การจัดการปกครองเครือข่ายนวัตกรรมอาหารภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายเมืองนวัตกรรมอาหาร ศึกษาเปรียบเทียบ 4 กรณีศึกษา

Main Article Content

ศรัญญา ปานเจริญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภูมิหลังความร่วมมือของภาคีเครือข่ายก่อนเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายเมืองนวัตกรรมอาหาร รวมไปถึงเปรียบเทียบการจัดการปกครองเครือข่ายนวัตกรรมอาหารเชิงพื้นที่ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายเมืองนวัตกรรมอาหาร โดยการใช้วิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า ที่มาของพันธกิจและวัตถุประสงค์ของเครือข่าย มีการกำหนดขึ้นจากทรัพยากรที่มี แนวนโยบายของกลุ่มจังหวัด บริบทของพื้นที่และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ แนวนโยบายของมหาวิทยาลัย และและการบูรณการสหสาขาวิชา ส่งผลให้พันธกิจและวัตถุประสงค์ของเครือข่ายนวัตกรรมอาหารมีความแตกต่างกัน ด้านการเลือกพันธมิตรและกลยุทธ์ที่ใช้ในการสร้างเครือข่าย ให้ความสำคัญจากความสามารถในการเข้ากันได้ของวัฒนธรรมองค์การ การประเมินขีดความสามารถพันธมิตร และความใกล้ชิดของผู้รับบริการ แต่มีเพียงบางกรณีศึกษาที่ให้ความสำคัญต่อการเลือกพันธมิตรด้วยการมีใจและอุดมการณ์ร่วม รวมถึงการใช้ข้อกฎหมายเพื่อคัดกรองพันธมิตร  ในการสร้างเครือข่ายมีการเลือกใช้กลยุทธ์จากการระดมทรัพยากรจากภาคส่วนต่าง ๆ และการพิจารณาอำนาจหน้าที่ของพันธมิตร ในขณะที่กลยุทธ์แรงจูงใจทางการเงินหรืองบประมาณ กลยุทธ์การโน้มน้าวชักจูง กลยุทธ์การใช้บทบาททางกฎหมายเพื่อสร้างการยอมรับ มักเป็นกลยุทธ์สำคัญของการสร้างเครือข่ายในกรณีที่ภาคีไม่เคยมีความร่วมมือกันมาก่อนตลอดจนรูปแบบโครงสร้างเครือข่ายนวัตกรรมอาหารจะขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่และภารกิจเดิมระหว่างภาคีเครือข่ายเป็นสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Goss, Sue, Making Local Governance Work: Network, Relationship and the Management of Change, (New York: Palgrave, 2011), 141.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.), คู่มือการจัดทำ โปรแกรม Spearhead ด้านเศรษฐกิจ ภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ปีงบประมาณ 2562, (กรุงเทพ ฯ: สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ, 2562), 5.

Moragues-Faus, Ana, and Morgan, Kevin, “Reframing the foodscape: the emergent world of urban food policy,” Environment and Planning, Vol. 47, Issue 7 (2015), 1558– 1573.

Provan, Keith G., and Kenis, Patrick, “Modes of Network Governance: Structure, Management, and Effectiveness,” Journal of Public Administration Research and Theory, Vol. 18, Issue 2 (April 2008), 229–252.

Schiff, Rebecca, “The Role of Food Policy Councils in Developing Sustainable Food Systems,” Journal of Hunger & Environmental Nutrition, Vol. 3, No. 2-3 (2008), 206-228.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, หนังสือที่ 0505/17819, เรื่อง การจัดตั้งและดำเนินการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) (วันที่ 18 พฤษภาคม 2559).

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (สวทน.), หนังสือที่ วท 6001/809/2561, บันทึกข้อความ เรื่อง ข้อเสนอโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ส่วนขยาย (วันที่ 6 มิถุนายน 2561).

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, หนังสือที่ วท (ปคร) 60001/2880, เรื่อง การจัดตั้งและดำเนินการเมือง นวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) (วันที่ 28 เมษายน 2559).

มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ประกาศสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในของอุทยานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร (วันที่ 9 ธันวาคม 2565).