม 2563.
  • Andrew Macmillan, interview by author, 2 March
  1. ราชกิจจานุเบกษา

วิธีการเขียน

  • ราชกิจจานุเบกษา (ตัวเอียง), เล่ม ... ตอนพิเศษ/ตอนที่ ...., วันที่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา, หน้า (ไม่ต้องใส่ น. p. pp.).

ตัวอย่าง

  • ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 117 ตอนพิเศษ 82 ง, 17 สิงหาคม 2543, 22.
  1. ข่าวในหนังสือพิมพ์

วิธีการเขียน

  • ชื่อหนังสือพิมพ์ (ตัวเอียง), วัน/เดือน/ปี ของหนังสือพิมพ์, หน้า (ไม่ต้องใส่ น. pp.).

ตัวอย่าง

  • ไทยรัฐ, 7 ตุลาคม พ.ศ. 2549, 1, 8.
  • The Washington Post, 18 January 1997, A23.
  • 読売新聞 (Yomiuri Shimbun), 20 May 2001, 1.
  1. ข่าวในเว็บไซต์

วิธีการเขียน

  • ชื่อเว็บไซต์ (ตัวเอียง), https: ....... (สืบค้นเมื่อวันที่ ...).

ตัวอย่าง

  • เดลินิวส์, https://www.dailynews.co.th/politics/755156 (สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563).
  • Bangkok Post, https://www.bangkokpost.com/learning/easy/1848414/Chinese touristsdesert-phuket-as-virus-spreads#cxrecs_s (สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์2563).
  • The Standard, https://thestandard.co/bank-of-thailand-point-out-thai-economy-slowdown/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์2563).
  1. กฎหมาย

วิธีการเขียน

  • ชื่อกฎหมาย (ตัวเอียง), เลขมาตรา.

ตัวอย่าง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2535, มาตรา
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, มาตรา 168 (1).
  • Human Rights Act 1998, United Kingdom, 12 (2).
  • Basic Law for the Federal Republic of Germany, Article 60.

------------------------------------------------------------------------------------------