การวิเคราะห์เครือข่ายการดำเนินงานธนาคารเวลา ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงในการดำเนินงานธนาคารเวลา ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษารวบรวมจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 9 คน ดังนี้ (1) ตัวแสดงในภาครัฐ คือ ผู้แทนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพญาชมภู จำนวน 2 คน (2) ตัวแสดงนอกภาครัฐ คือ ผู้จัดการธนาคารเวลา เลขานุการธนาคารเวลา ประธานศูนย์บริการคนพิการตำบลชมภู และสมาชิกธนาคารเวลา จำนวน 4 คน ผลการศึกษา พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงภายในเครือข่ายในการดำเนินงานธนาคารเวลาตำบลชมภู มีลักษณะความสัมพันธ์ตามแนวคิดการประสานความร่วมมือ (Collaboration) ตั้งแต่ระดับบุคคล กลุ่มคนและหน่วยงาน ต่างภาคส่วนกันเข้ามาร่วมมือกันดำเนินงาน ผ่านการจัดตั้งโครงสร้างคณะกรรมการที่เป็นทางการ ซึ่งความสัมพันธ์ของเครือข่ายธนาคารเวลาตำบลชมภูมีลักษณะที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยมีผู้จัดการธนาคารเวลาตำบลชมภู เป็นผู้ประสานความสัมพันธ์ให้ทุกตัวแสดงในเครือข่ายมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ร่วมแลกเปลี่ยนทรัพยากรแบบพึ่งพาอาศัยกันได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้การขับเคลื่อนดำเนินงานธนาคารเวลาตำบลชมภู เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
![Creative Commons License](http://i.creativecommons.org/l/by-nc-nd/4.0/88x31.png)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
หนังสือ
กรมกิจการผู้สูงอายุ, แนวทางการดำเนินงานธนาคารเวลาแห่งประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ: บริษัท
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, 2564), 7.
ปาริชาติ สถาปิตานนท์ และ ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์, สื่อสารกับสังคมเครือข่าย เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตร 3 “การสร้างเครือข่ายที่มีพลัง” สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, (กรุงเทพฯ: สถาบันการเรียนรู้และพัฒนา ประชาคม, 2546)
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, เครือข่าย : ธรรมชาติความรู้และการจัดการ, (กรุงเทพฯ: สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้
เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, 2547)
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560, (กรุงเทพฯ: บริษัท โรงพิมพ์
เดือนตุลา จำกัด, 2561), 25-30.
ศศิธร ทองจันทร์, การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันกับการขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐไทย กรณีศึกษา
โครงการความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดพิษณุโลก, (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559), 26-28.
สนธยา พลศรี, เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน, (กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2550), 264-265.
บทความ
กิตติศักดิ์ คงคา, (เว็บไซต์), https://www.investerest.co/economy/elderly-japanese/ (สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2566)
ภัทราวดี มากมี, การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมสำหรับออกแบบการวิจัยทางสังคมศาสตร์, วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ปีที่ 27, ฉบับที่ 1 (2564), 32-45.